งานวิจัยชิ้นใหม่ กินช็อกโกแลตไม่ได้ช่วยรักษาโรคซึมเศร้า
ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา สื่อต่างประเทศหลายสำนักได้เผยแพร่ข่าวดีสำหรับคนรักช็อกโกแลต โดยระบุว่าทีมนักวิจัยนานาชาติพบข้อดีอีกอย่างหนึ่งของการกินขนมหวานยอดนิยมดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งดาร์กช็อกโกแลตนั้น สามารถจะช่วยให้อารมณ์ดีขึ้นและลดอาการไม่พึงประสงค์จากโรคซึมเศร้าได้
อย่างไรก็ตาม งานวิจัยอันเป็นแหล่งที่มาของข่าวนี้ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกในวารสารวิชาการ Depression and Anxiety กำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักว่า มีข้อบกพร่องในขั้นตอนดำเนินการศึกษาทดลอง จนทำให้สรุปผลผิดพลาด
รศ. ดร. เบน เดสบราว จากมหาวิทยาลัยกริฟฟิทของออสเตรเลีย แสดงความเห็นในบทความที่เผยแพร่ทางเว็บไซต์ The Conversation ว่าข้อมูลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ ไม่สามารถใช้เป็นหลักฐานยืนยันว่าการกินช็อกโกแลตจะช่วยป้องกันการเกิดโรคซึมเศร้า หรือช่วยบรรเทาอาการต่าง ๆ ของโรคซึมเศร้าได้แต่อย่างใด
งานวิจัยต้นเรื่องซึ่งจัดทำโดยทีมนักวิทยาศาสตร์จากออสเตรเลีย,จีน, ตุรกี, สเปน, ออสเตรีย และสหราชอาณาจักร ได้วิเคราะห์ตัวเลขสถิติจากฐานข้อมูลสุขภาพและโภชนาการแห่งชาติสหรัฐฯ เพื่อให้ทราบถึงสัดส่วนการกินช็อกโกแลตของประชากรส่วนใหญ่ รวมทั้งวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามที่ใช้กับกลุ่มตัวอย่างซึ่งมีน้ำหนักตัวปกติและไม่ได้มีพฤติกรรมกินช็อกโกแลตมากจนเกินไปอีก 13,626 คน เพื่อดูว่าการกินช็อกโกแลตมีความสัมพันธ์กับอาการของโรคซึมเศร้าหรือไม่อย่างไร
อย่างไรก็ตาม งานวิจัยอันเป็นแหล่งที่มาของข่าวนี้ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกในวารสารวิชาการ Depression and Anxiety กำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักว่า มีข้อบกพร่องในขั้นตอนดำเนินการศึกษาทดลอง จนทำให้สรุปผลผิดพลาด
รศ. ดร. เบน เดสบราว จากมหาวิทยาลัยกริฟฟิทของออสเตรเลีย แสดงความเห็นในบทความที่เผยแพร่ทางเว็บไซต์ The Conversation ว่าข้อมูลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ ไม่สามารถใช้เป็นหลักฐานยืนยันว่าการกินช็อกโกแลตจะช่วยป้องกันการเกิดโรคซึมเศร้า หรือช่วยบรรเทาอาการต่าง ๆ ของโรคซึมเศร้าได้แต่อย่างใด
งานวิจัยต้นเรื่องซึ่งจัดทำโดยทีมนักวิทยาศาสตร์จากออสเตรเลีย,จีน, ตุรกี, สเปน, ออสเตรีย และสหราชอาณาจักร ได้วิเคราะห์ตัวเลขสถิติจากฐานข้อมูลสุขภาพและโภชนาการแห่งชาติสหรัฐฯ เพื่อให้ทราบถึงสัดส่วนการกินช็อกโกแลตของประชากรส่วนใหญ่ รวมทั้งวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามที่ใช้กับกลุ่มตัวอย่างซึ่งมีน้ำหนักตัวปกติและไม่ได้มีพฤติกรรมกินช็อกโกแลตมากจนเกินไปอีก 13,626 คน เพื่อดูว่าการกินช็อกโกแลตมีความสัมพันธ์กับอาการของโรคซึมเศร้าหรือไม่อย่างไร
ผลการวิเคราะห์พบว่ามีกลุ่มตัวอย่าง 11% ที่ได้กินช็อกโกแลตเข้าไปในช่วง 24 ชั่วโมงก่อนตอบแบบสอบถาม แต่ในจำนวนนี้มีเพียง 1.1% เท่านั้นที่บอกว่าเลือกกินดาร์กช็อกโกแลต ส่วนในเรื่องของสุขภาพจิตนั้น มีกลุ่มตัวอย่างเพียง 7.4% ที่บอกว่าตนเองมีอาการของโรคซึมเศร้า
