นั่งส้วม เสี่ยงติดโรค ฝีดาษลิง จริงหรือไม่ ล่าสุดมีคำตอบ!


นั่งส้วม เสี่ยงติดโรค ฝีดาษลิง จริงหรือไม่ ล่าสุดมีคำตอบ!

เมื่อวานนี้ (01 ส.ค. 65) ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ โพสต์ผ่านเพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics ตั้งคำถามว่า เราสามารถติดเชื้อไวรัส ฝีดาษลิง จากที่นั่งส้วมในห้องน้ำได้หรือไม่

ซึ่งคำถามนี้กระตุ้นให้มีการทบทวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวิธีการแพร่เชื้อของไวรัสฝีดาษลิงระหว่างคนสู่คน

ทาง ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ ได้อธิบายว่า ผิวหนังปกติของคนเราจะเป็นปราการด่านแรกและด่านสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อจากบรรดาจุลชีพ รวมทั้ง ไวรัสฝีดาษลิง จากสิ่งแวดล้อมภายนอกได้

สังเกตจากการ ปลูกฝี ในอดีตที่ใช้เชื้อ ไวรัสฝีดาษม้า " vaccinia virus" (ซึ่งเดิมเราเข้าใจกันว่าเป็นเชื้อไวรัสฝีดาษวัว) มาปลูกฝี ต้องใช้วัตถุมีคม เช่น มีดปลายแหลม หรือ เข็ม มากรีด หรือขีดข่วนผิวหนังบริเวณต้นแขนให้เกิดแผล (เลือดไหล) ก่อนหยดหนองฝีจากสัตว์ลงไปเพื่อช่วยให้ไวรัสเชื้อเป็นในหนองฝีเข้าสู่ผิวหนังและเพิ่มจำนวนกระตุ้นร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาได้

นอกจากนี้เพจยังได้เขียนเล่า ประสบการณ์ตรงในอดีตที่เคยถูกปลูกฝีร่วมกับเพื่อนในชั้น เพื่อนหลายคนปลูกฝีไม่ขึ้น (ไม่เกิดแผลเป็น) ต้องมาปลูกฝีซ้ำกันอีกรอบ แสดงให้เห็นว่าการติดเชื้อไวรัสฝีดาษผ่านทางผิวหนังไม่ได้เกิดขึ้นได้โดยง่าย! เว้นแต่ผิวหนังบริเวณนั้นมีรอยถลอก หรือเป็นแผลสด ขนาดผิวหนังมีรอยถลอก หรือแผลไม่ลึกมากพอเชื้อไวรัสก็ไม่สามารถมาติดเราได้

จึงอาจพอตอบคำถามได้ว่าเป็นการ "ยากมาก" ที่เราจะติดเชื้อไวรัสฝีดาษลิงจากที่นั่งส้วม เว้นแต่เรามีแผลสดที่ก้น!

โรคฝีดาษลิง เป็นโรคติดต่อเข้าสู่ร่างกายผ่านผิวหนังที่มีรอยถลอก หรือบาดแผลสด รวมทั้งสามารถเข้าสู่ร่างกายทางเยื่อบุต่างๆ เช่นเยื่อบุในปาก เยื่อบุโพรงจมูก เยื่อบุดวงตา เยื่อบุช่องคลอด เยื่อบุทวารหนัก ฯลฯ โดยผ่านทางนิ้วมือ อวัยวะเพศ หรือวัตถุที่เป็นพาหะนำโรค(fomite) เช่น ผ้าปูที่นอน ผ้าเช็ดตัว เซ็กซ์ทอย (ที่เข้าผ่านช่องคลอด/รูทวาร) ใช้ร่วมกันโดยยังมิได้ชำระฆ่าเชื้อ

ในปี ค.ศ. 1798 หรือประมาณ "224 ปี" ที่ผ่านมา นพ. เอดเวิร์ด เจนเนอร์ ชาวอังกฤษได้เผยแพร่วิธีปลูกฝี โดยผู้ที่เข้ารับการปลูกฝี จะถูกกรีดบริเวณต้นแขนให้เกิดแผลสดก่อนการหยดหนองฝีจากสัตว์ลงไป (vaccination) พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อโรคฝีดาษ (smallpox) ได้ตลอดชีวิต



ในปี ค.ศ. 1720 หรือประมาณ "302 ปี"ที่ผ่านมาในประเทศจีนและอินเดีย ได้มีการใช้หนองฝีของคนที่เป็นฝีดาษทำให้แห้ง บดเป็นผง และเป่าผ่านเข้าทางรูจมูก (mucosal vaccination) ของผู้คนที่ต้องการจะป้องกันตนเองจากการติดเชื้อฝีดาษในสมัยนั้น เรียกวิธีนี้ว่า "Variolation" ไวรัสจะเข้าไปในเยื่อบุทางเดินหายใจเพิ่มจำนวนในวงจำกัดและเกิดการกระตุ้นภูมิคุ้มกันป้องกันต่อการติดเชื้อไวรัสฝีดาษ

ทั้ง 2 กรณีนี้กล่าวพิสูจน์ว่ามนุษย์เราสามารถติดเชื้อฝีดาษผ่าน รอยถลอก บาดแผลสด และเยื่อบุ (mucosal tissue) ในร่างกาย

จากการหาคำตอบก็สรุปได้ว่า การติดเชื้อฝีดาษลิงผ่านการนั่งส้วมนั้น เกิดขึ้นได้ยาก แต่ก็อาจเกิดขึ้นได้ หากบริเวณที่สัมผัสส้วมเกิดมีแผลสดนั่่นเอง



เครดิตแหล่งข้อมูล : ejan2016


เครดิต :
เครดิตแหล่งข้อมูล : เพจอีจัน

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
คุณ : กะลา
สถานะ : บุคคลทั่วไป
IP : 58.10.221.196

58.10.221.196,,cm-58-10-221-196.revip7.asianet.co.th ความคิดเห็นที่ 1 [อ้างอิง]
เราสัญญา คืนความสุข พบ..ความเสียว


[ วันพฤหัสบดี ที่ 4 สิงหาคม 2565 เวลา 12:11 น. ]
ตามข่าวteenee.com จาก LineToday เข้าไปคลิ๊กกดติดตามได้เลย
กระทู้เด็ดน่าแชร์