มหัศจรรย์แห่งไข่
ก่อนจะมาลงตัวที่รูปทรงไข่ที่คล้ายกับรูปทรงรีทางคณิตศาสตร์นั้น มนุษย์สามารถถอดรหัสความมหัศจรรย์นี้ได้เป็นสมการโดด ที่ใกล้กับทรงไข่ที่สุด นั่นคือ สมการมาตรฐานในระบบพิกัดคาร์ทีเซียน คือ
แรงกดบนเปลือกไข่จะทำให้เกิดการต้านต่อแรงกดหรือที่เรียกว่า ความเค้น (Stress: S) กระจายไปในทุกส่วนของเปลือกไข่ โดยจะแปรผกผันกับรัศมีความโค้งของทรงไข่ คือยิ่งรัศมีกว้าง ความคงทนจะยิ่งน้อยลง ดังนั้นส่วนที่รีมนด้านหัวเมื่อวางในแนวตั้งมีรัศมีสั้นกว่าส่วนรีด้านข้างเมื่อวางในแนวนอนจึงทนแรงกดดันได้มากกว่า ด้วยเหตุนี้ด้านข้างของเปลือกไข่จึงแตกง่ายและเพื่อให้ลูกเจี๊ยบเจาะออกมาได้ด้วย
นอกจากนั้นความมนของด้านบนของไข่ในขณะที่วางในแนวตั้ง จะมีผิวรีใกล้กับทรงกลม เนื่องจากรูปทรงกลมจะถ่ายแรงกดจากน้ำหนักกระจายตามโค้งออกไปเท่าๆ กัน ทั่วทั้งรูปทรง แต่ที่ไข่ทั้งฟองไม่เป็นรูปทรงกลมก็เพราะเป็นการจัดการของธรรมชาติในเรื่องของการดันไข่ออกมาจากตัวสัตว์ในขณะตกไข่ ป้องกันการกลิ้งตกแตก ที่สำคัญคือมีประโยชน์ต่อการจัดการพื้นที่ในรังไข่ เนื่องจากไข่รูปทรงรีหลายใบเกาะกลุ่มกันได้ดี มีพื้นที่ว่างเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับทรงกลม รวมทั้งช่วยกระจายความร้อนจากตัวแม่ที่กกไข่ และสร้างความอบอุ่นให้กันและกันของไข่ได้ดีกว่า นี่คือความฉลาดของธรรมชาติในการปรับตัวและบริหารจัดการทรัพยากร
และนี่เองเป็นความมหัศจรรย์ของธรรมชาติของสิ่งที่เราคุ้นเคยและคุ้นตา ธรรมชาติเป็นครูที่สอนมนุษย์ที่ปราดเปรื่อง เนื่องจากผ่านการลองผิดลองถูกมามากมายหลายล้านปี สิ่งสำคัญคือเราต้องไม่หยุดแสวงหาความรู้และไขปริศนาในธรรมชาติ ควบคู่ไปกับการพัฒนาทางเทคโนโลย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก อาจารย์ราม ติวารี และทีมงานสาขาฟิสิกส์, สสวท.
มหัศจรรย์แห่งไข่., (2558, มกราคม-มีนาคม). สื่อพลัง. 23 (1): 50-51.