เรื่องเล่าการเมืองในฮาเล็ม ราชวงค์โมกุล

    ฮาเร็ม  หมายถึง "สถานที่ต้องห้าม" และเกี่ยวข้องกับรากศัพท์ภาษาอาหรับว่า  حريمฮาริม แปลว่าสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพ, ที่อยู่อาศัยของสมาชิกหญิงของครอบครัว" และحرام Haram ฮาราม "ต้องห้าม; ศักดิ์สิทธิ์" หมายถึงสถานที่ที่เก็บรักษาบรรดาหญิงชั้นสูงไม่ให้ผู้ชายที่มิใช่เครอญาติสายเลือดเข้ามา เป็นสถานที่ที่ประกอบด้วยภรรยา ญาติหญิง นางสนมและเด็กทารกชาย

     ฮาเร็มไม่ได้เป็นเพียงแค่สถานที่ที่ผู้หญิงอาศัยอยู่ ทารกแรกเกิดและเด็กๆลูกๆของพระเจ้าแผ่นดินหรือผู้ชายชั้นสูงก็เติบโตขึ้นมาในนั้น ภายในเขตของฮาเร็มมีทั้งตลาดตลาดซักรีด, ห้องครัว, สนามเด็กเล่น, โรงเรียนและห้องอาบน้ำ ฮาเร็มมีลำดับชั้นของเจ้าหน้าที่หัวหน้าเป็นภรรยาและญาติหญิงของจักรพรรดิและด้านล่างของพวกเขาเป็นนางสนม. ขั้นแม่ขั้นป้าขั้นย่าขั้นน้องสาว ลูกสาวและญาติของหญิงคนอื่น ๆ อาศัยอยู่ในฮาเร็ม นอกจากนั้นยังมีผู้หญิงคนรับใช้สาว พ่อครัวอย่างเป็นทางการและยามเฝ้า

ฮาเร็มของจักรวรรดิโมกุล ประกอบไว้ด้วย3ชั้น. ชั้นในโดยทหารนักรบหญิงชาวตาต้าร์ รัสเซีย และอุซเบก ที่ได้รับการฝึกฝน ด้วยหอกและคันธนู ถัดไปคือชั้นขันทีที่มาทำหน้าที่คือรักษาระเบียบวินัยในฮาเร็ม; ขัน​​ทีบางส่วนได้รับคัดเลือกเป็นเด็กในประเทศหรือที่ได้รับเป็นของขวัญจากกษัตริย์แอฟริกาเหนือ เช่น โมร็อกโค อียิป ตูนีเซีย ลิเบีย, หรืออาณาจักรออตโตมัน ตุรกี......เรื่องราวในฮาเล็มมักเต็มไปด้วยสีสันของนิยายน้ำเน่า การแก่งแย้งชิงดีที่คละปนไปด้วยเรื่องราวของการเมือง ขันทีที่ประสบความสำเร็จคือตัวการอันทรงคุณค่าให้กับเจ้านาย และเป็นผู้เชี่ยวชาญในการรวบรวมข่าวสาร์น หูตาว่องไวในการสังเกตสังกาผู้คนในราชสำนัก และเป็นกุนซือที่ดีให้แก่บรรดานางในทีขันทีสนับสนุนก็มักมีโอกาสได้เข้าใกล้จักรพรรดิมากยิ่งขึ้นเหนือสิ่งอื่นใดเขาจะต้องมีไหวพริบด้วยคำแนะนำทางการเมืองของเขา ถ้าเขามีคุณสมบัติทั้งหมดเหล่านี้เขาอาจคิดอำนาจทางการเมืองที่ดีในรัฐบาล 

ดังนั้นในช่วงเวลาที่ดีที่ขันทีจะสร้างมิตรภาพขึ้นระหว่างผู้ปกครอง และขันทีของ Moghal มักจะเป็นเป็นเพียงคนเดียวที่กษัตริย์สามารถไว้วางใจได้อย่างแท้จริง ในอังกรามีสุสานสูงส่งไม่กี่ที่สร้างขึ้นสำหรับขันทีเหล่านี้ "น้อยคนนักทีจะได้รับความโปรดปรานจากพระราช"




