เปิดผลวิจัยวัคซีน Pfizer- AstraZeneca ก่อนตัดสินใจเลือกฉีด
3 พ.ค.64 ผู้สื่อข่างรายงานว่า พล.อ.ท.อนุตตร จิตตินันทน์ ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว (Anutra Chittinandana) ว่าด้วยเรื่องของวัควซีนป้องกันโควิด-19 โดยระบุว่า
สำหรับผู้ที่คิดจะรอวัคซีนป้องกันโควิด 19 ของบริษัทไฟเซอร์ (Pfizer-BioNTech, BNT162b2) แทนที่จะฉีดของบริษัทแอสตาเซเนกา (Oxford-AstraZeneca, ChAdOx1 nCoV-19) ที่จะเริ่มให้ฉีดกันตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นไป เพราะดูเหมือนวัคซีนของ Pfizer จะมีประสิทธิภาพที่รายงานในการวิจัย phase III มากกว่าของ AstraZeneca แต่อย่าลืมว่าการศึกษา phase III ของวัคซีนทั้งสองตัวทำในประชากรคนละประเทศ รวมทั้งคำจำกัดความของประสิทธิภาพก็แตกต่างกัน ถ้าจะเปรียบเทียบกันคงต้องดูในประชากรกลุ่มเดียวกัน
รายงานล่าสุดทำการเปรียบเทียบผลข้างเคียงและประสิทธิภาพของวัคซีนทั้งสองชนิดแบบ Real world เพิ่งตีพิมพ์ลงในวารสาร Lancet เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2564 เรื่อง "Vaccine side-effects and SARS-CoV-2 infection after vaccination in users of the COVID Symptom Study app in the UK: a prospective observational study"
รายงานล่าสุดทำการเปรียบเทียบผลข้างเคียงและประสิทธิภาพของวัคซีนทั้งสองชนิดแบบ Real world เพิ่งตีพิมพ์ลงในวารสาร Lancet เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2564 เรื่อง "Vaccine side-effects and SARS-CoV-2 infection after vaccination in users of the COVID Symptom Study app in the UK: a prospective observational study"
งานวิจัยนี้ทำการศึกษาในสหราชอาณาจักร ระหว่าง 8 ธ.ค.63 ถึง 10 มี.ค. 64 มีผู้ได้รับวัคซีน 627,383 คน ได้รับวัคซีน 655,590 เข็ม เป็นผู้ได้รับวัคซีน Pfizer เข็มเดียว 282,103 คน และได้รับวัคซีน Pfizer สองเข็ม 28,207 คน และได้รับวัคซีน AstraZeneca เข็มเดียว 345,280 คน (ช่วงนั้น UK ฉีดวัคซีน AstraZeneca ได้เข็มเดียว เพราะต้องเว้นระยะห่างระหว่างเข็ม 12 สัปดาห์ เพื่อให้ประชากรได้ฉีดกันเร็วที่สุด และเพิ่มประสิทธิภาพการกระตุ้นภูมิคุ้มกันด้วย)
ผลข้างเคียงทางระบบร่างกาย (systemic side-effect) ในกลุ่มที่ได้รับวัคซีน Pfizer เข็มเดียว พบได้ 13.5% (กราฟ A), ในกลุ่มที่ได้ Pfizer สองเข็มพบได้ 22.0% (กราฟ B ) และ ในกลุ่มที่ได้รับ AstraZeneca พบได้ 33.7% (กราฟ C) ดูเหมือนวัคซีนของ Pfizer จะพบผลข้างเคียงทางระบบร่างกายน้อยกว่า AstraZeneca
ผลข้างเคียงเฉพาะที่ (local side-effect) ในกลุ่มที่ได้รับวัคซีน Pfizer เข็มเดียวพบได้ 71.9% (กราฟ D), ในกลุ่ม Pfizer สองเข็มพบได้ 68.5% (กราฟ E) และในกลุ่มที่ได้รับวัคซีน AstraZeneca พบได้ 58.7% (กราฟ F) อันนี้ดูเหมือนว่าวัคซีนของ AstaZeneca จะพบผลข้างเคียงเฉพาะที่น้อยกว่าของ Pfizer
