วิจัยสวิสพบโควิด-19 โจมตีเส้นเลือดทั่วร่างกาย
เชื้อโคโรนาไวรัสโจมตีเส้นเลือดทั่วร่างกาย และที่สุดแล้วอาจทำให้อวัยวะภายในล้มเหลว
แฟรง รูชิตซ์กา ประธานศูนย์หัวใจและแผนกโรคหัวใจของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยซูริกของสวิตเซอร์แลนด์ และเจ้าของงานวิจัยเผยว่า โคโรนาไวรัสไม่ได้โจมตีเฉพาะปอดเท่านั้น แต่ยังโจมตีหลอดเลือดทั่วร่างกายด้วย
งานวิจัยพบว่าไม่เพียงเชื้อไวรัสจะก่อให้เกิดอาการปอดบวม แต่ยังบุกเข้าไปในเซลล์เยื่อบุเส้นเลือดซึ่งเป็นแนวป้องกันของเส้นเลือด ส่งผลให้แนวคุ้มกันเส้นเลือดและการไหลเวียนเลือดในหลอดเลือดฝอยมีปัญหา
ผลที่ตามมาคือ เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ในร่างกายได้น้อยลง และหยุดไหลเวียนไปในที่สุด ทำให้อวัยวะภายในของผู้ป่วยมีปัญหา ไม่ว่าจะเป็นหัวใจ ไต ลำไส้เล็ก และอวัยวะอื่นๆ
งานวิจัยชิ้นนี้ยังช่วยไขข้อข้องใจว่าเหตุใดผู้ป่วย Covid-19 ที่สูบบุหรี่ หรือมีโรคประจำตัวที่ทำให้เซลล์เยื่อบุเส้นเลือดอ่อนแอ หรือเส้นเลือดไม่แข็งแรง จึงอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหากได้รับเชื้อโคโรนาไวรัส
เครดิตแหล่งข้อมูล : posttoday
แฟรง รูชิตซ์กา ประธานศูนย์หัวใจและแผนกโรคหัวใจของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยซูริกของสวิตเซอร์แลนด์ และเจ้าของงานวิจัยเผยว่า โคโรนาไวรัสไม่ได้โจมตีเฉพาะปอดเท่านั้น แต่ยังโจมตีหลอดเลือดทั่วร่างกายด้วย
งานวิจัยพบว่าไม่เพียงเชื้อไวรัสจะก่อให้เกิดอาการปอดบวม แต่ยังบุกเข้าไปในเซลล์เยื่อบุเส้นเลือดซึ่งเป็นแนวป้องกันของเส้นเลือด ส่งผลให้แนวคุ้มกันเส้นเลือดและการไหลเวียนเลือดในหลอดเลือดฝอยมีปัญหา
ผลที่ตามมาคือ เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ในร่างกายได้น้อยลง และหยุดไหลเวียนไปในที่สุด ทำให้อวัยวะภายในของผู้ป่วยมีปัญหา ไม่ว่าจะเป็นหัวใจ ไต ลำไส้เล็ก และอวัยวะอื่นๆ
งานวิจัยชิ้นนี้ยังช่วยไขข้อข้องใจว่าเหตุใดผู้ป่วย Covid-19 ที่สูบบุหรี่ หรือมีโรคประจำตัวที่ทำให้เซลล์เยื่อบุเส้นเลือดอ่อนแอ หรือเส้นเลือดไม่แข็งแรง จึงอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหากได้รับเชื้อโคโรนาไวรัส
อย่างไรก็ดี แม้ว่าการวิจัยชิ้นนี้จะทำการศึกษาผู้ป่วยเพียง 3 ราย แต่ผลการชันสูตรผู้ป่วย Covid-19 รายอื่นก็พบว่าเยื่อบุเส้นเลือดเต็มไปด้วยเชื้อไวรัส และอวัยวะภายในทั้งหมดก็ทำงานบกพร่อง
รูชิตซ์กายกตัวอย่างผลการชันสูตรผู้ป่วย Covid-19 วัย 71 ปี ซึ่งมีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบและความดันโลหิตสูง ก่อนที่อวัยวะภายในจะล้มเหลวและเสียชีวิต ที่พบเชื้อไวรัสในเยื่อบุเส้นเลือดของไตที่ปลูกถ่าย รวมทั้งในหัวใจ ลำไส้เล็ก ปอด
จากการค้นพบครั้งนี้ รูชิตซ์กาเชื่อว่านอกจากวัคซีนแล้ว การเสริมสร้างความแข็งแรงของหลอดเลือดยังเป็นอีกหนึ่งกุญแจสำคัญในการรักษาผู้ป่วย Covid-19
อย่างไรก็ดี จอห์น นิโคลส์ ศาสตราจารย์ด้านพยาธิวิทยาจากมหาวิทยาลัยฮ่องกง เผยว่าการค้นพบครั้งนี้ยังต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม เพราะแม้การใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนจะพบโครงสร้างที่คล้ายกับโครงสร้างของเชื้อโคโรนาไวรัส แต่ก็ควรใช้เทคนิคทางห้องปฏิบัติการอื่นๆ ร่วมด้วย เพื่อยืนยันว่ามีการติดเชื้อจริงเครดิตแหล่งข้อมูล : posttoday
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น