เรื่องเล่าการเมืองในฮาเล็ม ราชวงค์โมกุล

ปราการด่านสุดท้ายด้านนอกสุดที่กันผู้บุกรุกเข้าฮาเล็มการป้องกันประจำการนอกกำแพงเป็นทหารชายที่แข็งแรงทนทานพร้อมกับปืนไฟและสั่งให้มีการยิงผู้บุกรุกที่น่าสงสัย ได้ในทันทีและตามบันทึกนั้นเคยมีเรื่องราวที่ชวนสยดสยองโหดร้ายว่า การ์ดได้จับผู้บุกรุกโยนออกจากกำแพงสูงบ้าง หรือเดือดพวกเขาในน้ำมันและสิ่งที่น่ากลัวเหล่านี้ป้องกันความศักดิ์สิทธิ์ของฮาเร็มจึงทำให้ไม่ค่อยมีคนละเมิด

ภายในฮาเร็ม, นั้นเต็มไปด้วยชีวิตฟุ้งเฟ้อหรูหราอย่างไร้เหตุผล ทุกเช้าเสื้อผ้าใหม่พระราชทาน มาถึงสำหรับพวกผู้หญิง พวกนางสวมใส่ครั้งเดียวและครั้งเดียวเท่านั้นและจากนั้นก็ยกให้แก่นางทาส ทุกนางสวมห่วงที่ปีกจมูก พวกนางสร้างความบรรเทิงให้แก่ตนเองด้วยกาลละเล่นต่างๆหรือไม่ถ้าเป็นพวกนางในรุ่นแม่ๆย่าๆที่มีอายุก็จะไปนั่งเล่นรับลมอยู่เงียบเงียบในศาลาที่เปิดโล่งดูปลาคาร์พในสระน้ำ หรือ ลานกลางฮาเล็มเพื่อปล่อยหรือให้อาหารนกพิราพ กระต่าย นกยูงที่สนามหญ้า บางคนก็ว่ายน้ำในน้ำพุหินอ่อน ดูดอกไม้ไฟ ดูต่อสู้ละมั่ง ดูแสดงเหยี่ยวบิน นกพิราบบิน, มวยปล้ำ, กายกรรม, เกมไพ่ นักดนตรี, หมีเต้น การแสดงงู, ชมการยิงธนู, มีนักเล่านิทานมาเล่าในตอนหัวค่ำ, การนั่งดูการเต้นระบำรำฟ้อน ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของแต่ละวัน




เรื่องเล่าการเมืองในฮาเล็ม ราชวงค์โมกุล

อย่างไรก็ตามสันดานของผู้หญิงที่ถูกคุมขังในเรือนจำทองก็มักจะดื้อรั้น ความริษยาและความเกลียดชังฝังรากรึกในจิตใจและการแข่งขันเรียกร้องความสนใจจากจักรพรรดิมักจะนำไปสู่การก่ออาชญากรรมที่ที่มีโทษหนัก

นักท่องเที่ยวยุโรปทิ้งเรากับคำบอกเล่านี้: ภรรยาแต่ละคนมีตำหนักของตัวเองและทาสของเธอตั้งแต่ 10-100 ตามแต่ตำแหน่งที่ได้มาด้วยโชคชะตาของเธอ แต่ละคนมีค่าใช้จ่ายประจำเดือนด้วยอัญมณีและเสื้อผ้าสามีให้ไปตามขอบเขตของความรักของเขา อาหารของพวกนางมาจากห้องครัว แต่ภรรยาแต่ละคนเอามันไปตำหนักของเธอเพราะพวกนาง เกลียดกันแม้ว่าพวกนางจะแอบเพื่อที่จะรักษาความโปรดปรานของสามีที่พวกนางกลัว ในแต่ละคืนเขาไปเยี่ยมมเหสีหรือมาฮาล แต่ละองค์โดยเฉพาะ และได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากภรรยาและทาสที่สวมใส่ชุดสวยงามเป็นพิเศษในวันที่กษัตริย์เสด็จราวกับมีงานเลี้ยงที่ตำหนักนั้น ดูเหมือนจะเป็นการทำงานตามหน้าที่มากกว่าความรัก