อัตราการติดเชื้อหลังจากได้รับวัคซีน Pfizer เข็มเดียวลดลง 58% หลังจาก 12 ถึง 20 วัน ลดลง 69% หลังจาก 21 ถึง 44 วัน และลดลง 72% หลังจาก 45 ถึง 59 วันเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน (รูปที่ 2 กราฟบน)
สำหรับผู้ได้รับวัคซีน AstraZeneca 1 เข็ม มีอัตราการติดเชื้อลดลง 39% หลังจาก 12 ถึง 20 วันและลดลง 60% หลังจาก 21 ถึง 44 วันเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน (รูปที่ 2 กราฟล่าง)
จะเห็นว่าการศึกษานี้ผู้ที่ได้รับวัคซีน AstraZeneca ได้รับวัคซีนเพียงเข็มเดียว จึงยังไม่ข้อมูลของประสิทธิภาพในการลดอัตราการติดเชื้อหลังฉีดเข็มที่ 2 ซึ่งน่าจะมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นมากขึ้น เหมือนอย่างที่วัคซีน Pfizer แสดง (อัตราการติดเชื้อที่ 45-59 วัน)
ข้อมูลนี้น่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจที่จะฉีดวัคซีนที่เราจะมีให้ใช้ก่อนคือ AstraZeneca หรือจะรอวัคซีน Pfizer ที่ไม่รู้จะมาเมื่อไหร่นะครับ
โพสต์นี้วิชาการล้วน ๆ ขออย่าดราม่านะครับ
โควิด-19 ภูมิต้านทานหลังฉีดวัคซีน AstraZeneca 1 เข็ม
ทางศูนย์ได้ศึกษาภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีน AstraZeneca ในคนไทย หลังเข็มแรกเป็นระยะเวลา 1 เดือน จำนวน 61 คน เป็นการรายงานเบื้องต้น
ระดับภูมิต้านทานที่ตรวจวัดได้ มีค่าตัวกลางเรขาคณิตเท่ากับ 40.61 u/ml เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อ มีค่าเท่ากับ 60.86 u/ml
พบว่าระดับภูมิต้านทานที่พบเพศหญิงจะให้ระดับภูมิต้านทานที่สูงกว่าเพศชาย อายุที่น้อยกว่า 60 ปี จะมีระดับภูมิต้านทานที่สูงกว่าผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ขณะนี้กำลังรอวิเคราะห์ข้อมูลที่มีจำนวนมากขึ้นกว่านี้
จากข้อมูลดังกล่าวพอสรุปได้ว่า แม้จะฉีดวัคซีน AstraZeneca เพียงเข็มเดียว ระดับภูมิต้านทานที่ตรวจวัดได้ก็เป็นที่น่าพอใจ
มีอยู่ 1 ราย ที่ฉีดวัคซีน Sinovac เข็มแรกแล้วเกิดอาการแพ้ เลยฉีดเข็มที่ 2 ใน 3 อาทิตย์ต่อมา ด้วยวัคซีน AstraZeneca และตรวจเลือดเมื่อ 1 เดือนหลังฉีดวัคซีน AZ พบระดับภูมิต้านทานสูงมากสูงถึง 241 u/ml อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการศึกษาการฉีดวัคซีนเปลี่ยนชนิดกัน
การปูพรมฉีดเข็มเดียวไปก่อนให้ได้ประชากรมากที่สุด ด้วยวัคซีน AstraZeneca จะได้ประโยชน์สูงสุดแล้วตามด้วยกระตุ้นอีก 10 ถึง 12 สัปดาห์ต่อมา หรือนานกว่านั้น
หมายความว่าในช่วง 3 เดือนแรก น่าจะปูพรมการฉีดวัคซีนไปเลย ถ้าฉีดได้เดือนละ 10 ล้านคน ก็สามารถปูพรมไปได้ถึง 30 ล้านคนทีเดียว แล้วหลังจากนั้นก็ตามกระตุ้นรวมทั้งฉีดรายใหม่เพิ่มขึ้นด้วย ก็จะได้เป้าหมายอย่างรวดเร็ว และถ้ามีวัคซีนชนิดอื่นมาเสริมด้วยแล้ว จะทำให้การให้วัคซีนกับประชาชนหมู่มากประสบผลสำเร็จเร็วยิ่งขึ้น
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น