กาแล็กซีทางช้างเผือกบิดเบี้ยว - โคลงเคลง เพราะชนกับดาราจักรบริวาร
หน้าแรกTeeNee อาหารสมอง วิทยาศาสตร์ กาแล็กซีทางช้างเผือกบิดเบี้ยว - โคลงเคลง เพราะชนกับดาราจักรบริวาร
แม้นักดาราศาสตร์จะทราบมาระยะหนึ่งแล้วว่า กาแล็กซีทางช้างเผือกมีรูปทรงเป็นจานแบนที่บิดเบี้ยวโค้งงอตรงริมขอบ ทั้งยังโคลงเคลงสั่นไหวไปมาคล้ายระลอกคลื่นอีกด้วย แต่ก็ยังไม่มีผู้ใดทราบแน่ชัดว่า เหตุใดกาแล็กซีที่เราอาศัยอยู่จึงเป็นเช่นนั้น
ล่าสุดนักวิจัยของสถาบันฟิสิกส์ดาราศาสตร์แห่งชาติอิตาลี (INAF) ได้เผยผลการศึกษาเรื่องดังกล่าวลงในวารสาร Nature Astronomy โดยระบุว่าพบหลักฐานใหม่ ซึ่งชี้ว่ารูปทรงและการเคลื่อนไหวแปลกประหลาดของกาแล็กซีทางช้างเผือก เกิดจากการชนเข้ากับดาราจักรแคระที่เป็นบริวาร โดยสันนิษฐานว่าการชนและรวมตัวของดาราจักรทั้งสองกำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้ หรืออาจจะเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้เอง
ทีมผู้วิจัยใช้ข้อมูลการโคจรของดาวฤกษ์ขนาดยักษ์ 12 ล้านดวงในกาแล็กซีทางช้างเผือก ที่รวบรวมได้จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศกายอา (Gaia) มาสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์ ซึ่งใช้คำนวณความเร็วในการเคลื่อนที่ของกาแล็กซีส่วนที่บิดเบี้ยวและสั่นไหวไปมาได้
ผลวิเคราะห์พบว่า การเคลื่อนที่ของส่วนที่บิดเบี้ยวและไหวตัว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มก๊าซไฮโดรเจนและดาวฤกษ์ จะใช้เวลาราว 600 -700 ล้านปีในการวนรอบศูนย์กลางกาแล็กซีครบ 1 รอบ ซึ่งถือว่านานกว่าระยะเวลาที่ดวงดาวอื่น ๆ ใช้โคจรวนรอบกาแล็กซีทางช้างเผือกมาก เช่นดวงอาทิตย์ของเราใช้เวลาในการวนรอบศูนย์กลางกาแล็กซีทั้งสิ้น 220 ล้านปี
ล่าสุดนักวิจัยของสถาบันฟิสิกส์ดาราศาสตร์แห่งชาติอิตาลี (INAF) ได้เผยผลการศึกษาเรื่องดังกล่าวลงในวารสาร Nature Astronomy โดยระบุว่าพบหลักฐานใหม่ ซึ่งชี้ว่ารูปทรงและการเคลื่อนไหวแปลกประหลาดของกาแล็กซีทางช้างเผือก เกิดจากการชนเข้ากับดาราจักรแคระที่เป็นบริวาร โดยสันนิษฐานว่าการชนและรวมตัวของดาราจักรทั้งสองกำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้ หรืออาจจะเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้เอง
ทีมผู้วิจัยใช้ข้อมูลการโคจรของดาวฤกษ์ขนาดยักษ์ 12 ล้านดวงในกาแล็กซีทางช้างเผือก ที่รวบรวมได้จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศกายอา (Gaia) มาสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์ ซึ่งใช้คำนวณความเร็วในการเคลื่อนที่ของกาแล็กซีส่วนที่บิดเบี้ยวและสั่นไหวไปมาได้
ผลวิเคราะห์พบว่า การเคลื่อนที่ของส่วนที่บิดเบี้ยวและไหวตัว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มก๊าซไฮโดรเจนและดาวฤกษ์ จะใช้เวลาราว 600 -700 ล้านปีในการวนรอบศูนย์กลางกาแล็กซีครบ 1 รอบ ซึ่งถือว่านานกว่าระยะเวลาที่ดวงดาวอื่น ๆ ใช้โคจรวนรอบกาแล็กซีทางช้างเผือกมาก เช่นดวงอาทิตย์ของเราใช้เวลาในการวนรอบศูนย์กลางกาแล็กซีทั้งสิ้น 220 ล้านปี
ดร. เอลุยซา ป็อกจิโอ หนึ่งในทีมผู้วิจัยอธิบายว่า
"แม้ส่วนที่บิดเบี้ยวและสั่นไหวจะเคลื่อนที่ช้ามาก แต่ก็ยังเร็วกว่าอัตราที่ควรจะเป็น หากความผิดปกตินี้เกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ที่เคยมีผู้สันนิษฐานไว้"
ก่อนหน้านี้นักดาราศาสตร์บางกลุ่มสันนิษฐานว่า กาแล็กซีทางช้างเผือกอาจบิดเบี้ยวและสั่นไหวเพราะอิทธิพลของสสารมืด แรงเหวี่ยงจากศูนย์กลางดาราจักร หรือสนามแม่เหล็กระหว่างดาราจักร แต่ดูเหมือนว่าข้อมูลที่ได้ในการศึกษาครั้งนี้ไม่สอดคล้องกับแนวคิดที่เคยมีมา
ดร. ป็อกจิโอชี้ว่า บางสิ่งที่ทรงพลังยิ่งกว่านั้นทำให้กาแล็กซีทางช้างเผือกเกิดการบิดตัวและสั่นไหว ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงว่าอาจเป็นผลจากการชนเข้ากับดาราจักรบริวารที่โคจรอยู่ใกล้ ๆ เช่นดาราจักรทรงกลมแคระซาจิตทาเรียส (Sagittarius Dwarf Spheroidal Galaxy)
ในอดีตมีหลักฐานมากมายที่ชี้ว่า กาแล็กซีทางช้างเผือกชนและรวมตัวเข้ากับดาราจักรบริวารหลายครั้ง โดยกระบวนการนี้ใช้เวลาหลายล้านปี และทำให้กาแล็กซีทาช้างเผือกกลืนเอามวลสารของดาราจักรขนาดเล็กกว่าเหล่านั้นมาเป็นส่วนหนึ่งของตนในที่สุด
ในอดีตมีหลักฐานมากมายที่ชี้ว่า กาแล็กซีทางช้างเผือกชนและรวมตัวเข้ากับดาราจักรบริวารหลายครั้ง โดยกระบวนการนี้ใช้เวลาหลายล้านปี และทำให้กาแล็กซีทาช้างเผือกกลืนเอามวลสารของดาราจักรขนาดเล็กกว่าเหล่านั้นมาเป็นส่วนหนึ่งของตนในที่สุด
" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น