จิตตั่งมั่น ย่อมรู้ตามความเป็นจริง
สติปัฏฐาน ๔ สองฐานแรก รู้หรือไม่รู้ ก็มีส่วนของสมาธิ มีอารมณ์ของสมถะอยู่ ถ้าหลับตา จิตไม่ตั้งมั่น ปัญญาก็ไม่เกิดอยู่ดี ถ้านั่งสมาธิ จิตเดินผิด ไม่ตั่งมั่น ปัญญาก็ไม่เกิด ถ้าไม่นั่งหลับตา ไม่นั่งสมาธิเลย และจิตก็ไม่ตั่งมั่น ปัญญาหรือ วิปัสสนาภาวนาก็ไม่เกิดอีกอยู่ดี แต่หากลืมตาก็ตาม หลับตาก็ตาม ยืน เดิน นั่ง นอน มีจิตตั่งมั่น ปัญญาที่มี อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาเป็นอารมณ์ ไตรลักษณ์ก็จะปรากฎ เมื่อฝึกฝนดีแล้วครับ ทำปัญญานำสมาธิก่อนก็ได้ สุดท้ายจิตก็จะสงบจากนิวรณ์ สงบจากกิเลสเหมือนกัน บรรลุสัมมาสติ และสัมมาสมาธิ ได้ในที่สุด หรือจะ ทำสมาธินำ ปัญญาไปก่อน สุดท้ายจิตก็จะสงบจากนิวรณ์ สงบจากกิเลสเหมือนกัน บรรลุสัมมาสมาธิ และสัมมาสติ ได้เหมือนกันนั่นเอง หรือเพียงแค่รักษาศีล ๕ ก็ระงับกิเลสอย่างหยาบ ทางกาย ทางวาจาลงไปได้แล้ว ด้วยความสังวรระวัง ก็บรรลุถึงสุขธรรม คือมีปกติเป็นสุขเพราะไม่เืดือดร้อนได้เลยทันที ถ้าเจริญสมาธิก่อน ก็ควรมีศีลเป็นพื้นฐาน จะระงับกิเลสอย่างกลาง ข่มเอาไว้ได้ก็บรรลุถึงฌานสมาบัติ มีปฐมฌานได้ ฯลฯ ถ้าเจริญปัญญาก่อน ไม่เอาสมาธิ(เพราะรู้มาผิด) ก็ควรมีศีลเป็นพื้นฐานจะระงับกิเลสอย่างกลางได้เช่นเดียวกัน แต่เป็นไปชั่วขณะเ่ท่านั้น ถ้าเจริญสมถะวิปัสสนา หรือสมาธิปัญญาไปพร้อมเพียงกัน โดยมีศีล เป็นฐานรองรับ จิตก็จะตั่งมั่นได้โดยไม่ยาก และรู้ตามความเป็นจริง ได้โดยง่าย เรื่องของเรื่อง แม้คนที่ ยึดถือว่าตน เป็นวิปัสสยานิกะ ก็ไม่รู้ว่า ตอนกำหนด เฉพาะรูปนาม กำหนดลักษณะนั่นก็เป็น สมาธิชั่วขณะ หรือขณิกสมาธิอย่างหนึ่ง จนถึงอุปจารสมาธิ มีจิตตั่งมั่น คู่ควรแก่การงาน ก็เพราะได้อาศัยกำลังของสติสัมปชัญญะและสมาธิ
ขอขอบคุณ Trader Hunter พบธรรม
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!