ในสภาพอากาศร้อนนางในมากมายของตำหนักของมเหสีที่กษัตริย์เสด็จไปเยือนจะทำการนวดและอาบน้ำให้องค์กษัตริย์และลูบร่างกายของเขาด้วยไม้จันทน์ทุบและน้ำกุหลาบหรือน้ำมันหอมหรือระบายความร้อนอื่น ๆ ทาสร้องเพลงเล่นเพลงหรือเต้น ภรรยานั่งอยู่บริเวณใกล้เคียงตลอด ในช่วงเย็นที่พวกเขาดื่มไวน์กันไป กษัตริย์นั่งเช่นนี้จนถึงเที่ยงคืนจนเผลอหลับไปหรือหากความรักเรียกหา นางทาสจะถูกส่งขึ้นไปรับใช้ที่เตียงของพระองค์แล้วถ้าหนึ่งในทาสสาวสวยจับใจของท่านได้ พระองค์ก็จะเรียกหาเธอให้ขึ้นไปรับใช้บ่อยๆ โดยที่ภรรยาไม่มีสิทธิมีปากเสียงหรือแสดงสัญญาณใดๆ แต่แน่นอนว่านางจะมาเอาคืนกับเด็กสาวนางทาสที่น่าสงสารนั้นภายหลัง




เรื่องเล่าการเมืองในฮาเล็ม ราชวงค์โมกุล

นางในฮาเล็มโมกุลมักจะเป็นสาวพื้นเมืองจากภูมิภาคเอเชียใต้ ซึ่งเป็นบรรดาบุตรสาวของผู้ปกครองท้องถิ่นจำนวนมากของรัฐที่ข้าราชบริพารส่งลูกสาวของพวกเขามาที่ฮาเล็มของราชวงค์โมกุลเพื่อประสานความสัมพันธ์ทางการเมืองกับจักรวรรดิโมกุล .....แต่หญิงสาวที่เป็นที่ต้องการสูงสุดของฮาเล็มกลับเป็นหญิงสาวต่างแดน เช่น ลูกสาวของขุนนางและเจ้าเมืองที่มาจาก เปอร์เซีย, อัฟกานีสถาน, อุซเบกีสถาน, เอเชียกลาง, ตะวันออกกลาง, เติร์กมานีสถาน, ตุรกี และแม้แต่ จากฝั่งใกล้ยุโรป เช่นประเทศ จอร์เจีย และ อาร์เมเนีย ที่เป็นส่วนหนึ่งของราชวงศ์ซาฟาวิดเปอร์เซีย หญิงเหล่านี้จะถือว่ามีเชื้อสายสูงและมักจะได้รับคัดเลือกให้เป็นภรรยาเอก และหัวหน้านางสนม.......

  พระมารดาของพระเจ้าอักบาร์มหาราช หรือ จาร์ลลาลลูดดีน ก็เป็นอีกตัวอย่างคลาสสิกทรงเป็นลูกสาวของชีคชาวเปอร์เชียแท้ แม้นางจะเป็นภรรยาอนุของจักรพรรดิฮูมายูนก็จริง อีกทั้งไม่ได้รักพิศวาสในตัวพระองค์แต่อย่างใดด้วยซ้ำเพราะนางได้แอบหลงรักชายหนุ่มคนหนึ่งอยู่ แต่ก็กลับโดนเรียกมาเป็นนางในวังและกษัตริย์ก็ทรงเลือกพระนางเหนือมเหสีเอกเพราะความที่เป็นสาวเปอรเซียแท้.... 

จากภาพวาดเหมือนของนางทำให้เห็นว่านางมีรูปร่างแนวผอม สูง และขาว ตาสวยออกหวานไม่คมเข้มเท่าสาวฮินดูที่ดูสวยแบบรูปปั้นเทวีฮินดูนี้อาจจะเป็นอีกเหตุผลว่าทำไม รุ่นหลานชายของพระนาง..... เจ้าชายชาห์ จาฮาน จึงเป็นเจ้าชายของโมกุลที่มีดวงตาสีฟ้า และพระนางกันดาฮารี พระมเหสีเอกของ จักรพรรดิ ชาห์ จาฮาน ผู้สร้างตำนานทัช มาฮาล อันโด่งดังกับพระนางมุมตัส มาฮาล พระนาง กันดาฮารี คือเจ้าหญิงจากราชวงค์ ซาฟาวิดประเทศอิหร่าน ทรงเป็นมเหสีองค์แรกและมาอย่างถูกต้องตามระบบ, แต่ ชาห์ จาฮาน นั้นกลับไปให้ความสนใจตัวพระนางมุมตัส มาฮาล มากกว่า..... มุมตัส มาฮาล ซึ่งมีความหมายแปลว่า (คนโปรดของวัง) ซึ่งบิดาของพระนางมุมตัสเองก็เป็นชีค ชาวเปอร์เซียแท้เช่นกันและเพิ่งจะย้ายเข้ามาในอินเดีย

