ทำไมแม่ต้องร้องไห้อย่างกับเด็ก แม่จะรู้ได้อย่างไรว่านี่มิใช่โชคของข้าที่จะได้พบโอรสแห่งสวรรค์ เมื่อได้ยินเช่นนั้น มารดาของอู่จ้าวก็เข้าใจถึงความทะเยอทะยานของบุตรสาว จึงหยุดร้องไห้ทันทีเมื่อเข้าวังไปถวายตัวเป็นนางสนม จักรพรรดิถังไท่จงพระราชทานใหม่ให้แก่อู่จ้าวว่า เหม่ยเหนียง มีความหมายว่า สาวทรงเสน่ห์ อู่จ้าวเป็นนางสนมในราชสำนักของจักรพรรดิถังไท่จง นานถึง 10 ปี แต่ฐานะของนางก็มิได้ก้าวหน้าขึ้น ยังคงมีเพียงตำแหน่งนางสนมขั้นธรรมดาการที่องค์จักรพรรดิถังไท่จงไม่โปรดปรานนางทั้งที่นางมีรูปโฉมอันงดงาม น่าจะมาจากเหตุการณ์ครั้งหนึ่ง จักรพรรดิถังไท่จงมีม้าพยศอยู่ตัวหนึ่ง ทั้งตัวใหญ่และแข็งแรง จนไม่มีใครสามารถขึ้นไปนั่งบนหลังมัน เพื่อฝึกมันให้เชื่องได้ พระสนมเหม่ยเหนียงได้ทูลแนะนำองค์จักรพรรดิว่า ตนสามารถฝึกม้าให้เชื่องได้ด้วยของ เพียง 3 สิ่ง คือ แส้เหล็ก ค้อนเหล็ก และดาบคมๆ โดย นางได้กล่าวว่า
ข้าพระองค์จะเฆี่ยนมันด้วยแส้เหล็ก ถ้ามันไม่ยอม ข้าพระองค์จะทุบหัวของมันด้วยค้อนเหล็ก และถ้ามันไม่ยอมอีก ข้าพระองค์จะเชือดคอของมันด้วยดาบการกล่าวถ้อยคำเช่นนี้ของนาง จึงทำให้พระองค์รู้สึกสะเทือนพระทัยและระมัดระวังนางเป็นพิเศษแม้องค์จักรพรรดิจะไม่โปรดปราน แต่พระโอรสขององค์จักรพรรดิกลับหลงใหลนางอย่างมาก หลี่จื้อ พระโอรสผู้เป็นองค์ว่าที่จักรพรรดิได้มาประสบพบพักตร์ นางจึงเกิดตะลึงพรึงเพริด ด้วยความเสน่หา และมีความสัมพันธ์สวาทกัน
เมื่อจักรพรรดิถังไท่จง สิ้นพระชนม์ ความสัมพันธ์ระหว่างองค์รัชทายาทหลี่จื้อกับพระสนมเหม่ยเหนียงต้องหยุดชะงักลง หลี่จื้อได้รับการสถาปนาเป็นฮ่องเต้องค์ต่อมา มีพระนามว่า ถังเกาจง ฮ่องเต้ถังเกาจงเป็นจักรพรรดิที่มีความอ่อนแอทั้งร่างกายและจิตใจ สติปัญญาอยู่ในขั้นธรรมดาส่วนพระสนมเหม่ยเหนียงมีโชคชะตาที่ต้องพลัดพรากจากกันไป เพราะตามธรรมเนียมแล้ว เมื่อองค์จักพรรดิสิ้นพระชนม์ บรรดานางสนมกำนัลที่ไม่มีพระโอรสหรือพระธิดา จำต้องบวชเป็นชีไปตลอดชีวิตเท่ากับว่าชีวิตทางโลกนั้นต้องยุติลงโดยสิ้นเชิง พระสนมเหม่ยเหนียงนั้นก็เช่นเดียวกัน นางถูกส่งตัวให้ไปบวชที่วัดก่านเยี่ยหลังจากจักรพรรดิถังเกาจงจะขึ้นครองราชย์แล้วประมาณ 2 ปี องค์จักรพรรดิเสด็จไปยังวัดก่านเยี่ยเพื่อสักการะในโอกาสที่ครบรอบวันสวรรคตของจักรพรรดิถังไท่จง พระราชบิดา ทำให้ได้พบกับแม่ชีสาวอู่จ้าว โดยบังเอิญ เล่ากันว่า เมื่อองค์จักรพรรดิได้พบหน้าแม่ชีอู่จ้าว พระองค์และแม่ชีต่างก็พากันร้องไห้ และเหตุการณ์นี้ก็อยู่ในสายพระเนตรของมเหสีหวาง ซึ่งมเหสีหวางนี้ วางแผนสนับสนุนให้เม่ชีอู่จ้าวมาเป็นสนมเอกขององค์จักรพรรดิ เพราะคาดว่าอุ่จ้าวจะกลายมาเป็นคนโปรดแทนพระสนมเอกแซ่เซียว แล้วนางอาจจะสำนึกในบุญคุณของตนแม่ชีอู่จ้าวจึงสึกจากชี จักรพรรดิถังเกาจงได้แต่งตั้งให้นางเป็นสนมเอกหวนเฟย ในปีถัดมาได้ประสูติพระโอรสหลี่หง ภายในเวลาช่วงปีเศษ สนมเอกหวนเฟยมีความสำคัญมากขึ้นมาเป็นลำดับ กลายเป็นคนโปรดของจักรพรรดิยิ่งกว่าสนมคนอื่นใด ซึ่งการที่จักรพรรดิถังเกาจงรับอดีตพระสนมของพระบดามาเป็นสนมเอกของตนนั้น ตามหลักการของลัทธิขงจื้อแล้ว ถือว่าทำผิดอย่างร้ายแรงปีต่อมาสนมเอกหวนเฟยก็มีพระโอรสหลี่เสียนอีก ซึ่งทำให้ฐานะของพระสนมมั่นคงยิ่งขึ้น ในปี ค.