หยุดหายใจชั่วคราว เสี่ยงเสียชีวิตเร็วขึ้น
นเรศ ปันจาบี และคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ เมืองบัลติมอร์ สหรัฐอเมริกา รายงานว่า ภาวะหยุดหายใจชั่วคราวอย่างรุนแรงขณะนอนหลับ เพิ่มความเสี่ยงเสียชีวิตเร็วขึ้นถึง 46 เปอร์เซ็นต์
คนที่มีปัญหาหยุดหายใจชั่วคราวขณะหลับจะมีโอกาสเสียชีวิตจากหลายสาเหตุมากกว่าคนปกติ ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในผู้ชายที่มีอายุ 40-70 ปี ภาวะหยุดหายใจชั่วคราวขณะนอนหลับสังเกตได้จากการกรน แต่สิ่งที่ทำให้อาการนี้มีความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล คือ จำนวนความถี่ที่เกิดการขัดจังหวะหายใจขณะนอน
ภาวะหยุดหายใจชั่วคราวขณะหลับมีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจล้มเหลวและโรคหลอดเลือดเลี้ยงสมอง
จากการศึกษาในประชากรเพศชายและหญิง 6,400 คนนาน 8 ปี พบว่า ผู้ที่มีอาการหยุดหายใจอย่างรุนแรงมากขณะหลับมีโอกาสเสียชีวิตเพิ่มขึ้น 46 เปอร์เซ็นต์จากหลายสาเหตุโดยไม่เลือกเพศ อายุ เชื้อชาติ น้ำหนักหรือการสูบบุหรี่ และผู้ชายที่มีอายุ 40 - 70 ปี ที่มีปัญหาหยุดหายใจขณะนอนหลับอย่างรุนแรงจะมีโอกาสเสียชีวิต