รำทางศาสนาแบบซูฟี่อิสลามได้รับความสนใจโดยเจ้าหญิงเซ็พอุนนิซ่า ธิดาคนโปรดของจักรพรรดออรางเซ็พ





กิจกรรมกาละเล่นพลุดอกไม้ไฟ



เรื่องเล่าการเมืองในฮาเล็ม ราชวงค์โมกุล

อีกตัวอย่างคลาสสิกก็คือเรื่องของพระนาง มีห์รูนนิซ่า Mihrunnisa หรือพระนางนูร์ จาฮาน มเหสีเอกของจักรพรรดิ ชาฮันเกียร์ ลูกชายของพระนาง 

มาเรียม อุซ ซามานี่ Mariam-uz-Zamani หรือ ชื่อจริง ราชกุมารี โชธา ไพ Jodha Bai เจ้าหญิงอินเดียฮินดูสถาน...กับพระเจ้า อักบาร์ Akbar หรือ จาลาร์ลลูดดีน Jalalluddin พระนางโชธานั้นเป็นธิดาจากแคว้นราชปุตณะซึ่งเป็นฮินดูแท้ไม่ได้มีสายเลือดต่างชาติใดๆทั้งสิ้น เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น พระบิดาของนางก็ส่งลูกสาวของพวกท่านเข้าไปเรียนรู้มารยาทในฮาเล็มของพวกโมกุลเพื่อสร้างพันธไมตรีกับจักรพรรดิโมกุล.......

นับเป็นครั้งแรกและพระนางก็เป็นหญิงชาวอินเดียฮินดูคนแรกทีได้อภิเษกเป็นพระชายาเอกของกษัตริย์มุสลิมทั้งที่ยังคงครองตัวเป็นคนฮินดูอยู่ไม่เปลี่ยน นักประวัติศาสตร์ของอินเดียและคนอินเดียส่วนใหญ่ต่างยกยอปอปั้นพระนางเป็นอย่างยิ่ง ว่าเป็นเสมือนวีรสตรีชาวอินเดีย ทั้งงดงามทั้งภายในและภายนอก บอลลิวู้ดถึงกับทำภาพยนตร์เรื่องราวของพระนางทั้งเวอร์ชั่นหนังและละคร ชาวอินเดียกระตือรือล้นเป็นอย่างยิ่งว่าพระนางที่ทำให้กษัตริย์เปอร์เซียนำพาผลประโยชน์ต่างๆทางการเมืองมาสู่อินเดีย แต่ในความเป็นจริงนั้นราชกุมารีโจธานั้นเป็นผู้หญิงที่มีเล่ห์ทางการเมืองและเจ้ากี้เจ้าการ เป็นอย่างมาก นางเป็นคนฉลาดและแผนสูงและนางก็ได้ใช้กลยุทธเหล่านั้นในการสร้างฐานอำนาจมากเสียกว่าจะเป็นแรงดึงดูดด้านความงามที่จะชนะใจอักบาร์ ซึ่งเห็นได้จากการเจ้ากี้เจ้าการ จนผิดวิสัยภรรยาของกษัตริย์มุสลิมเช่นการเป็นจักรพรรดินีของราชวงค์อิสลามแต่ก็ไม่ยอมเปลี่ยนศาสนา การเป็นสตรีที่แสดงออกว่านำหน้าสตรีอื่น ทำธุระกิจค้าขายเครื่องเพชรอัญมณี เครื่องเทศ ผ้าไหมและเป็นเจ้าของเรือสินค้าที่ใหญ่ที่สุดในอินเดียที่เดินทางไปขายของถึง

ประเทศกรีกและทะเลแดง นางได้สมยานามว่า เสด็จแม่แห่งอินเดีย ถ้าจะเทียบกับสตรีที่มีอำนาจทางฝั่งยุโรปแล้วนางก็ไม่ต่างกับเลดี้ อิลินนอร์ แห่ง อาร์กีแตน Eleanor of Aquistane เสด็จย่าของยุโรป



