นักดาราศาสตร์ค้นพบน้ำเป็นครั้งแรกบนดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะในเขตเกื้อหนุนสิ่งมีชีวิต
หน้าแรกTeeNee อาหารสมอง วิทยาศาสตร์ นักดาราศาสตร์ค้นพบน้ำเป็นครั้งแรกบนดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะในเขตเกื้อหนุนสิ่งมีชีวิต
นักดาราศาสตร์ค้นพบน้ำ เป็นครั้งแรกบนดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะในเขตเกื้อหนุนสิ่งมีชีวิต - BBCไทย
ทีมนักดาราศาสตร์ของสหราชอาณาจักรค้นพบว่า ดาว K2-18b ซึ่งเป็นดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่อยู่ห่างจากโลก 111ปีแสง มีน้ำเป็นองค์ประกอบสำคัญในชั้นบรรยากาศ
ถือเป็นครั้งแรกที่มีการค้นพบร่องรอยของน้ำ บนดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่โคจรอยู่ในเขตเอื้อต่อการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต (Goldilocks Zone) กล่าวคือดาวเคราะห์อยู่ในระยะห่างจากดาวฤกษ์อย่างพอเหมาะ ทำให้มีอุณหภูมิไม่ถึงขั้นร้อนจัดหรือเย็นจัดมากเกินไป จนน้ำสามารถคงสภาพเป็นของเหลวอยู่ที่พื้นผิวดาวได้
ทีมนักดาราศาสตร์ของสหราชอาณาจักรค้นพบว่า ดาว K2-18b ซึ่งเป็นดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่อยู่ห่างจากโลก 111ปีแสง มีน้ำเป็นองค์ประกอบสำคัญในชั้นบรรยากาศ
ถือเป็นครั้งแรกที่มีการค้นพบร่องรอยของน้ำ บนดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่โคจรอยู่ในเขตเอื้อต่อการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต (Goldilocks Zone) กล่าวคือดาวเคราะห์อยู่ในระยะห่างจากดาวฤกษ์อย่างพอเหมาะ ทำให้มีอุณหภูมิไม่ถึงขั้นร้อนจัดหรือเย็นจัดมากเกินไป จนน้ำสามารถคงสภาพเป็นของเหลวอยู่ที่พื้นผิวดาวได้
ทีมนักดาราศาสตร์จากยูนิเวอร์ซิตี คอลเลจ ลอนดอน หรือยูซีแอล (UCL)รายงานการค้นพบดังกล่าวในวารสารNature Astronomy โดยระบุว่าการค้นพบน้ำบนดาวเคราะห์ที่อยู่ในเขตอุณหภูมิเหมาะสมดังกล่าว ทำให้ดาว K2-18b กลายเป็นสถานที่เป้าหมายในการค้นหาสิ่งมีชีวิตต่างดาวแห่งหนึ่งที่มีความเป็นไปได้มากที่สุดในขณะนี้
ศาสตราจารย์จีโอวานนา ทีเร็ตตี ผู้นำทีมนักดาราศาสตร์ของยูซีแอลบอกว่า ได้ค้นพบน้ำบนดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะดังกล่าว จากการวิเคราะห์ข้อมูลที่กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลตรวจพบระหว่างปี2016-2017 และทราบถึงองค์ประกอบทางเคมีในชั้นบรรยากาศของดาวดวงนี้ได้ โดยสังเกตลักษณะของแสงที่ส่องผ่านชั้นบรรยากาศออกมา ซึ่งแสงดาวจะเปลี่ยนไปขณะที่ดาวเคราะห์กำลังเคลื่อนผ่านตัดหน้าดาวฤกษ์ของตนเอง คนส่วนใหญ่รู้จักปรากฏการณ์นี้ในชื่อว่า "ทรานซิต" (transit)
ผลการวิเคราะห์แสงดาว K2-18b ขณะเกิดปรากฏการณ์ทรานซิต ชี้ว่ามีโมเลกุลของน้ำอยู่ในชั้นบรรยากาศปริมาณมาก โดยอาจมีน้ำเป็นองค์ประกอบได้สูงสุดถึง 50% เลยทีเดียว
ศาสตราจารย์จีโอวานนา ทีเร็ตตี ผู้นำทีมนักดาราศาสตร์ของยูซีแอลบอกว่า ได้ค้นพบน้ำบนดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะดังกล่าว จากการวิเคราะห์ข้อมูลที่กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลตรวจพบระหว่างปี2016-2017 และทราบถึงองค์ประกอบทางเคมีในชั้นบรรยากาศของดาวดวงนี้ได้ โดยสังเกตลักษณะของแสงที่ส่องผ่านชั้นบรรยากาศออกมา ซึ่งแสงดาวจะเปลี่ยนไปขณะที่ดาวเคราะห์กำลังเคลื่อนผ่านตัดหน้าดาวฤกษ์ของตนเอง คนส่วนใหญ่รู้จักปรากฏการณ์นี้ในชื่อว่า "ทรานซิต" (transit)
ผลการวิเคราะห์แสงดาว K2-18b ขณะเกิดปรากฏการณ์ทรานซิต ชี้ว่ามีโมเลกุลของน้ำอยู่ในชั้นบรรยากาศปริมาณมาก โดยอาจมีน้ำเป็นองค์ประกอบได้สูงสุดถึง 50% เลยทีเดียว
ESA/STFC RAL SPACE/UCL/EUROPLANET-SCIENCE OFFICE / กล้องโทรทรรศน์อวกาศ ARIEL ขององค์การอวกาศยุโรป จะเริ่มสำรวจหาร่องรอยของสิ่งมีชีวิตบนดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะในปี 2028
ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะดวงนี้ ยังมีคุณสมบัติอื่น ๆ ที่เหมาะสมต่อการเป็นแหล่งกำเนิดและอาศัยของสิ่งมีชีวิตคล้ายกับโลกอีกด้วย เช่นมีขนาดไม่ใหญ่โตจนเกินไป โดยมีขนาดใหญ่กว่าโลกราว 2 เท่า และคาดว่ามีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 0-40 องศาเซลเซียส จัดว่าเป็นดาวเคราะห์ประเภทซูเปอร์เอิร์ธ (Super-Earth) คือมีขนาดใหญ่กว่าโลกแต่ไม่ใหญ่เกินขนาดของดาวน้ำแข็งอย่างเนปจูนและยูเรนัส
อย่างไรก็ตาม ยังไม่สามารถยืนยันได้แน่ชัดว่ามีสิ่งมีชีวิตอยู่บนดาว K2-18b จริงหรือไม่ แต่ภายในช่วง 10 ปีข้างหน้า นักวิทยาศาสตร์จะสามารถใช้อุปกรณ์สำรวจที่ทันสมัยขึ้น เข้าตรวจสอบก๊าซในชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะได้ เพื่อให้ทราบว่ามีก๊าซที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตปะปนอยู่บ้างหรือไม่และมีอยู่มากน้อยเพียงใด
อุปกรณ์สำรวจรุ่นใหม่เหล่านี้ได้แก่กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เว็บบ์ (JWST)ซึ่งมีกำหนดจะปล่อยขึ้นสู่ห้วงอวกาศในปี2021 รวมทั้งกล้องโทรทรรศน์อวกาศ ARIELขององค์การอวกาศยุโรป ซึ่งจะเริ่มใช้งานในปี 2028 โดยใช้รังสีอินฟราเรดตรวจจับองค์ประกอบต่าง ๆ ในชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะจากระยะไกล
ศ. ทีเร็ตตีกล่าวด้วยว่า นักดาราศาสตร์ยังคงต้องศึกษาต่อไปในระยะยาว เพื่อให้ทราบว่าจะต้องใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศรุ่นใหม่มองหาก๊าซชนิดใดบ้างที่เป็นสัญลักษณ์ของสิ่งมีชีวิต โดยอาจจะต้องศึกษาบรรยากาศของดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะหลายร้อยดวง รวมทั้งกำเนิดและความเป็นมาของมันเสียก่อนที่จะได้ข้อสรุปในเรื่องนี้
เครดิตแหล่งข้อมูล : bbc.com/thai
ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะดวงนี้ ยังมีคุณสมบัติอื่น ๆ ที่เหมาะสมต่อการเป็นแหล่งกำเนิดและอาศัยของสิ่งมีชีวิตคล้ายกับโลกอีกด้วย เช่นมีขนาดไม่ใหญ่โตจนเกินไป โดยมีขนาดใหญ่กว่าโลกราว 2 เท่า และคาดว่ามีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 0-40 องศาเซลเซียส จัดว่าเป็นดาวเคราะห์ประเภทซูเปอร์เอิร์ธ (Super-Earth) คือมีขนาดใหญ่กว่าโลกแต่ไม่ใหญ่เกินขนาดของดาวน้ำแข็งอย่างเนปจูนและยูเรนัส
อย่างไรก็ตาม ยังไม่สามารถยืนยันได้แน่ชัดว่ามีสิ่งมีชีวิตอยู่บนดาว K2-18b จริงหรือไม่ แต่ภายในช่วง 10 ปีข้างหน้า นักวิทยาศาสตร์จะสามารถใช้อุปกรณ์สำรวจที่ทันสมัยขึ้น เข้าตรวจสอบก๊าซในชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะได้ เพื่อให้ทราบว่ามีก๊าซที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตปะปนอยู่บ้างหรือไม่และมีอยู่มากน้อยเพียงใด
อุปกรณ์สำรวจรุ่นใหม่เหล่านี้ได้แก่กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เว็บบ์ (JWST)ซึ่งมีกำหนดจะปล่อยขึ้นสู่ห้วงอวกาศในปี2021 รวมทั้งกล้องโทรทรรศน์อวกาศ ARIELขององค์การอวกาศยุโรป ซึ่งจะเริ่มใช้งานในปี 2028 โดยใช้รังสีอินฟราเรดตรวจจับองค์ประกอบต่าง ๆ ในชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะจากระยะไกล
ศ. ทีเร็ตตีกล่าวด้วยว่า นักดาราศาสตร์ยังคงต้องศึกษาต่อไปในระยะยาว เพื่อให้ทราบว่าจะต้องใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศรุ่นใหม่มองหาก๊าซชนิดใดบ้างที่เป็นสัญลักษณ์ของสิ่งมีชีวิต โดยอาจจะต้องศึกษาบรรยากาศของดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะหลายร้อยดวง รวมทั้งกำเนิดและความเป็นมาของมันเสียก่อนที่จะได้ข้อสรุปในเรื่องนี้
เครดิตแหล่งข้อมูล : bbc.com/thai
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น