การปฏิบัติต้องพอดีพอดีกับตนเอง ผลจึงเกิดได้ง่ายๆ

ขอขอบคุณภาพและเนื้อหาจาก Trader Hunter พบธรรม

ลองทําแบบสบายๆดูนะ ทําแบบสบายใจไม่ได้ตั้งใจมาก เหมือนคนขับรถเป็นแล้ว ความรู้สึกแบบนี้นะ คือขับหรือทําแบบสบายๆใจ ต่างกันกับคนยังขับไม่คล่องนะ ตั้งใจมากไปไปเกร็ง กลายเป็นขับยากกว่าแถมโอกาสผิดพลาดมากกว่า เพราะการไปเกร็งของใจ ใจไปเพ่งไปเกร็งเต็มไปหมด ให้ปรับมาทําแบบคนขับรถเก่งแล้ว ขับสบายๆ มือจับหลวมๆไม่มีไปเกร็งเลย ปฏิบัติธรรมก็เหมือนกัน แค่ใจเราที่เป็นสุขมีปิตินิดๆ สบายๆเนี้ย สติมีอยู่แล้วนะ สมาธิรู้ตัวก็มี แต่พอไปพยายามทํามากๆไปเพ่งไปเกร็ง มันหายไปหมดเลย จิตที่ว่างๆสบายๆ กลับกดทับหนัก เพราะไปข่มบังคับจิต กลายเป็นไปเพ่งอยากให้ก้าวหน้า ตั้งใจ เป็นมานะของตัวเองนะ มานะนี้หล่ะที่ไปขวางอยู่ครับ " หลวงพ่อพุธสอนว่า สมถะจะเจริญเมื่อหมดความตั้งใจ วิปัสสนาจะเจริญเมื่อหมดความคิด" คนทําสมถะเก่งๆนี้ ทําเหมือนทําเล่นๆเลยนะ ยิ้มๆนั่งเฉยๆ หายใจสบายๆ เข้าฌาณไปแล้ว วิปัสสนาก็เหมือนกัน ไม่ได้คิดจะไปรู้หรือตั้งใจจะไปรู้อะไรเลย เดินเล่นอยู่บ้าน อะไรสัมผัสเข้าก็รู้สึกตัว สบายๆเลยนะ อะไรผุดขึ้นมาให้รู้ก็รู้ ไม่มีไปกําหนดจะทําอะไรเลย ลมพัดมากระทบกาย รู้สึกได้ทั่วทั้งแกนกายเลย วูบเลยนะ เป็นความรู้สึกตัว พระพุทธเจ้าสอนให้เดินทางสายกลาง ตรงนี้มีความหมายนะ การปฏิบัติที่พอดีกับใจเรา ตึงไปมันไม่เห็นนะมันปรุงแต่งเต็มไปหมด หย่อนไปมันไม่เจอนะเพราะขี้เกียจไม่มีความเพียร ให้ทําสบายๆพอดีพอดีกับตัวเองครับ ถ้าได้ความรู้สึกตัว มันจะไปต่อเป็น สติ+สมาธินะ แล้วมันจะไปเจริญปัญญา ถึงตรงนั้น อะไรก็ง่ายก็รู้ได้ด้วยตัวเองแล้ว ผู้รู้จริงจะรู้จากประสบการณ์ตนเอง มิได้รู้จากตํารานะ ถึงเวลามันจะรู้ได้เองครับ ใจจะสอนใจนะ

การปฏิบัติต้องพอดีพอดีกับตนเอง ผลจึงเกิดได้ง่ายๆ

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์