พลิกวงการอสรพิษวิทยา! ไม่ใช่แค่ในคน “งู” ก็มี “คลิตอริส”
นักวิทยาศาสตร์ค้นพบแล้วว่า ในงูตัวเมียเอง ก็มีส่วนของอวัยวะเพศที่เรียกว่า "คลิตอริส (Clitoris)" เช่นเดียวกันกับมนุษย์ นับเป็นการค้นพบที่พลิกโลกการศึกษาระบบและพฤติกรรมการสืบพันธุ์ของงู
คลิตอริสหรือที่มีชื่อเป็นภาษาไทยว่า "ปุ่มกระสัน" เป็นจุดที่มีความไวต่อสัมผัสของอวัยวะเพศหญิง เป็นจุดที่ทำให้ผู้หญิงไปถึงจุดสุดยอดได้ แต่ที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์เชื่อกันมาโดยตลอดว่า งูตัวเมียไม่มีอวัยวะเพศส่วนนี้
นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า การวิจัยก่อนหน้านี้เข้าใจผิดว่า อวัยวะดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของต่อมสร้างกลิ่น หรือองคชาตที่ยังไม่พัฒนา แต่ในการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ Proceedings of the Royal Society B ซึ่งนักวิจัยได้ทำการผ่างู 10 ตัวจาก 9 สายพันธุ์ เช่น งูหลามคาร์เพ็ต พัฟแอดเดอร์ มอคคาซินเม็กซิกัน ฯลฯ ยืนยันแล้วว่า งูมีคลิตอริสจริง ๆ
โดยงูตัวเมียมีคลิตอริสที่แยกจากกัน 2 อัน เรียกว่าเป็น เฮมิคลิทอริส (Hemiclitoris) ซึ่งหากแปลตรงตัวก็จะเรียกว่าคลิตอริสครึ่งซีก แต่จากลักษณะหากจะเรียกว่าเป็น คลิตอริสคู่ ก็คงพอได้ ระหว่างคลิตอริสทั้งสองอันจะถูกคั่นด้วยเนื้อเยื่อ และซ่อนอยู่ใต้ผิวหนังใต้หาง
คลิตอริสหรือที่มีชื่อเป็นภาษาไทยว่า "ปุ่มกระสัน" เป็นจุดที่มีความไวต่อสัมผัสของอวัยวะเพศหญิง เป็นจุดที่ทำให้ผู้หญิงไปถึงจุดสุดยอดได้ แต่ที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์เชื่อกันมาโดยตลอดว่า งูตัวเมียไม่มีอวัยวะเพศส่วนนี้
นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า การวิจัยก่อนหน้านี้เข้าใจผิดว่า อวัยวะดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของต่อมสร้างกลิ่น หรือองคชาตที่ยังไม่พัฒนา แต่ในการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ Proceedings of the Royal Society B ซึ่งนักวิจัยได้ทำการผ่างู 10 ตัวจาก 9 สายพันธุ์ เช่น งูหลามคาร์เพ็ต พัฟแอดเดอร์ มอคคาซินเม็กซิกัน ฯลฯ ยืนยันแล้วว่า งูมีคลิตอริสจริง ๆ
โดยงูตัวเมียมีคลิตอริสที่แยกจากกัน 2 อัน เรียกว่าเป็น เฮมิคลิทอริส (Hemiclitoris) ซึ่งหากแปลตรงตัวก็จะเรียกว่าคลิตอริสครึ่งซีก แต่จากลักษณะหากจะเรียกว่าเป็น คลิตอริสคู่ ก็คงพอได้ ระหว่างคลิตอริสทั้งสองอันจะถูกคั่นด้วยเนื้อเยื่อ และซ่อนอยู่ใต้ผิวหนังใต้หาง
