แปลเป็นไทยว่า ทางใต้มีท่านผู้หญิงซินจุยแห่งเนินอ๋องหม่า ทางเหนือมีหลิงฮุ่ยผิงคนงามของสุสานเมืองไหโจ่ว
สุภาพสตรีทั้งสองคนคือใคร และทำไมได้รับการยกย่องเช่นนี้
ภาพท่านผู้หญิงซินจุย 辛追夫人
แปลเป็นไทยว่า ทางใต้มีท่านผู้หญิงซินจุยแห่งเนินอ๋องหม่า ทางเหนือมีหลิงฮุ่ยผิงคนงามของสุสานเมืองไหโจ่ว
สุภาพสตรีทั้งสองคนคือใคร และทำไมได้รับการยกย่องเช่นนี้
ภาพท่านผู้หญิงซินจุย 辛追夫人
สุสานที่พบนี้เป็นสุสานสามหลุมฝังรวมกันในที่เดียวกัน มีอายุ ๑๘๖ ปีก่อนคริสตกาล ศพที่ ได้แก่ ท่านอัครเสนาบดี ท่านผู้หญิง และบุตรชาย (สันนิษฐานว่าเป็นบุตรชายคนรอง) แต่เดิมคนในเมืองฉางซาก็เล่ากันแล้วว่าบริเวณนี้เป็นหลุมศพ กษัตริย์โบราณในเมืองฉางซา ในสมัยห้าราชวงศ์สิบอาณาจักร เป็นอ๋องแห่งแคว้นฉู่พระนามว่าหม่ายิน (楚王马殷 chu wáng mǎ yīn) และเรียกสืบกันมาว่า เนินอ๋องหม่า (马王堆:mǎ wáng duī) นอกจากนี้ยังมีเนินดินอีกเนินมีตำนานเล่าว่าเป็นที่ฝังพระศพของพระนางถังซื่อ (唐氏:táng shì) ผู้เป็นพระมารดาอ๋องแคว้นฉางซา ชื่อ หลิวฟา (刘发:liúfā ) และพระศพของพระสนมเฉิงซื่อ (程氏二姬:chéng shì èr jī)
ภาพสุสานและการค้นสุสานในสมัยนั้น
สภาพหลุมศพคู่ของท่านผู้หญิง และท่านอ๋องผู้สามี
สภาพโลงศพและการวางของรอบๆโลง
ตระกูลของท่านผู้หญิงนี้นับว่ายิ่งใหญ่ด้วยสามีเป็นอ๋องประจำแดนไต้โฮ่ว (轪侯:Dài hóu) ต่อมีบุตรสองคน บุตรชายคนโตชื่อว่าลี่ซี่ (利豨:lì xī) ได้รับตำแหน่งต่อ การที่หลุมฝังศพของท่านผู้หญิงใหญ่โตถึงเพียงนี้ สันนิษฐานว่าน่าจะได้รับการซ่อมแซมภายหลังโดยรุ่นหลานชื่อว่าหลี่ ฝู (利扶:Lì fú) ภายหลังตำแหน่งนี้สูญหายไปด้วยรุ่นหลานคนหนึ่งที่ได้รับตำแหน่งประมุขตระกูลตำผิด จึงถูกระงับการสืบทอดตำแหน่ง
สภาพโลงชั้นใน และข้าวของที่ขุดพบ
สามโลงแรกเปิดมาไม่มีอะไร ศพผุพังไปหมดแล้ว แต่ที่ชวนตะลึงคือหลุมที่สองกลับมีศพสภาพสมบูรณไม่เน่าเปื่อยอยู่ เป็นศพสตรีอายุประมาณ ๔๐ ปี ความสูง ๑๖๐ เซ็นติเมตร สภาพศพดีมาก สันนิษฐานว่าอายุผ่านมาถึง ๒๐๐๐ ปีแล้ว พบของฝังรวมในสุสาน ๘๑ ชิ้น เหมือนกับเป็นสุสานท่านผู้หญิงซินจุย
ภาพขณะทำการขุดค้น
แม้ของจะไม่ได้หรูหรา แต่ว่าเป็นของชั้นดีตามคนมีบรรดาศักดิ์สูง ภายหลังพบตราประทับเล็กๆรูปเต่าทำจากทองแดงในโลงศพของเธอ เมื่อพิมพ์ออกมาได้ชื่อของเธอเขียนว่า หลิง ซื่อ ฮุ่ย ผิง (凌氏惠平:Líng shì huì píng) ทำให้สันนิษฐานได้ว่าเธอน่าจะมีชื่อว่า หลิงฮุ่ยผิง ในยุคราชวงศ์ฮั่นคนจะมีตราประทับเช่นนี้ได้ต้องมีบรรดาศักดิ์ อย่างน้อย ๓๐๐ - ๒๐๐๐ ซื่อ ตามลำดับศักดินาจีน ปรกติแล้วสตรีไม่น่าจะมีตราประทับเช่นนี้ได้ แต่ว่าอาจะเป็นไปได้ว่าเธอจะได้รับบรรดาศักดิ์เช่นเดียวกับสามี
โลงใหญ่ที่ฝังติดกันสันนิษฐานว่าเป็นโลงของสามีเธอ มีชื่อติดว่า "ตงกง" (东公:dong gong) แปลแบบไทยๆคงได้อารมณ์ว่าพระยาบูรพา ทั้งมีรายชื่อขุนนางมาร่วมงานศพด้วย ตำแหน่งผู้มาร่วมพิธีศพเช่น ตงไฮ่ไท่โซ่ว 东海太守 เหอหนานไท่โซว่ 河南太守 ตำแหน่งไท่โซว่นี้ถือเป็นตำแหน่งเจ้าเมืองในยุคราชวงศ์ฮั่น มีอำนาจมาก จึงสันนิษฐานได้ว่าสามีของเธอน่าจะมีศักดิ์เป็นเจ้าเมืองขึ้นไป
