กรณีบรรพชิตทำตัวรับใช้โยม
กรณีบรรพชิตทำตัวรับใช้โยม
ต้องเข้าใจว่าเพศบรรพชิตต่างจากเพศ
คฤหัสถ์ พรรชิตมีข้อปฏิตบัติของบรรพชิต บรรพชิตต้องเข้าใจความเป็นบรรพชิต จะทำตนเหมือนคฤหัสถ์ ทำเกินข้อบัญญัติไม่ได้
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้ อันบรรพชิตพึงพิจารณาเนือง ๆ ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ บรรพชิตพึงพิจารณา
เนือง ๆ ว่า เราเป็นผู้มีเพศต่างจากคฤหัสถ์ ๑ บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆว่า การเลี้ยงชีพของเราเนื่องด้วยผู้อื่น ๑ บรรพชิตพึงพิจารณาเนือง ๆ ว่า อากัปกิริยาอย่างอื่น อันเราควรทำมีอยู่ ๑ บรรพชิตพึงพิจารณา
เนือง ๆ ว่า เราย่อมติเตียนตนเองได้โดยศีลหรือไม่ ๑..."
(เล่ม 38 หน้า 157 บรรทัด 11)
บรรพชิตและโยมต่างก็อาศัยชึ่งกันและกัน โยมเป็นผู้มีอุปการะมากแก่บรรพชิต ดูแล เลี้ยงดูบรรพชิต ส่วนบรรพชิตก็ตอบแทนโยมด้วยการแสดงธรรมให้ฟัง ไม่ใช้ให้ไปทำตัวรับใช้โยมเพื่อตอบแทน
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลายเป็นผู้มีอุปการะมากแก่เธอทั้งหลาย บำรุงเธอทั้งหลายด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร แม้เธอทั้งลายก็จงเป็นผู้มีอุปการะมากแก่พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย จงแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่พราหมณ์และคฤหบดีเหล่านั้นเถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งหลาย ต่างอาศัยซึ่งกันและกันด้วยอำนาจอามิสทานและธรรมทาน อยู่ประพฤติพรหมจรรย์นี้ เพื่อต้องการสลัดโอฆะเพื่อจะทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบด้วยประการอย่างนี้ คฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งหลาย ต่างอาศัยกันและกัน ๒ ฝ่าย ย่อมยังสัทธรรมอันเกษมจากโยคะอย่างยอดเยี่ยม ให้สำเร็จ (คือ) บรรพชิตทั้งหลายย่อมปรารถนาเฉพาะจีวร บิณฑบาต ที่นอน
ที่นั่ง และคิลานปัจจัย อันเป็นเครื่องบรรเทาเสียซึ่งอันตรายจากคฤหัสถ์ทั้งหลาย ส่วนคฤหัสถ์ทั้งหลายผู้อยู่ครองเรือน อาศัยพระอริยบุคคลผู้ปฏิบัติชอบแล้วเชื่อถือซึ่งถ้อยคำของพระอรหันต์ทั้งหลาย มีปกติเพ่งพินิจด้วยปัญญาอันบริสุทธิ์ดี ประพฤติธรรมอันเป็นทางไปสู่สุคติในศาสนานี้ ปกติเพลิดเพลิน เป็นผู้ใคร่กามบันเทิงอยู่ในเทวโลก"
(เล่ม 45 หน้า 677 บรรทัด 11)
เมื่อบวชเป็นบรรพชิตจะไหว้โยมไม่ได้ มีแต่โยมเท่านั้นที่ไหว้บรรพชิต รวมทั้งโยมผู้เป็นแม่ด้วยก็ต้องไหว้ลูกผู้เป็นบรรพชิตเพราะฉะนั้น จากหลักธรรมข้อนี้ ควรหรือที่ผู้ที่ถูกไหว้ (ที่เป็นบรรพชิต) จะไปทำตัวรับใช้ผู้ที่ไหว้ (ที่เป็นโยม)?
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุไม่พึงทำการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม แก่มาตุคาม รูปใดทำ ต้องอาบัติทุกกฏ"
(เล่ม 44 หน้า 599 บรรทัด 13)
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๑๐ จำพวกนี้ อันภิกษุไม่ควรไหว้ คืออันภิกษุผู้อุปสมบทก่อนไม่ควรไหว้ภิกษุผู้อุปสมบทภายหลัง ๑ ไม่ควรไหว้ อนุปสัมบัน ๑ ไม่ควรไหว้ภิกษุนานาสังวาสผู้แก่กว่า แต่ไม่ใช่ธรรมวาที ๑ ไม่ควรไหว้มาตุคาม ๑..."
