“ตอนใกล้ตาย” มันมีความรู้สึกอย่างไร?
อาการของการ “ตาย” ที่คนอื่นได้ศึกษามาหรือเคยได้พูดคุยกับคนมีประสบการณ์ใกล้ตาย (near-death experience) นั้นเป็นเช่นไร คุณหัชชา ณ บางช้าง เคยค้นคว้าเรื่องนี้มาเขียน
ใน “ภาวะหลังตาย” และเล่าว่า “กระบวนการตาย” ในระยะต่าง ๆ นั้นเป็นเช่นไร
ท่านบอกว่ามันมี 4 ขั้นตอนอย่างนี้
๑. ระยะแรก เป็นระยะที่ธาตุดินเริ่มสลายตัว
กลายเป็นน้ำ ผู้ตายจะรู้สึกอ่อนระโหย
ไม่มีแรง การมองเห็นต่าง ๆ เริ่มเสื่อม
มองอะไร ๆ ก็ไม่ชัด ทุกอย่างดูมัว ไปหมด
ทุกอย่างที่เห็น เหมือนมองไปกลางถนน
ขณะแดดจัดๆภาพต่างๆจะเต้นระยิบระยับ
เต็มไปหมด
๒. ระยะที่น้ำจะกลายเป็นไฟ ช่วงนั้น
น้ำในร่างกายเริ่มแห้งลง จะรู้สึก ชา ๆ ตื้อ ๆ
เริ่มหมดความรู้สึก ไล่จากปลายเท้าขึ้นมา
ประสาทหูเริ่มไม่รับรู้คือเริ่มไม่ได้ยินเสียง
อะไร มองไปทางไหนก็เห็นแต่ควัน
๓. ระยะนี้ไฟเปลี่ยนเป็นลม
หูจะไม่ได้ยินอะไรอีกเลย รู้สึกหนาว
จับใจ ความรู้สึกนึกคิดต่าง ๆ หยุดหมด
ลมหายใจอ่อนลงเรื่อย ๆ
จมูกเริ่มไม่รับความรู้สึกเรื่องกลิ่น
๔. ระยะนี้ ธาตุลมจะเปลี่ยนเป็นอากาศธาตุ
ตอนนี้ เจตสิกทุกอย่าง รวมทั้งการหายใจ
จะหยุดหมดพลังงานทั้งหลายที่เคย
ไหลเวียนอยู่ในร่างกายจะไหลกลับคืนไปสู่
ระบบประสาทส่วนกลางหมด ลิ้นแข็ง
ไม่รับรู้เรื่องรสชาติใดๆความรู้สึกสัมผัส
หมดไป ความรู้สึกอยากโน่น อยากนี่ต่าง ๆ
ที่เคยมีก็หมดไป มีความรู้สึกเหมือน
อยู่กับแสงเทียนที่กำลังลุกโพลงอยู่เท่านั้น
ท่านบอกว่าตอนนี้แหละที่แพทย์จะประกาศว่า
ผู้ป่วยในความดูแล “ถึงแก่กรรม” แล้ว (clinical death)
นั่นก็คือจุดที่ “เวทนา” ทั้งหมดดับไป สมองและระบบไหลเวียนต่าง ๆ ของร่างกายหยุดทำงานหมด แปลว่ารูปและนาม หรือเบญจขันธ์ ตายไปแล้ว
ก็ต้องถกกันต่อไปว่า ถ้าเราเชื่อว่า วิญญาณยังอยู่ต่อเมื่อร่างกายสลายไป จะไปอยู่ที่ไหนอย่างไรต่อไป
อ่านเจออีกแหล่งหนึ่งเรื่อง “ลักษณะการตาย” ตามแนวคิดแบบ “เซน” ที่คุณ “โชติช่วง นาดอน” เคยรวบรวมไว้ในหนังสือ “จิตคือพุทธะ” เมื่อนานมาแล้ว
ท่านบอกว่าคนเราตายได้สองลักษณะ คือ “ตายอย่างปราศจากที่พึ่ง” และ
“ตายอย่างสมบูรณ์ด้วยที่พึ่ง”
คนที่ตายย่างแรกนั้นเวลาใกล้จะสิ้นลม มีอารมณ์ผิดไปจากปกติ จิตใจกลัดกลุ้มยุ่งเหยิง เรียกว่า “จิตวิการ” ซึ่งหมายถึงจิตเกิดความปวดร้าวทรมานเพราะ
ยัง “ยึดติด” กับหลายเรื่อง