เรื่องเล่าการเมืองในฮาเล็ม ราชวงค์โมกุล

สถานที่เก็บพระศพพระนางนูร์ทรงสิ้นพระชนเมื่อคลอดบุตรคนที่ 14



เรื่องเล่าการเมืองในฮาเล็ม ราชวงค์โมกุล

พระนางโชธาเป็นเจ้าของเรือขนส่งสินค้า Rahimi ที่บรรทุกผู้แสวงบุญไปและกลับจากเมืองศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาอิสลามเมกกะ ในปี1613 เรือของเธอ Rahimi ถูกยึดโดยโจรสลัดโปรตุเกสพร้อมกับ ผู้โดยสารและขนส่งสินค้า 600-700 เป็นเรือใบเรือที่ใหญ่ที่สุดของอินเดียในทะเลแดงและเป็นที่รู้จักในยุโรปว่า "เรือแสวงบุญที่ยิ่งใหญ่" เมื่อโปรตุเกสปฏิเสธอย่างเป็นทางการที่จะ คืนเรือและผู้โดยสารให้ จักรพรรดิชาร์ฮานเกียร์ลูกชายของนาง จึงได้ออกคำสั่งให้ยึดเมืองดามันของโปรตุเกสซึ่งบทเรียนการกระสนในความมั่งคั่งของพวกโมกุลในครั้งนี้เองซึ่งนำมาซึ่งการตกเป็นเมืองขึ้นในยุคหลัง



เรื่องเล่าการเมืองในฮาเล็ม ราชวงค์โมกุล

ทั้งที่ เดิมทีพระเจ้าอักบาร์ทรงมีอัครมเหสีเอกอยู่แล้วคือเจ้าหญิงรูไกย์ญ่า Ruqaiya Begum ซึงเป็นชาวอัฟกานีสถานและประสูติที่อัฟกานีสถาน ซึ่งมีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องของพระเจ้าอัคบาร์ มเหสีเอกของพระองค์อีกคนเป็นโปรตุเกส และอีกคนเป็นชาวอาร์เมเนีย......

เมื่อเจ้าหญิงรูไกย์ญ่านางยังเป็นเด็กรุ่นพระบิดาทรงถูกสังหารในสงคราม จึงเป็นกำพร้าลุงของพระนางจึงตกลงกับพระเจ้าฮูมายูนบิดาของอักบาร์ให้นำอักบาร์ขึ้นมาอภิเษกกับนางที่อัฟกนีสถาน แต่ก็ดูเหมือนว่าความฉลาดของพระนางโชธาในเกมส์การเมืองในฮาเล็มจะสามารถดึงพระเจ้าอักบาร์ออกมาจากเจ้าหญิงรูไกย์ญ่าและมเหสีอื่นที่เป็นชาวต่างชาติได้.....

นอกจากนี้พระนางยังทรงหมายมั่นปั้นมือจะให้ เจ้าชายซาลีม หรือ จักรพรรดิชาร์ฮันเกียร์ลูกชายของนางกับได้อภิเษกกับราชกุมารี มัณภะวดี ลูกสาวของพี่ชายของพระนางซึ่งเป็นพราหมณ์ฮินดูด้วยกันได้แต่งกับชาร์ฮันเกียร์ แต่แล้วก็เป็นอีกครั้งที่หญิงต่างชาติสามารถชนะใจกษัตริย์ได้มากกว่าสาวพื้นเมืองอินเดีย เหมือนจะเป็นสูตรคลาสสิกที่เหมือนกันกับประวัติศาสตร์ราชินีอังกฤษ ที่กษัตริย์มักสนใจและประชาชนเห่อพระราชินีจากต่างประเทศมากกว่า ชาร์ฮันเกียร์ลูกชายของนางกลับไปหลงรัก ท่านหญิงมีห์รูนนิซ่า ซึงเป็นสาวเปอร์เซียที่ลี้ภัยจากอิหร่านเข้ามาในอินเดีย บิดาของนางเป็นผู้ดีเก่า ซึ่งพาครอบครัวและภรรยาท้องแก่หนีปัญหาเข้ามาในอินเดียและระหว่างผ่านอัฟกานีสถานทางคาวานของพ่อนางถูกปล้นที่ทะเลทรายแถวกันดาฮา และแม่ของนางก็คลอดนางที่นั้น ว่ากันว่าคุณสมบัติทางสถาณะภาพนางไม่ใคร่จะดีนัก 