(เล่ม 9 หน้า 136 บรรทัด 20)
เพราะฉะนั้น บรรพชิตจะทำตัวรับใช้โยม
ไม่ได้ และในจุลศีล พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
"...เธอเว้นขาดจากการประกอบทูตกรรม และการรับใช้..."
(เล่ม 11 หน้า 311 บรรทัด 8)
ในพระสูตรนี้ พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่า บรรพชิตไม่ควรเป็นคนใช้ของผู้อื่น
"พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรง เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
บรรพชิตไม่ควรพยายามในบาปกรรมทั่วไป ไม่ควรเป็นคนใช้ของผู้อื่น ไม่ควรอาศัยผู้อื่นเป็นอยู่ ไม่ควรแสดงธรรม เพื่อประโยชน์แต่ทรัพย์"
(เล่ม 44 หน้า 599 บรรทัด 13)
ในสังฆาทิเสสข้อที่ 13 ก็ห้ามประทุษร้ายสกูล เป็นคนรับใช้ประจบคฤหัสถ์ (เล่ม 3 หน้า 608 บรรทัด 7 - เล่ม 3 หน้า 624 บรรทัด 3)
ส่วนกรณีที่บรรพชิตไปรับใช้ จับต้องกายโยมแม่ เช่น เช็ดตัว ล้างเท้าให้แบบนี้ก็ผิดเช่นกัน เพราะบรรพชิตจะรับใช้โยมไม่ได้ และพรรชิตจะจับต้องกายมาตุคามไม่ได้ ถึงแม้ว่าไม่ได้ต้องกายเพราะความกำหนัดก็ตาม แต่ก็ต้องอาบัติทุกกฎ
เรื่องมารดา
"ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งจับต้องมารดาด้วยความรักฉันมารดา เธอได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วกระมังหนอจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
เธอไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่ต้องอาบัติทุกกฎ"
(เล่ม 3 หน้า 150 บรรทัด 18)
แต่เมื่อหาอ่านดูในเน็ต ก็มีคนบอกว่าการกระทำแบบนั้นไม่ผิด เพราะ "ภิกษุเลี้ยงดูมารดาได้" อ้างจากเรื่อง สุวรรณสามชาดก (อ่านเรื่องนี้ได้ที่ www.tripitaka91.com เล่ม 63 หน้า 168 บรรทัด 1)
เมื่ออ่านดูเรื่องนี้แล้วจะเห็นว่า ภิกษุนั้นเลี้ยงดูมารดาบิดาด้วยการเอาภิกษาหารที่ได้จากการบิณฑบาตให้ ชึ่งจัดเป็นการให้ทาน ในเรื่องไม่ได้ล่าวว่าภิกษุนั้นเลี้ยงดูมารดาบิดาด้วยการรับใช้ต่างฯที่ไม่ควร และการต้องกายมาตุคาม เช่น ล้างเท้า เช็ดตัว เพราะฉะนั้น ต้องดูความจำกัดความหมายของคำว่า "เลี้ยงดู" นะครับ และอีกอย่าง ในเรื่องนี้ก็มีคำนี้ว่า " ภิกษุนั้นได้ปฏิบัติบิดามารดาทั้งสองโดยทำนองนี้ดังแต่นั้นมา" หมายถึงปฏิบัติในทำนองที่เอาภิกษาหารให้บิดามารดาเพราะในเรื่องล่าวแต่การเอาภิกษาหารเลี้ยงบิดามารดา ไม่ได้ล่าวถึงเรื่องอื่น ทำนองอื่น เพราะฉะนั้น ต้องดูความจำกัดของคำด้วย