หรือที่ผมเรียกว่า “ไม่ยอมตายทั้ง ๆ ที่ต้องตาย” นั่นคือจิตใจยังติดข้องกับอุปาทาน ๔ ประการคือ
๑. ติดอยู่กับทรัพย์สินเงินทอง
๒. ห่วงใยอาลัยในสิ่งที่เป็นรูป และอรูป
โดยเห็นว่าเป็นของเที่ยง
๓. มีนิวรณ์ความวุ่นวาย ฟุ้งซ่าน
มาห้ามจิตมิให้บรรลุความดี
๔. มีความดูแคลนเมินเฉยในคุณพระรัตนตรัย
เขาบอกว่าคนส่วนใหญ่ตายลักษณะอาการ
อย่างนี้ เรียกว่าตายอย่างอนาถา
ส่วนการตายอย่างสมบูรณ์ด้วยที่พึ่งนั้น
แปลว่าคนใกล้ตายมีสติอารมณ์ผ่องใส
ไม่หวั่นไหว และซาบซึ้งในวิธีของมรณกรรม และยึดหลัก ๔ ประการคือ
๑. มีอารมณ์เฉย ๆ
ซาบซึ้งถึงกฎธรรมดาแห่งความตาย
๒. ซาบซึ้งถึงสภาพการณ์สิ่งในโลกของ
ความไม่เที่ยง ไม่เป็นแก่นสาร
๓. รำลึกถึงกุศลกรรมที่ได้ผ่านมาในชีวิต
และเกิดปิติปลาบปลื้ม
๔. ยึดมั่นเอาคุณพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง
อยู่ตลอดเวลาจนสิ้นลมหายใจ
ด้วยเหตุนี้แหละ, ผมจึงเห็นว่าการ
“ฝึกตายก่อนตาย”ดั่งที่ท่านพุทธทาส หรือ.. หลวงพ่อ หลวงปู่ ครูบาอาจารย์ โดยเฉพาะ..
หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี ท่านเคยสอนเรานั้น
เป็นเรื่องที่ประเสริฐสุดแล้ว
แต่คนส่วนใหญ่กลัวตาย แม้จะเอ่ยถึงคำว่าตายก็รับไม่ได้ เพราะถือว่าเป็นการ “แช่ง” ทั้ง ๆ ที่ไม่มีใครหนีความตายได้แม้แต่คนเดียว
การเรียนรู้ “มรณาอุปายะ” หรือ “ฝึกตายก่อนตาย” นั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญ
ทำให้มันสนุกเสีย ให้มันเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นน่ายินดี ก็จะทำให้ความทุกข์ระหว่างมีชีวิตอยู่นั้น
ลดน้อยถอยลง และเมื่อถึงเวลาที่ต้องจากโลกนี้ไปก็ไม่ตกใจ
ไมตื่นเต้น ไม่รันทดและทรมานเพราะ..
ความกลัวและความไม่ต้องการที่จะจากไป
ชาวพุทธที่ฝึกปฏิบัติธรรมในสาระจริง ๆ (ไม่ใช่แค่ทำบุญแล้วนึกว่าจะต้องไปสวรรค์
โดยไม่ต้องปฏิบัติธรรม) ก็จะเข้าใจว่า.. “ขันธ์ทั้งห้า” ล้วนไม่เที่ยง ไม่มีความแน่นอน เปลี่ยนแปลงและทรุดโทรม และท้ายสุดก็แตกดับไป และระหว่างที่มรณกาลมาถึงนั้น ขันธ์ห้าก็ย่อมจะแปรปรวน จึงควรจะเตรียมตัวและเตรียมใจไว้
เมื่อความตายมาถึง, เราก็จะได้ไม่ทุรนทุราย และตายอย่างมีสติ และ “รู้เท่าทันความตาย” ซึ่งเป็นสุดยอดของการมีชีวิตอยู่นั่นเอง..
ข้อมูลดีๆโปรดแชร์ต่อ @บุญรักษา
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น