ภาพสิ่งของที่พบในสุสาน
แต่ก็ค้นคว้าต่อไปถึงปัจจัยอื่นๆอีก
เมื่อมีการตรวจสอบสภาพศพต่อ พบว่าอวัยวะภายในต่างๆยังอยู่ดีใน ตำแหน่งเดิม แต่มีข้อสังเกตุว่า อาหารในท้องเธอน้อยมาก เหมือนก่อนเสียชีวิตไม่น่าจะกินอะไรมาหลายวัน นอกจากนี้ร่างด้านขวาดูผอมกว่าด้านซ้าย ตลอดจนขาสองข้างไม่เสมอกัน รวมถึงที่ช่องท้องมีร่องรอยคล้ายรอยแตก นอกจากนี้ปากเธอยังอ้าปากค้าง ซึ่งไม่ใช่เรื่องปรกติของศพคนตายแบบปรกติที่จะต้องหุบปาก เว้นเสียแต่จะเจ็บปวดมาก หรือตกใจมากๆก่อนตาย
เธอจะตายด้วยเหตุผลกลใดไม่รู้ แต่บางทีมีการสันนิษฐานว่า เธออาจจะถูกฝังทั้งเป็น
สภาพศพในโลง
สตรีผู้นี้เป็นสตรีบรรดาศักดิ์สูง เกิดล้มป่วยในฤดูหนาวอันหนาวเหน็บ กินอะไรไม่ลง สุดท้าย ก็สลบไป แน่นิ่ง เหมือนคนตาย คนในบ้านปลุกเท่าไรก็ไม่ตื่น จนหลายคนคิดว่าเธอตาย จึงนำเธอไปใส่โลงปิดผนึกไว้
ต่อมาเธออาจจฟื้นขึ้นกลางโลง แต่เมื่อพื้นขึ้นมาก็พบว่าตัวเองถูกขังในโลกเสียแล้ว ดังนั้นจึงพยายามตะโกนร้องให้ช่วย และสูดหายใจ สุดท้ายก็เสียชีวิตในโลง ทำให้สภาพศพอ้าปากค้าง
อย่างไรก็ตาม การที่เธอหายใจก่อนตาย ทำให้ออกซิเจนในโลงหมดไปสนิท จุลินซีอะไรเลยไม่ทำงาน แถมในท้องก็ไม่มีอาหารที่จะช่วยให้เน่าเปื่อย ดังนั้นจึงช่วยรักษาสภาพศพเธอไว้อย่างดี ประกอบกับโลงก็แน่นหนา ทำจากไม้ดำชั้นดี
เรื่องนี้จริงหรือไม่ข้าพเจ้าไม่ทราบ แต่บางคนคิดว่าเธอน่าจะเสียชีวิตอย่างปรกติ ไม่เช่นนั้นท่าทางในโลงคงไม่ใช่นอนนิ่งๆ การที่ศพยังมีสภาพดี อาจเพราะฝังไว้ช่วงฤดูหนาว ประกอบกับการรักษาศพ ทำให้ศพเธอไม่เน่าเปื่อย การที่ศพอ้าปากค้าง นักวิทยาศาสตร์จีนสันนิษฐานหลายประการ อาจเป็นเพราะเจ็บป่วยหนัก หรือเจ็บปวดหนักก่อนตาย กระทั่งตกใจก่อนตายก็เป็นได้การค้นพบสุสานของหลิงฮุ่ยผิง นับว่าน่าตื่นเต้น และเป็นเรื่องลึกลับซับซ้อนพอๆยิ่งกว่าสุสานราชวงศ์ฮั่นของท่านผู้หญิงชินจุนที่เคยพบ เพราะสภาพการรักษาศพไม่น่าจะดีเท่า แต่ทำไมถึงรักษาได้ดีถึงเพียงนี ด้วยการรักษาดีมากมายหลายชั้นทำให้ศพศพของท่านผู้หญิงซินจุยไม่เน่าเปื่อยนับว่าไม่น่าแปลกใจเท่าไรนัก แต่ขณะที่ของหลิงฮุ่ยผิงนี้ไม่ควรจะรักษาได้ดีถึงเพียงนี้เลย แม้ข้าวของทางโบราณคดีอาจจะมีไม่มาก แต่ว่าเรื่องทางวิทยาศาสตร์และเรื่องราวของเธอนับว่าน่าสนใจ
ถือได้ว่าการค้นพบหลุมฝังศพเหล่านี้ เป็นการบอกเล่าเรื่องราวสมัยราชวงศ์ฮั่นได้อย่างดี ว่าคนเมื่อ ๒๐๐๐ ปีก่อนมีชีวิตอย่างไร
ภาพรูปจำลองท่านผู้หญิงชินจุย และภาพรูปจำลองแม่นางหลิงฮุ่ยผิงขณะที่ทั้งสองยังมีชีวิตอยู่
© 2567 บริษัท ที่นี่มีเดีย จำกัด เข้าหน้าแรก Teenee.com
Youtube : teeneedotcom Line id : teeneedotcom Facebook id : teeneedotcom instagram : @teeneedotcom Twitter : teeneecom ติดต่อเรา