ชวนรู้จัก สีดาวตก แตกต่างกันอย่างไร?


 ชวนรู้จัก สีดาวตก แตกต่างกันอย่างไร?

กรณีมีผู้คนพบเห็น และแชร์คลิปภาพลูกไฟสีเขียวปรากฏเหนือท้องฟ้าในหลายพื้นที่ อาทิ ปทุมธานี ชลบุรี นนทบุรี สุพรรณบุรี สระบุรี นครปฐม

ซึ่งเวลาต่อมา สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมว่า ลูกไฟสีเขียวปรากฏเหนือท้องฟ้าคืน 4 มีนาคม 2567 เบื้องต้นคาดว่าเป็นดาวตกชนิดลูกไฟ

ทั้งนี้เพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ยังได้ให้ความรู้เกี่ยวกับดาวตก และสีความแตกต่างกัน #ดาวตก เกิดจากเศษหินและฝุ่นของดาวหาง หรือดาวเคราะห์น้อย พุ่งเข้ามาชนกับชั้นบรรยากาศโลกด้วยความเร็วสูงมาก เกิดการเสียดสีและเผาไหม้ ทำให้อะตอมของดาวตกเปล่งแสงออกมาในช่วงคลื่นต่าง ๆ เราจึงมองเห็นสีของดาวตกปรากฏในลักษณะที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสองปัจจัยได้แก่ องค์ประกอบทางเคมี และโมเลกุลของอากาศโดยรอบ ซึ่งชนกับตัวดาวตกอย่างรุนแรงจนเกิดความร้อนสูง

สำหรับสีของดาวตกนั้น มาจากแสงที่เปล่งออกมาจากอะตอมโลหะของดาวตก ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามองค์ประกอบทางเคมี เช่น

- อะตอมแคลเซียม ( Ca ) ให้แสงสีออกโทนม่วง
- อะตอมแมกนีเซียม ( Mg )
- นิกเกิล ( Ni ) ให้แสงสีฟ้าเขียว
- อะตอมโซเดียม ( Na ) ให้แสงสีส้มเหลือง

ในขณะที่โมเลกุลในชั้นบรรยากาศโลก จะมีอะตอมของออกซิเจน ( O ) และไนโตรเจน ( N ) เป็นองค์ประกอบ ซึ่งจะให้แสงสีแดง

ดังนั้นสีของดาวตกจึงขึ้นอยู่กับการเปล่งแสงขององค์ประกอบแต่ละชนิด และการเปล่งแสงของอากาศโดยรอบตัวดาวตกที่ร้อนจัด ซึ่งมักจะให้แสงสีแดงและสีเขียวเป็นหลัก ขึ้นอยู่กับความสูงจากพื้นโลก




 ชวนรู้จัก สีดาวตก แตกต่างกันอย่างไร?

เครดิต :
เครดิต : ที่นี่ดอทคอม ทันทุกเรื่องฮิต


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์