ครอบครัวตระกูลสูงส่งจริงแต่ไม่ใช่เชื้อพระวงค์อีกทั้งมีปัญาหาทางสังคม นอกจากนี้ มิห์รุนนิซ่า เป็นม่าย มีลูกติดอีกสองคนและนางก็อายุ35 ปี แก่กว่าเจ้าชายชาร์ฮันเกียร์พอควร



เรื่องเล่าการเมืองในฮาเล็ม ราชวงค์โมกุล

สามีที่ตายไปของนางเคยมาทำงานเป็นทหารของพระจ้าอัคบาร์เขามีความสามารถในการล่าเสือโคร่งและไดฝากให้มีห์รุนนิซ่ามาทำงานเป็นนางสนองพระโอษฐ์ของ มเหสี รูไกย์ญ่า เบกัม แม่เลี้ยงของชาร์ฮันเกียร์ที่ตำหนัก เมื่อแรกเห็นชาฮันเกียร์บุตรชายของพระนางโชธาก็หลงรักในความงามของนางทันที ว่ากันว่านางเป็นคนที่สวยมากขนาดที่ว่าเจ้าชายทรงเพิกเฉยต่อปัจจัยที่ไม่เหมาะไม่ควรต่างๆทางสถาณะภาพของนาง พระองค์ให้พระนามใหม่แก่นางว่า นูร์ มาฮาล ซึ่งแปลว่าแสงสว่างแห่งราชสำนักและต่อมาคือ นูร์ จาฮาล แสงสว่างของโลก .......

และแม้ว่ามเหสีแรกชาวฮินดูของพระองค์ซึ่งเป็นหลานของพระมารดาโชธา ไพ จะทรงเล็งเห็นถึงฐานอำนาจที่ถูกย้ายไปสู่พระนางนูร์ สตรีเปอร์เซียซึ่งสวยกว่า จึงเป็นแม่ซื่อแม่ชักจัดแจงให้พระสวามีอภิเษกกับราชกุมารี มัณมาตี ไพ น้องสาวของพระนางที่อายุน้อยกว่า พระนาง นูร์ มาฮาล หรือ เมห์รูนนิซ่า หลายเท่าแต่ก็ไม่เป็นผล...... พระนางเมห์รูนนิซ่าก็ยังคงครองความเป็นที่โปรดปรานของกษัตริย์ ในช่วงกลางคน ชาร์ฮันเกียร์พระองค์เป็นชายขี้เมาและติดฝิ่นกัญชายาสูบเป็นอย่างยิ่ง ในที่สุดภรรยาที่ท่านโปรดปรานที่สุด พระนาง นูร์ จาฮานก็ได้เข้ามามีบทบาทางการปกครองและราชการแทนพระองค์ เสน่ห์สาวเปอร์เซียนในตัวนางยังไม่หยุดอยู่เพียงแค่นี้แต่ยังถ่ายทอดต่อไปถึงหลานของนางซึ่งเป็นลูกสาวแท้ๆของพี่ชายนาง คือ ท่านหญิงอาร์จูมัน Arjumand

 ซึ่งภายหลังได้รับฉายาว่า มุมตัส มาฮาล Mumtaz Mahal เพราะพระเจ้า ชาห์ จาฮาน Shar Jahan หลานของพระนางโชธาก็ทรงหลงรักสาวเปอร์เซียอีกเช่นกัน  มุมตัส มาฮาล หญิงผู้เป็นต้นกำเนิดตำนานรักอำมตะ ทัช มาฮาล ......เจ้าชายคูรัม Khurrum หรือ ชาห์ จาฮาน เมื่อวัยเด็กนั้นทรงได้รับการเลี้ยงดูโดยพระนางรูไกย์ญ่า มเหสีที่หนึ่งของพระเจ้าอัคบาร์ซึ่งไม่มีบุตรธิดา อัคบาร์กลัวนางจะเหงาจึงได้ไปขอยืมตัวเจ้าชายน้อย ชาห์ จาฮาน หลานของพระองค์ที่เกิดกับสายภรรยาชาวฮินดูคือโชธา ไพ มาให้รูไกย์ญ่าเลี้ยงแก้เหงา ครั้นเมื่ออายุครบ 13 เจ้าชายจึงกลับไปอยู่ในความดูแลของพระมารดาชาวฮินดูซึ่งก็กระตือรือล้นจะให้ท่านได้เมียฮินดู แต่พระองค์ก็กลับไปหลงรักสาวเปอร์เชีย อาร์จูมัน หลานป้าของพระนางนูร์ จาฮาน ศัตรูคู่แข่งขันของแม่และป้าของพระองค์มากกว่าสาวฮินดู