นักวิจัยกล่าวว่า "อวัยวะเพศหญิงถูกมองข้ามอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเปรียบเทียบกับเพศชาย ทำให้ความเข้าใจของเราเกี่ยวกับการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของสัตว์มีกระดูกสันหลังมีจำกัด" และเธอยังบอกด้วยว่า นี่ทำให้เกิดทฤษฎีที่ผิดพลาดว่า งูบางตัวมีอวัยวะ 2 เพศ หรือ อินเตอร์เซ็กส์ (Intersex)
เป็นที่ทราบกันดีว่า งูและกิ้งก่าตัวผู้ มีอวัยวะเพศที่เรียกว่า องคชาตคู่ (Hemipenes) ซึ่งเป็นองคชาติคู่หนึ่งซึ่งโผล่ออกมานอกร่างกายระหว่างการสืบพันธุ์ และมักมีลักษณะคล้ายเงี่ยงหรือตะขอ
เมแกน โฟลเวลล์ หัวหน้าทีมวิจัย นักศึกษาระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยแอดิเลด ออสเตรเลีย กล่าวว่า "แนวคิดที่ว่าเรื่องเกี่ยวกับอวัยวะเพศหญิงเป็นเรื่องต้องห้าม เป็นปัจจัยที่ทำให้คลิตอริสของงูไม่ถูกค้นพบหรืออธิบายตั้งแต่ก่อนหน้านี้"
เธอบอกว่า เธอรู้ว่าสัตว์หลายชนิดมีคลิตอริส และมันไม่สมเหตุสมผลเลยที่มันจะไม่มีอยู่ในงู
เธอเสริมว่า "การพยายามในการค้นหาคลิตอริสงูไม่ใช่เรื่องง่าย บางอันก็เล็กมาก" เธอเล่าว่า เธอพบคลิตอริสครั้งแรกในงูเดธแอดเดอร์ (Death Adder) ซึ่งคลิตอริสที่พบมีรูปร่างเป็นสามเหลี่ยม "คล้ายรูปหัวใจ" ตำแหน่งอยู่ใกล้กับต่อมกลิ่นที่ใช้ในการดึงดูดคู่ผสมพันธุ์
ขณะนี้ทีมวิจัยตั้งสมมติฐานไว้ว่า เฮมิคลิตอริสของงูน่าจะทำหน้าที่กระตุ้นให้เกิดการผ่อนคลายในช่องคลอดของงู และอาจช่วยในการหล่อลื่น ซึ่งจะช่วยให้งูตัวเมียมีเพศสัมพันธ์ได้ แบบไม่เจ็บตัวจากส่วนที่เป็นเหมือนเงี่ยงหรือตะขอของอวัยวะเพศของงูตัวผู้
"หรือมันอาจส่งสัญญาณไปยังรังไข่เพื่อตกไข่และไปยังท่อนำไข่เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการจัดเก็บสเปิร์มได้ด้วย" โฟลเวลล์กล่าวเสริม
ด้าน ดร.เจนนา โครว์-ริดเดลล์ ผู้ร่วมวิจัย นักวิจัยด้านประสาทวิทยาจากมหาวิทยาลัยลาโทรบ ออสเตรเลีย กล่าวว่า "คลิตอริสในงูบางตัวดูเต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ และค่อนข้างใหญ่ ขณะที่งูบางตัวก็มีคลิตอริสขนาดเล็กมาก"
เธอบอกว่า ขนาดของคลิตอริสในงูตัวเมียที่พบ มีตั้งแต่น้อยกว่า 1 มิลลิเมตร ไปจนถึง 7 มิลลิเมตร
เป็นที่ทราบกันดีว่า งูและกิ้งก่าตัวผู้ มีอวัยวะเพศที่เรียกว่า องคชาตคู่ (Hemipenes) ซึ่งเป็นองคชาติคู่หนึ่งซึ่งโผล่ออกมานอกร่างกายระหว่างการสืบพันธุ์ และมักมีลักษณะคล้ายเงี่ยงหรือตะขอ
เมแกน โฟลเวลล์ หัวหน้าทีมวิจัย นักศึกษาระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยแอดิเลด ออสเตรเลีย กล่าวว่า "แนวคิดที่ว่าเรื่องเกี่ยวกับอวัยวะเพศหญิงเป็นเรื่องต้องห้าม เป็นปัจจัยที่ทำให้คลิตอริสของงูไม่ถูกค้นพบหรืออธิบายตั้งแต่ก่อนหน้านี้"
เธอบอกว่า เธอรู้ว่าสัตว์หลายชนิดมีคลิตอริส และมันไม่สมเหตุสมผลเลยที่มันจะไม่มีอยู่ในงู
