ในถังดับเพลิง
เครื่องดับเพลิงชนิดเคมีแห้ง (Dry Chemical Fire Extinguisher) ถังสีแดง ภายในบรรจุผงเคมีแห้ง แล้วอัดแรงดัน ผงเคมีแต่ละชนิดมีประสิทธิภาพที่แตกต่างกัน เวลาใช้ผงเคมีจะถูกดันออกไปคลุมไฟ ทำให้อับอากาศ และไฟดับในที่สุด
เครื่องดับเพลิงเคมีแห้งมีหลายขนาดทั้งแบบหูหิ้ว และมีรถเข็น ตั้งแต่ 5 ปอนด์ (2 กิโลกรัม) 10 ปอนด์ (4 กิโลกรัม) 15 ปอนด์ (6 กิโลกรัม) 20 ปอนด์ (8 กิโลกรัม) เหมาะกับที่อยู่อาศัยและโรงงานอุตสาหกรรม
แบ่งเป็นเครื่องดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำยาดับเพลิง เป็นน้ำแข็งแห้งที่บรรจุไว้ในถังที่ทนแรงดันสูง ประมาณ 1800 PSI ต่อตารางนิ้ว ที่ปลายสายฉีดจะมีลักษณะเป็นกระบอกหรือกรวย
เวลาฉีด ลักษณะน้ำยาที่ออกมาจะเป็นหมอกหิมะที่ไล่ความร้อน และออกซิเจน เหมาะสำหรับใช้ภายในอาคาร ไฟที่เกิดจากแก๊ส น้ำมัน และไฟฟ้า เครื่องดับเพลิงชนิดนี้มีหลายขนาดตั้งแต่ 5 ปอนด์ 10 ปอนด์ และ 15 ปอนด์
เครื่องดับเพลิงชนิดน้ำยาเหลวระเหย บีซีเอฟ ฮาลอน 1211 ถังสีเหลือง ใช้ดับเพลิงได้ดี โดยคุณสมบัติของสารเคมีคือ มีความเย็นจัด และมีประสิทธิภาพ ทำลายออกซิเจนที่ทำให้ติดไฟ เครื่องดับเพลิงชนิดฮาลอน เหมาะสำหรับใช้กับสถานที่ที่ใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์สื่อสาร ในอุตสาหกรรม อิเล็กทรอนิกส์ เรือ เครื่องบิน และรถถัง
น้ำยาชนิดนี้ไม่ทิ้งคราบสกปรกหลังการดับเพลิงและใช้ได้หลายครั้ง แต่มีข้อเสียคือ มีสาร CFC ที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม เครื่องดับเพลิง ฮาลอน 1211 มีหลายขนาดให้ท่านเลือกใช้ได้ตามความต้องการ ตั้งแต่ 5 ปอนด์ 10 ปอนด์ และ 15 ปอนด์
เครื่องดับเพลิงชนิด BF 2000 ถังสีเขียว น้ำยาเป็นสารเหลวระเหยชนิด BF 2000 (FE 36) สำหรับเครื่องดับเพลิงชนิดหูหิ้ว น้ำยาดับเพลิงชนิดทดแทนนี้ ได้รับการยอมรับว่าไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ประสิทธิ ภาพ การทดสอบโดยใช้ cup-burn ชี้ให้เห็นว่าน้ำยา BF 2000 (FE 36) จะต้องมีความเข้มข้น อย่างน้อยร้อยละ 7.5 ในการใช้สารดับเพลิง ในการทดสอบแบบ scale-up ได้พิสูจน์ว่าน้ำยา BE 2000 (FE 36) สามารถใช้ได้กับไฟชนิด A B และ C, BF 2000 (FE 36) ไม่แสดงปฏิกิริยากับวัสดุก่อสร้างโดยทั่วไป เช่น อะลูมินั่มสตีล ทองแดง ในระดับอุณหภูมิปกติ เครื่องดับเพลิงชนิด BF 2000 มีหลายขนาด เลือกใช้ได้ตามความต้องการ ตั้งแต่ 5 ปอนด์ 10 ปอนด์ และ 15 ปอนด์
การบำรุงรักษาถังดับเพลิง
1.ดูแลรักษาจากภายนอก ตรวจสอบสภาพของสายฉีด ไม่แตก หรือรั่ว ถังไม่ผุกร่อนขึ้นสนิม
2.ดูแลรักษาน้ำยาในถัง โดยการหมั่นพลิกถังดับเพลิง กลับหัวลง เพื่อตรวจสอบว่าน้ำยาดับเพลิงในถังยังคงสภาพเดิม (เป็นของเหลว) ไม่จับตัวเป็นก้อนแข็ง
3.ดูแลแรงดัน ตรวจสอบความดันของถังดับเพลิง ว่ายังอยู่ในช่วงที่กำหนด โดยดูจากเกจ์วัด โดยถ้าเข็มยังคงชี้อยู่ในช่วงแถบสีเขียว แสดงว่าถังดับเพลิงนั้นยังอยู่ในสภาพใช้การได้
การใช้งานถังดับเพลิง เพียงแค่ดึง-ปลด-กด-ส่าย
1.ดึง คือ ดึงสลักล็อกออก
2.ปลดสายฉีด ชี้ไปที่ฐานของกองไฟ อย่าไปฉีดที่เปลวไฟ เพราะไฟจะไม่ดับ เปลืองน้ำยา
3.กดคาน เพื่อให้น้ำยาดับเพลิงพุ่งออกมาจากหัวฉีด
4.ส่ายหัวสายฉีด ให้น้ำยาดับเพลิงพ่นออกไปได้ทั่วๆ