ในขณะที่มเหสีแต่งอันดับหนึ่งของชาห์จาฮานเองก็เป็นเจ้าหญิงจากเปอร์เซียแท้ๆของราชวงค์ ซาฟาวิด คือพระนางกันดาฮารีแต่บุคคลที่พระองค์รักที่สุดคือพระนางมุมตัส..... บรรดามเหสีเอกของท่านนั้นเป็นสาวเปอร์เซียทั้งหมด

นักเดินทางชาวยุโรปได้บันทึกเรื่องความงามและแฟชั่นของพวกโมกุลในแต่ละยุค และเล่าว่า สตรีราชวงค์โมกุลนั้นแต่งตัวมากและการแต่งกายก็ถือได้ว่าเป็นประเพณีอย่างหนึ่งทีเดียว หนึ่งนักเดินทางเล่าว่าพวกนางประดับร่างกายทุกส่วนตั้งแต่หัวจรดเท้าไม่มีว่างเว้นทีจะไม่ประดับ พวกนางสวมกระโปรงฟูๆพองใต้ lehenga เป็นชุดที่ประสมระหว่างแบบแขกขาวหรือแบบตะวันตกเข้ากับอินเดีย ภาพวาดเจ้าหญิงเซ็พอุนนิซ่าZebunniza ราชธิดาองค์โปรดของพระเจ้าออรังเซ็พ Aurungzeb ผู้เครงอิสลามเป็นตัวอย่างที่ดีของชุดกระโปรงแบบอนากาลีที่ได้รับอิทธิพลแบบสาวเปอร์เชียหรือแขกขาว คือเป็นชุดกระโปรงยาวแคบช่วงเอวและบานๆที่ปลายกะโปรง




เรื่องเล่าการเมืองในฮาเล็ม ราชวงค์โมกุล

พวกโมกุลทุกคนล้วนเป็นมุสลิมที่มีหัวก้าวหน้าทันสมัยในการศึกษาหาวามรู้ไม่ว่าจะ ฮูมายูน อักบาร์ ชาร์ฮันเกียร์ ชาห์ จาฮาน และ ออรังเซ็พ ล้วนสนับสนุนให้นางในวังมีการศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาลูกสาวของตัวเอง ผู้หญิงในราชวงค์ล้วนมีความสามารถเช่น เจ้าหญิงรูไกย์ญ่าทรงพูดได้หลายภาษา ไม่ว่าจะ เติร์ก ฟาร์ซี่ อาหรับ อุรุดู ชางกาไต หนึ่งในบรรดาผู้หญิงของโมกุลที่ได้รับการศึกษาเป็นอย่างดีจนบางครั้งแลดูนิ่งสงบประดุจชายก็คือเจ้าหญิงเซ็พอุนนิซซ่า ลูกสาวที่ พระเจ้าออรังซ็พทรงภูมิใจสูงสุด เธอเก่งและชอบเรื่องการแต่งกลอน ลัทธิซูฟี่ ดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ และอีกมากมาย แต่หลายครั้งเธอก็กวนประสาทพระองค์แบบดื้อเงียบ เป็นทีรู้ดีว่า พระเจ้าออรางเซ็พท่านเป็นมุสลิมสายหัวรุนแรง และ


เคยสั่งต้มชีคชาวซิกข์ทั้ง เป็นแต่ลูกสาวของพระองค์กลับแต่งกลอนและหนังสือสะท้อนมุมมองทางศาสนาที่ไม่ถูกต้องตามพ่อของเธอและเรื่องการเมืองกับความรัก ที่เป็นที่ซุบซิบนินทาว่าจริงๆแล้าเจ้าหญิงนั้นทรงเป็นทอม นางเป็นสตรีเพียงคนเดียวในราชวงค์ที่เป็นโสด ว่ากันว่าเจ้าหญิงหลงรักนางทาสที่ชื่อว่า เมียน ไพ Mian Bai ทรงทำพินัยกรรมยกสวนดอกไม้ให้แก่นางทาส และสวนนั้นก็ถูกตั้งเป็นชื่อของนางทาส....