เธอเสริมว่า "การพยายามในการค้นหาคลิตอริสงูไม่ใช่เรื่องง่าย บางอันก็เล็กมาก" เธอเล่าว่า เธอพบคลิตอริสครั้งแรกในงูเดธแอดเดอร์ (Death Adder) ซึ่งคลิตอริสที่พบมีรูปร่างเป็นสามเหลี่ยม "คล้ายรูปหัวใจ" ตำแหน่งอยู่ใกล้กับต่อมกลิ่นที่ใช้ในการดึงดูดคู่ผสมพันธุ์
"ฉันโชคดีที่เดธแอดเดอร์มีเฮมิคลตอริสปรากฏออกมาเด่นชัดพอสมควร" โฟลเวลล์กล่าว
การศึกษาชี้ให้เห็นว่า งูตัวเมียมีอวัยวะเพศที่มีหน้าที่สำคัญในการผสมพันธุ์ แม้ว่าจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับพฤติกรรมของงูขณะนี้ทีมวิจัยตั้งสมมติฐานไว้ว่า เฮมิคลิตอริสของงูน่าจะทำหน้าที่กระตุ้นให้เกิดการผ่อนคลายในช่องคลอดของงู และอาจช่วยในการหล่อลื่น ซึ่งจะช่วยให้งูตัวเมียมีเพศสัมพันธ์ได้ แบบไม่เจ็บตัวจากส่วนที่เป็นเหมือนเงี่ยงหรือตะขอของอวัยวะเพศของงูตัวผู้
"หรือมันอาจส่งสัญญาณไปยังรังไข่เพื่อตกไข่และไปยังท่อนำไข่เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการจัดเก็บสเปิร์มได้ด้วย" โฟลเวลล์กล่าวเสริม
ด้าน ดร.เจนนา โครว์-ริดเดลล์ ผู้ร่วมวิจัย นักวิจัยด้านประสาทวิทยาจากมหาวิทยาลัยลาโทรบ ออสเตรเลีย กล่าวว่า "คลิตอริสในงูบางตัวดูเต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ และค่อนข้างใหญ่ ขณะที่งูบางตัวก็มีคลิตอริสขนาดเล็กมาก"
เธอบอกว่า ขนาดของคลิตอริสในงูตัวเมียที่พบ มีตั้งแต่น้อยกว่า 1 มิลลิเมตร ไปจนถึง 7 มิลลิเมตร
การศึกษาพบว่า เฮมิคลิตอริสประกอบด้วยเนื้อเยื่อแข็งตัวที่อาจพองตัวหากมีเลือดไปหล่อเลี้ยง เช่นเดียวกับมัดประสาทที่คลิตอริสของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
การค้นพบนี้py'ทำให้เกิดทฤษฎีใหม่เกี่ยวกับงูเพศเมียว่า มันอาจมีกลไกการกระตุ้นทางเพศ และอาจมีสิ่งที่เรียกว่า "ความสุขของผู้หญิง"โฟลเวลล์กล่าวว่า จนถึงขณะนี้ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าการมีเพศสัมพันธ์ของงูนั้นส่วนใหญ่เป็นการบีบบังคับจาดการที่งูตัวผู้บังคับให้ผสมพันธุ์โดยงูตัวเมียไม่ได้มีความสุข นี่เป็นเพราะโดยทั่วไปแล้วงูตัวผู้ค่อนข้างก้าวร้าวระหว่างการผสมพันธุ์ในขณะที่ตัวเมียจะสงบมากกว่า
"แต่ตอนนี้ด้วยการค้นพบคลิตอริส เราสามารถเริ่มศึกษาพฤติกรรมและกลไกการกระตุ้นทางเพศของงูได้มากขึ้น" เธอกล่าว
นอกจากนี้ นี่ยังทำให้ท่วงท่าในการสืบพันธุ์ของงูสมเหตุสมผลมากขึ้น เพราะงูตัวผู้มักจะพันรอบหางของคู่ของมัน ซึ่งเป็นตำแหน่งของคลิตอริส "มีพฤติกรรมหลายอย่างที่ส่งสัญญาณว่าพวกมันอาจมีท่วงท่าแบบนั้นเพื่อกระตุ้นตัวเมีย"เครดิตแหล่งข้อมูล : PPTVHD36
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น