ทางสายกลาง
ทุกๆวันที่เราตื่นนอนขึ้นมา "เหตุ-ปัจจัย" ในแต่ละวันอาจจะแตกต่างกัน...
บางวันก็มีแบบทดสอบธรรมที่อยู่เหนือการคาดเดา (อนิจจัง) รอเราอยู่ แต่บางวันก็ไม่มี
การมีความเชื่อและทัศนคติที่ถูกต้องต่อโลกตามความจริง ก็เป็นทางสายกลาง
การไม่มัวเมาใน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส การไม่ผูกพยาบาท การไม่คิดประทุษร้ายผู้อื่น เป็นทางสายกลาง
การไม่พูดเท็จ การไม่พูดยุยงให้คนแตกแยกกัน การไม่พูดเพื่อหวังผลให้คนอื่นโกรธ การไม่พูดเพ้อเจ้อไร้สาระ เป็นทางสายกลาง
การไม่ฆ่าไม่เบียดเบียนคนหรือสัตว์ การไม่ลักขโมย การไม่คบชู้ การไม่มีกิ๊ก เป็นทางสายกลาง
การมีอาชีพที่สุจริต การประกอบอาชีพด้วยความสุจริต เป็นทางสายกลาง
ความพยายาม ในข้อข้างต้น เป็นทางสายกลาง
สติที่ใช้ในข้อข้างต้น ก็เป็นทางสายกลาง
ความสุข ความสงบ สมาธิ ก็มีผลมาจากการ ทางสายกลาง
ทางสายกลางที่เรียกว่านั้น คือ มรรค 8
ดังนั้น คำว่า "กลาง" ในแต่ละวันจึงต้องแตกต่างกันออกไป
ผู้ปฏิบัติธรรมต้องใช้ดุลยพินิจของตนพิจารณาเอาเอง ว่าวันนี้คำว่า "กลาง" ของตนควรจะอยู่ที่ (หรือเลือกใช้)
การปฏิบัติธรรมแบบไหนจึงจะเป็นกลาง - จึงจะเหมาะสม
ทางสายกลาง วิธีไหน ที่ถอดถอนกิเลสของตัวเองได้ได้ผล ต่อจิตต่อใจของตน (ยํ้าว่าของตนเองไม่ไช่ของใครอื่น)
นั่นคือสายกลาง กลางสำหรับกิเลส และธรรมของตน ไม่ไช่ของคนอื่น
จะยากลำบากขนาดไหน ทรมารตนขนาดไหน ถ้าได้ผลนั่นคือ สายกลาง
ปฎิบัติง่ายรู้ง่าย มี ปฎิบัติยากรู้ยาก มี
ดังนั้น ทางสายกลางของใครของมัน ไม่ต้องไปเทียบกับใคร เพราะกิเลสใครก็เลสมัน กรรมทำมามันต่างกัน บารมีของจิตก็ต่างกัน