การ์พกลอนของเจ้าหญิงนั้นมีแต่แนวความรักที่เขียนถึงสตรี นอกจากนี้เธอยังพยามแย้งชิงบัลลังคมาจากพี่ชายของเธออีกด้วย และผลลัพท์คือเธอโดนจับขังคุกและตายในคุก


มีตำนานอันโด่งดังเล่าถึงคำสาปแช่งที่ทำให้พระเจ้าอัคบาร์ต้องทรงย้ายออกจาพระราชวังฟาเตห์ปุระ สีครี Fatehpur Sigri ภายในเวลาอันสั้น เรื่องราวมีอยู่ว่าหลังจากการย้ายเมืองมาอยู่ที่สีครี จักรพรรดิอักบาร์ได้มีส่วนร่วมในการออกแบบและก่อสร้างสถานที่แห่งนี้โดยตั้งใจที่จะชุบชีวิตอันหรูหราของราชสำนักเปอร์เซียโบราณ โดยการวางแผนนั้นรับรูปแบบตามราชสำนักเปอร์เซีย แต่มีการปรับโดยใส่รายละเอียดแบบอินเดีย การก่อสร้างนั้นใช้หินทรายสีแดงที่มีแหล่งอยู่ใกล้เคียงกับฟาเตห์ปุระสีครี ดังนั้นสิ่งก่อสร้างหลัก ๆ นั้นจะมีสีแดง บริเวณหมู่ราชมนเทียรประกอบด้วยตำหนักหลายหลังเรียงต่อกันอย่างเรียบร้อยและสมมาตรบนฐานเดียวกัน เป็นลักษณะพิเศษที่นำมาจากการก่อสร้างแบบอาหรับ และเอเชียกลาง โดยองค์รวมแล้ว ถือได้ว่าพระองค์นั้นทรงพระปรีชาสามารถยิ่งในการผสมผสานสถาปัตยกรรมต่าง ๆ เพื่อเป็นสถาปัตยกรรมในแบบของพระองค์เอง

นครฟาเตห์ปุระสีนั้นถูกทิ้งร้างในปี ค.ศ. 1585 ภายหลังจากการเสร็จสิ้นเพียงไม่กี่ปีเนื่องจากการขาดแคลนแหล่งน้ำมีตำนานอันโด่งดังเล่าถึงคำสาปแช่ง ว่า ครั้งหนึ่งพระองค์ทรงเรียกตัว นางระบำสาววัย19ปี นามว่า ซารีน่า Zarina ที่เรื่องชื่อว่ารำเก่งของเมืองนี้เข้ามาแสดงในราชสำนักของพระองค์ แต่มเหสีฮินดูโชธาและสาวใช้ของนางนามว่า มัดเทวี Madhdevi ไม่พอใจและเกรงว่าซารีน่าจะเป็นที่โปรดปรานของอักบาร เพราะทุกคนในราชสำนักหลงรักเธอ เธอเป็นคนสวยน่ารัก จึงวางแผนขโมยสร้อยคอของพระนางโชธาเอาไปซ้อนในห้องนอนของซารีน่า และเมื่อมเหสีโจธาประกาศว่าสร้อยหายไปจึงมีการค้นหากันเกิดขึ้นและซารีน่าถูกใส่ความว่าเป็นขโมย ก่อนการจะลงโทษและตัดมือของหญิงสาว เธอได้หายตัวไปจากวังไม่ว่าจะหาเท่าไรก็ไม่พบ

 ชายชราผู้เป็นพ่อของซารีน่าปรากฏตัวขึ้นและกล่าวกับอัคบาร์ว่า การให้ร้ายซารีน่าในครั้งนี้พวกท่านทำให้นางเสียใจมากและพวกท่านจะต้องชดใช้มันด้วยฟาเตห์ปุระ หลังจากนั้นันรุ่งขึ้นก็เกิดเรื่องประหลาดที่ทำให้น้ำบาดาลที่เอาไว้ใช้เลี้ยงผู้คนในวังเหือดแห้งไปจนหมดจึงต้องมีการอพยพย้ายเมืองเกิดขึ้น


ขอบคุณ :: pantip.com/topic/33687380


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์