หลุด? พบเชื้อคล้ายโควิด19 หรือจริงๆเเล้วอาจไม่ได้มาจากเเล็บ


หลุด? พบเชื้อคล้ายโควิด19 หรือจริงๆเเล้วอาจไม่ได้มาจากเเล็บ

ต้นตอไวรัสโคโรนา SARS-CoV-2 ซึ่งก่อโรคโควิด-19 ยังคงเป็นปริศนาที่ยังไม่ถูกไขให้กระจ่าง แต่นักวิจัยทั่วโลกยังคงพยายามหาคำตอบ เพื่อศึกษาการวิวัฒนาการและกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัส ซึ่งจะนำไปสู่การป้องกันโรคอุบัติใหม่ที่ร้ายแรงในอนาคต

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์ข้อความว่า ในปัจจุบัน เชื้อไวรัสโคโรนาที่ใกล้เคียงกับ SARS-CoV-2 ที่สุด คือไวรัส "RaTG13" ในค้างคาวมงกุฎเทาแดง (R. affinis) จากถ้ำในยูนนาน ซึ่งพบเมื่อปี 2013




หลุด? พบเชื้อคล้ายโควิด19 หรือจริงๆเเล้วอาจไม่ได้มาจากเเล็บ

"โดยไวรัสสายพันธุ์นี้แม้จะมีความใกล้เคียงกับ SARS-CoV-2 มาก แต่ตำแหน่งของโปรตีนหนามที่ใช้จับกับโปรตีนตัวรับยังมีความแตกต่างระหว่างกันมากพอสมควรส่งผลให้ความสามารถในการติดเซลล์มนุษย์ของ RaTG13 จะดีไม่เท่ากับ SARS-CoV-2" ดร.อนันต์ระบุ

นั่นทำให้เกิด 2 ทฤษฎีตามมา ซึ่งก็ล้วนเป็นทฤษฎีที่เราคุ้นหูกันดีอยู่แล้ว ทฤษฎีแรกคือ ในช่วงปี 2013-2019 ที่พบมนุษย์โควิด-19 ไวรัสในค้างคาวอาจวิวัฒนาการหรือกลายพันธุ์ตามธรรมชาติจนแพร่สู่สัตว์อื่นและสู่มนุษย์ได้และมีความรุนแรง

อีกทฤษฎีหนึ่งคือ การเปลี่ยนแปลงของไวรัสอาจไม่ได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่อาจมีใครไปนำไวรัส RaTG13 มาเปลี่ยนโปรตีนหนามให้ติดเชื้อในมนุษย์ง่ายขึ้น

แต่ล่าสุดเมื่อวันที่ 17 ก.ย. ที่ผ่านมา ได้มีการเผยแพร่งานวิจัยของทีมวิจัยจากสถาบันปาสเตอร์และมหาวิทยาลัยลาว ซึ่งได้ทำการศึกษาตัวอย่างเชื้อไวรัสโคโรนาในค้างคาวที่มีถิ่นที่อยู่ทางตอนเหนือของ สปป.ลาว ใกล้กับประเทศไทย ในช่วงปี 2020 โดยจับค้างคาวมาทั้งหมด 645 ตัว จาก 46 สายพันธุ์ เก็บตัวอย่างเลือด 275 ตัวอย่าง น้ำลาย 608 ตัวอย่าง อุจจาระ 539 ตัวอย่าง และปัสสาวะ 157 ตัวอย่า'

จากการนำตัวอย่างมาทดสอบ พบว่า มีไวรัสโคโรนาในค้างคาวอยู่ 3 สายพันธุ์ที่มีความใกล้เคียงกับ SARS-CoV-2 ในมนุษย์รองลงมาจาก RaTG13 ได้แก่ BANAL-52 จากค้างคาวมงกุฎมลายู (R. malayanus), BANAL-103 จากค้างคาวมงกุฎเล็ก (R. pusillus) และ BANAL-236 จากค้างคาวมงกุฎหูโตมาร์แชล (R. marshalli)

"ถ้าดูตลอดทั้งสายพันธุกรรมอาจจะใกล้เคียงกับ SARS-CoV-2 น้อยกว่า RaTG13 แต่ถ้าโฟกัสไปที่ตำแหน่งโปรตีนหนามที่ไวรัสใช้จับกับโปรตีนตัวรับของมนุษย์ พบว่า BANAL-52/103/236 เหมือนกับ SARS-CoV-2 มากกว่า RaTG13 มาก มีเพียงแค่ 1-2 ตำแหน่งที่ต่างจาก SARS-CoV-2 เท่านั้น" ดร.อนันต์ระบุ

ขณะที่ทีมวิจัยในลาวได้เขียนสรุปในงานวิจัยว่า "ผลลัพธ์ของงานวิจัยนี้ สนับสนุนสมมติฐานที่ว่า เดิมที SARS-CoV-2 อาจเกิดจากการรวมตัวกันของลำดับทางพันธุกรรมที่มีอยู่ก่อนแล้วในค้างคาวตระกูลค้างคาวมงกุฎที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่เป็นถ้ำหินปูนของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และจีนตอนใต้"

พวกเขายังเสริมว่า "ผลลัพธ์ของเราชี้ให้เห็นถึงการมีอยู่แต่เดิมของไวรัสโคโรนาในค้างคาวที่ดูเหมือนว่าจะมีศักยภาพในการทำให้มนุษย์ติดเชื้อได้เช่นเดียวกับ SARS-CoV-2 คนที่ทำงานในถ้ำรวมทั้งนักท่องเที่ยวมีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อไวรัสโคโรนาเหล่านี้ จำเป็นต้องมีการตรวจสอบเพิ่มเติมเพื่อประเมินว่า ประชากรกลุ่มดังกล่าวมีใครติดไวรัสโคโรนาตัวใดตัวหนึ่งหรือไม่"

นั่นเท่ากับว่า เราต้องมีการตรวจสอบกลุ่มคนที่ใกล้ชิดกับถ้ำเพื่อที่จะรับมือได้ทันการณ์ หากมีการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์อื่น ๆ แล้วเกิดเป็นโรคที่คล้ายกับโควิด-19 ขึ้นมาจะได้เตรียมการรับมือได้อย่างทันท่วงที

"การค้นพบไวรัสในค้างคาวเหล่านี้บอกได้ว่า ไวรัสในธรรมชาติมีการเปลี่ยนแปลงเหมือนที่คิดไว้จริง ๆ SARS-CoV-2 ที่คิดว่ามาจากมนุษย์สร้างขึ้นอาจจะไม่น่าจะใช่ และไวรัสในค้างคาวในแถบประเทศเพื่อนบ้าน หรือ ในประเทศไทยเอง ก็กำลังบ่มเพาะการกลายพันธุ์ไปเรื่อย ๆ พร้อมกระโดดเข้าสู่ประชากรมนุษย์ได้ทุกเมื่อ ... เราจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมกับการอุบัติใหม่ของไวรัสจากสัตว์สู่คนไว้ตลอด" ดร.อนันต์ระบุ

 



เครดิตแหล่งข้อมูล : pptvhd36





เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์