ภิกษุเหล่านั้นมาเห็นภิกษุนี้มีร่างกายผอมเหลืองจึ่งถามภิกษุนั้น ภิกษุนั้นเลยบอกความประพฤติเหตุนั้นที่ตนมีความกังวลต่อบิดารมารดา และที่ตนเอาบิณฑบาตไปเลี้ยงดูบิดามารดา ภิกษุเหล่านั้นจึ่งเห็นว่า การเอาของที่เขาให้ด้วยศัทธาไปให้โยมเป็นการยังของที่เขาให้ด้วยศรัทธาให้ตกไป จึ่งกราบทูลเรื่องนี้แก่พระศาสดา แต่พระศาสดาก็รู้ว่าการที่ภิกษุนั้นเลี้ยงดูมารดาบิดาด้วยการเอาภิกษาหารที่ได้จากการบิณฑบาตให้นั้นไม่ผิด เพื่อจะยังความอุตสาหะให้เกิดแก่ภิกษุนั้น พระศาสดาก็เลยทรงประทานสาธุการสามครั้งว่า สาธุ สาธุ สาธุ เพื่อให้ถิกษุนั้นมีความเบิกบานใจจะเห็นว่าในเรื่องนี้กล่าวถึงการเลี้ยงดูมารดาบิดาด้วยการเอาภิกษาหารให้มารดาบิดา ไม่ได้ล่าวถึงการเลี้ยงดูที่เป็นการรับใช้ต่างฯที่ไม่ควรและการต้องกายมาตุคามเลยนะครับ เช่น ล้างเท้า เช็ดตัว แต่เดี่ยวนี้เห็นภิกษุไปกราบโยมแม่ ล้างเท้า เช็ดตัวโยมแม่ ชึ่งเป็นการกระทำที่ไม่ควร ถ้าโยมแม่ป่วย ก็ต้องดูว่ามีคนทำหน้าที่ดูแลท่านไหม ผมเชื่อว่ามีอยู่ ในเมื่อมีผู้ที่ทำหน้าที่อยู่แล้ว ลูกผู้เป็นบรรพชิตก็ไม่ควรไปทำเพราะมันจะผิด มันมีทางที่จะหลีกเลี่ยงให้ตนไม่ผิดข้อบัญญัติของพระพุทธเจ้าอยู่ ไม่ใช่ไม่มี เมื่อมีคนดูแลท่านอยู่แล้ว ก็ควรปล่อยให้เขาทำหน้าที่ของเขาไป ผู้ที่เป็นบรรพชิตก็ทำตามหน้าที่ของบรรพชิตไปแต่เมื้อมีคนดูแลท่านอยู่แล้ว คุณก็ยังไปทำ นั้นก็หมายความว่าคุณไม่สนใจกิจของการเป็นสมณะ และจงใจจะละเมิด
และเมื่อเห็นโยมป่วย พระพุทธเจ้าท่านให้บรรพชิตไปแสดงธรรมให้เขาฟัง ไม่เห็นท่านบอกเลยครับว่าให้ไปรับใช้โยมผู้ป่วย
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมอนุเคราะห์คฤหัสถ์ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ ยังคฤหัสถ์ให้สมาทานให้อธิศีล ๑ ให้ตั้งอยู่ในธรรมทัศนะ ๑ เข้าไปหาคฤหัสถ์ผู้ป่วยแล้วย่อมให้สติว่า ท่านทั้งหลายจงตั้งสติให้ตรงต่อพระรัตนตรัย ก็ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เข้ามาแล้ว มีภิกษุมาจากแคว้นต่าง ๆ ย่อมเข้าไปบอกพวกคฤหัสถ์ว่า ดูก่อน
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุหมู่ใหญ่เข้ามาแล้ว มีภิกษุมาจากแคว้นต่าง ๆ ขอเชิญท่านทั้งหลายทำบุญเป็นสมัยทำบุญ ๑ ย่อมฉันโภชนะที่พวกคฤหัสถ์ถวายจะเลวหรือประณีตก็ตามด้วยตนเอง ๑ ไม่ยังศรัทธาไทยให้เสียไป ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมอนุเคราะห์คฤหัสถ์"
( เล่ม 36 หน้า 489 บรรทัด 9)
เรื่องสุวรรณสามชาดกสอนให้เราเป็นคนมีความกตัญญูต่อมารดาบิดาร และการกตัญญูต่อมารดาบิดาสามารถแสดงออกได้หลายแบบตามหน้าที่ของตนที่จะทำได้ เช่น เมื่อเราบวชเป็นบรรพชิตแล้ว เราก็กตัญญูตอบแทนคุณมารดาบิดาตามกิจของตนที่จะทำได้ ไม่เป็นการละเมิดข้อห้ามที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้
ธรรมมะเป็นเรื่องละเอียดมาก ยากที่จะเข้าใจ จะอ่านสูตรเดียวแล้วสรุปไม่ได้ ต้องอ่านหลายฯสูตรแล้วเอามาเทียบเคียงว่ามันขัดกันยังไงบ้าง ใครมีพระสูดรอื่นที่ค้านจากที่ผมยกมา ก็หามาให้กันอ่านเป็นธรรมทานด้วยครับ
ที่มา: tripitaka91
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!