ขอขอบคุณภาพและเนื้อหาจากเพจ Trader Hunter พบธรรม
" อริยมรรคมีองค์ ๘ "
ข้อปฏิบัติที่ทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์
หนทางนี้แล, เป็นหนทางอันประเสริฐ, ซึ่งประกอบด้วยองค์แปด, ได้แก่ สิ่งเหล่านี้คือ, ความเห็นชอบ, ความดำริชอบ, การพูดจาชอบ, การทำการงานชอบ, การเลี้ยงชีวิตชอบ, ความพากเพียรชอบ, ความระลึกชอบ, ความตั้งใจมั่นชอบ,
[ องค์มรรคที่ 1 สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) ]
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ความเห็นชอบเป็นอย่างไรเล่า?,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ความรู้อันใดเป็นความรู้ในทุกข์,
เป็นความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์,
เป็นความรู้ในความดับแห่งทุกข์,
เป็นความรู้ในทางดำเนินให้ถึงความดับแห่งทุกข์,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อันนี้เรากล่าวว่า ความเห็นชอบ,
[ องค์มรรคที่ 2 สัมมาสังกัปโป (ความดำริชอบ) ]
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ความดำริชอบเป็นอย่างไรเล่า?,
ความดำริในการออกจากกาม,
ความดำริในการไม่มุ่งร้าย,
ความดำริในการไม่เบียดเบียน,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อันนี้เรากล่าวว่า ความดำริชอบ,
[ องค์มรรคที่ 3 สัมมาวาจา (การพูดจาชอบ) ]
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, การพูดจาชอบเป็นอย่างไรเล่า?,
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดไม่จริง,
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดส่อเสียด,
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดหยาบ,
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อันนี้เรากล่าวว่า การพูดจาชอบ,
[ องค์มรรคที่ 4 สัมมากัมมันโต (การทำการงานชอบ) ]
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, การทำการงานชอบเป็นอย่างไรเล่า?,
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการฆ่า,
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการถือเอาสิ่งที่เจ้าของไม่ได้ให้แล้ว,
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อันนี้เรากล่าวว่า การทำการงานชอบ,
[ องค์มรรคที่ 5 สัมมาอาชีโว (การเลี้ยงชีวิตชอบ) ]
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, การเลี้ยงชีวิตชอบเป็นอย่างไรเล่า?,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายสาวกของพระอริยเจ้า ในธรรมวินัยนี้,
ละการเลี้ยงชีวิตที่ผิดเสีย,
ย่อมสำเร็จความเป็นอยู่ด้วยการเลี้ยงชีวิตที่ชอบ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อันนี้เรากล่าวว่า การเลี้ยงชีวิตชอบ,
[ องค์มรรคที่ 6 สัมมาวายาโม (ความพากเพียรชอบ) ]
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ความพากเพียรชอบเป็นอย่างไรเล่า?,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้,
ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น, ย่อมพยายาม, ปรารภความเพียร, ประคองตั้งจิตไว้, เพื่อจะยังอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น,
ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น, ย่อมพยายาม, ปรารภความเพียร, ประคองตั้งจิตไว้, เพื่อจะละอกุศลธรรม อันเป็นบาปที่เกิดขึ้นแล้ว,
ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น, ย่อมพยายาม, ปรารภความเพียร, ประคองตั้งจิตไว้, เพื่อจะยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น,
ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น, ย่อมพยายาม, ปรารภความเพียร, ประคองตั้งจิตไว้, เพื่อความตั้งอยู่, ความไม่เลอะเลือน, ความงอกงามยิ่งขึ้น, ความไพบูลย์, ความเจริญ, ความเต็มรอบ, แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อันนี้เรากล่าวว่าความพากเพียรชอบ,
[ องค์มรรคที่ 7 สัมมาสะติ (ความระลึกชอบ) ]
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ความระลึกชอบเป็นอย่างไรเล่า?,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ภิกษุในธรรมวินัยนี้,
ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ,
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส, มีสัมปชัญญะ มีสติ, ถอนความพอใจและความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้,
ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ,
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส, มีสัมปชัญญะ มีสติ, ถอนความพอใจและความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้,
ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ,
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส, มีสัมปชัญญะ มีสติ, ถอนความพอใจและความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้,
ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ,
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส, มีสัมปชัญญะ มีสติ, ถอนความพอใจและความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อันนี้เรากล่าวว่าความระลึกชอบ,
[ องค์มรรคที่ 8 สัมมาสะมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ) ]
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ความตั้งใจมั่นชอบเป็นอย่างไรเล่า?,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ภิกษุในธรรมวินัยนี้,
สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย,
สงัดแล้วจากธรรมที่เป็นอกุศลทั้งหลาย,
เข้าถึงปฐมฌาณ, ประกอบด้วย วิตก วิจารณ์มีปิติและสุขอันเกิดจากการวิเวก แล้วแลอยู่,
เพราะความที่วิตกวิจารณ์ทั้งสองระงับลง,
เข้าถึงทุติยฌาณ, เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจภายใน, ให้สมาธิเป็ธรรมอันเอกผุดมีขึ้น, ไม่มีวิตก ไม่มีวิจารณ์, มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่,
อนึ่ง เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ,ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา, มีสติ และสัมปชัญญะ, และย่อมเสวยความสุขด้วยนามกาย,ชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย, ย่อมกล่าวสรรเสริฐผู้นั้นว่า, เป็นผู้อยู่ อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปรกติสุข, ดังนี้,
เข้าถึงตติยฌาน แล้วแลอยู่, เพราละสุขเสียได้, และเพราะละทุกข์เสียได้, เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสองในกาลก่อน,
เข้าถึงจตุตถฌาน, ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข, มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาแล้วแลอยู่,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อันนี้เรากล่าวว่า ความตั้งใจมั่นชอบ