ความสัมพันธ์ของตัวเลขดังกล่าวทำให้ทีมผู้วิจัยสรุปว่า คนที่กินดาร์กช็อกโกแลตมีความเสี่ยงจะเกิดอาการของโรคซึมเศร้าน้อยกว่าคนที่ไม่ได้กินถึง 70% และหากยิ่งกินมากเป็นประจำ แนวโน้มที่จะเกิดอาการของโรคซึมเศร้าก็จะลดน้อยลงตามไปด้วยอย่างไรก็ตาม
รศ.ดร. เดสบราว ชี้ว่า "งานวิจัยนี้แสดงถึงแนวโน้มความสัมพันธ์ระหว่างการกินดาร์กช็อกโกแลตกับอาการของโรคซึมเศร้าในกลุ่มประชากรทั่วไปเท่านั้น แต่ไม่ได้พิสูจน์ยืนยันโดยตรงว่า การกินดาร์กช็อกโกแลตเป็นสาเหตุที่ช่วยป้องกันหรือบรรเทาอาการของโรคซึมเศร้าอย่างแน่ชัด"
ความสัมพันธ์ของตัวเลขดังกล่าวทำให้ทีมผู้วิจัยสรุปว่า คนที่กินดาร์กช็อกโกแลตมีความเสี่ยงจะเกิดอาการของโรคซึมเศร้าน้อยกว่าคนที่ไม่ได้กินถึง 70% และหากยิ่งกินมากเป็นประจำ แนวโน้มที่จะเกิดอาการของโรคซึมเศร้าก็จะลดน้อยลงตามไปด้วยอย่างไรก็ตาม
รศ.ดร. เดสบราว ชี้ว่า "งานวิจัยนี้แสดงถึงแนวโน้มความสัมพันธ์ระหว่างการกินดาร์กช็อกโกแลตกับอาการของโรคซึมเศร้าในกลุ่มประชากรทั่วไปเท่านั้น แต่ไม่ได้พิสูจน์ยืนยันโดยตรงว่า การกินดาร์กช็อกโกแลตเป็นสาเหตุที่ช่วยป้องกันหรือบรรเทาอาการของโรคซึมเศร้าอย่างแน่ชัด"
"นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างที่ระบุว่าตนเองกินดาร์กช็อกโกแลตนั้นก็มีน้อยมากเพียง 1.1% ในจำนวนนี้คนที่เผยว่าตนเองมีอาการของโรคซึมเศร้าอยู่แล้วก็มีเพียง 2 คน จึงยากที่จะสรุปได้ว่าการกินดาร์กช็อกโกแลตจะช่วยลดอาการซึมเศร้าได้จริง เพราะมีหลักฐานให้ตรวจสอบยืนยันไม่เพียงพอ"
"ปริมาณการบริโภคช็อกโกแลตโดยเฉลี่ยราววันละ 12 กรัมในงานวิจัยนี้ ถือว่าต่ำเกินไปกว่าระดับที่จะสามารถส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวได้ ส่วนวิธีสำรวจว่าผู้คนกินช็อกโกแลตมากน้อยเพียงใด ด้วยการเจาะจงถามเฉพาะแต่ช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมานั้น อาจไม่ได้สะท้อนพฤติกรรมการกินที่แท้จริงซึ่งเกิดขึ้นในระยะยาว"
แม้จะยังพิสูจน์ไม่ได้ว่าช็อกโกแลตช่วยรักษาโรคซึมเศร้า แต่หากคุณเป็นคนรักช็อกโกแลตและต้องการจะบริโภคโดยคำนึงถึงน้ำหนักตัวและการรักษาสุขภาพร่างกายไปพร้อมกัน รศ.ดร. เดสบราวมีคำแนะนำดังนี้
"โดยทั่วไปแล้วควรเลือกรับประทานดาร์กช็อกโกแลต ซึ่งก็คือผลิตภัณฑ์ที่มีผงโกโก้อยู่ 45% ขึ้นไป รวมทั้งเลือกช็อกโกแลตที่มีส่วนผสมของผลไม้และถั่ว โดยกินในปริมาณจำกัดและไม่เผลอไผลปล่อยให้ตัวเองกินมากจนเกินไป"
เครดิตแหล่งข้อมูล : bbc.com/thai
"ปริมาณการบริโภคช็อกโกแลตโดยเฉลี่ยราววันละ 12 กรัมในงานวิจัยนี้ ถือว่าต่ำเกินไปกว่าระดับที่จะสามารถส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวได้ ส่วนวิธีสำรวจว่าผู้คนกินช็อกโกแลตมากน้อยเพียงใด ด้วยการเจาะจงถามเฉพาะแต่ช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมานั้น อาจไม่ได้สะท้อนพฤติกรรมการกินที่แท้จริงซึ่งเกิดขึ้นในระยะยาว"
แม้จะยังพิสูจน์ไม่ได้ว่าช็อกโกแลตช่วยรักษาโรคซึมเศร้า แต่หากคุณเป็นคนรักช็อกโกแลตและต้องการจะบริโภคโดยคำนึงถึงน้ำหนักตัวและการรักษาสุขภาพร่างกายไปพร้อมกัน รศ.ดร. เดสบราวมีคำแนะนำดังนี้
"โดยทั่วไปแล้วควรเลือกรับประทานดาร์กช็อกโกแลต ซึ่งก็คือผลิตภัณฑ์ที่มีผงโกโก้อยู่ 45% ขึ้นไป รวมทั้งเลือกช็อกโกแลตที่มีส่วนผสมของผลไม้และถั่ว โดยกินในปริมาณจำกัดและไม่เผลอไผลปล่อยให้ตัวเองกินมากจนเกินไป"
เครดิตแหล่งข้อมูล : bbc.com/thai
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น