ศ.654 เมื่อสนมเอกหวนเฟยประสูตรพระธิดาแล้วพระธิดาสิ้นพระชนม์ สนมเอกหวนเฟยก็หาทางกำจัดพระมเหสีหวาง เพื่อที่ตนจะได้เป็นมเหสีแทน โดยกล่าวหาว่ามเหสีหวางเป็นผู้ฆ่าพระธิดาของตนที่เพิ่งประสูติใหม่ๆ เชื่อกันว่าสนมหวนเฟยเป็นคนฆ่าพระธิดาด้วยตัวเอง แล้วป้ายสีมเหสีหวางแทน อีกทั้งยังกล่าวหาว่ามเหสีหวางใช้เวทมนตร์คาถาวางแฟนที่จะสังหารทั้งองค์จักรพรรดิและตน ข้อกล่าวหานี้ทำให้จักรพรรดิถังเกาจงเชื่ออย่างหมดใจ ทำการปลดพระมเหสีหวาง รวมถึงสนมเอกแซ่เซียวออกจากตำแหน่งมาเป็นสามัญชนทั้งคู่ แล้วนำตัวไปขังไว้หลังจากนั้นสนมเอกหวนเฟยก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระมเหสีองค์ใหม่แทน ทรงพระนามว่ามเหสีอู่หวงโฮ่ว แต่ขุนนางชั้นผู้ใหญ่พากันคัดค้าน เพราะไม่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่งที่จะให้คนที่เคยเป็นสนมของพระบิดามาก่อนมาเป็นมเหสี แต่จักรพรรดิถังเกาจงไม่ฟัง เพราะยังคงหลงพระนางอย่างไม่ลืมหูลืมตา เมื่อเป็นมเหสีแล้ว พระนางอู่หวงโฮ่วก็มีประสูติการพระโอรสเพิ่มอีก 2 พระองค์ และพระธิดาอีก 1 พระองค์มเหสีหวางรวมถึงสนมเอกแซ่เซียวถูกประหารในเวลาต่อมา โดยคำสั่งจากมเหสีองค์ใหม่ เพราะเห็นว่าองค์จักรพรรดิอาจปล่อยตัวอดีตมเหสีหวางและสนมเอกแซ่เซียวออกมา ส่วนตำแหน่งรัชทายาทที่เคยอยู่กับหลี่จง พระโอรสที่ประสูติจากสนมเอกแซ่เซียวก็ถูกถอดถอน
เมื่อได้เป็นมเหสีแล้ว อู่หวงโฮ่วเริ่มแทรกแซงการบริหารจัดการบ้านเมืองของจักรพรรดิถังเกาจง และปลดเหล่าขุนนางที่มีความคิดเห็นต่อต้านพระนางด้วยโทษประหาร หรือไม่ก็ถูกเนรเทศด้วยข้อหาเป็นกบฎ ทำให้ขุนนางที่ยังเหลืออยู่ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นจัดแย้งกับมเหสี อีกทั้งองค์จักรพรรดิเห็นว่าพระมเหสีมีความสามารถในฐานะนักปกครองเป็นพิเศษ จึงมอบหมายให้พระนางดูแลกิจการในราชสำนักร่วมด้วย ทำให้อำนาจของพระนางเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆปี ค.ศ.660 จักรพรรดิถังเกาจงประชวรหนักเส้นโลหิตแตก ซึ่งนักประวัติศาสตร์บางคนเชื่อว่ามเหสีอู่หวงโฮ่วเป็นผู้ค่อยๆ วางยาองค์จักรพรรดิเอง เพื่อที่จะได้มีอำนาจสิทธิขาดในปกครองอย่างเต็มที่ อำนาจการปกครองทั้งหมดจึงอยู่กับมเหสีอู่หวงโฮ่วแต่เพียงผู้เดียวมเหสีอุ่หวงโฮ่วเปลี่ยนวิธีรับคนเข้ามาเป็นขุนนาง เพราะในอดีตขุนนางในราชสำนักจะมาจากตระกูลขุนนางเก่าแก่ วิธีการเลือกคนเข้ามาเป็นขุนนางแบบใหม่ก็คือ พระนางได้ส่งเสริมระบบการคัดคนเข้ารับราชการโดยวิธีสอบคัดเลือกแทน วิธีการสอบนั้นมิได้สอบโดยใช้ความรู้หลักในลัทธิขงจื้ออย่างที่เคยปฏิบัติกันมา ดังเช่นแต่ก่อน แต่จะเป็นการสอบโดยให้ความสำคัญกับการแต่งกวีนิพนธ์กับความเรียงเป็นอันดับแรก ด้วยวิธีนี้ทำให้พระนางได้คนที่มีความสามารถมาเข้ารับราชการแทนพวกขุนนางเดิมมากขึ้นจักรพรรดิถังเกาจงมีดำริที่จะแต่งตั้งพระมเหสีอู่หวงโฮ่วเป็นผุ้สำเร็จราชการในปี ค.ศ.675 แต่มีขุนนางผู้ใหญ่คัดค้าน ทำให้แผนการนี้ยกเลิก แต่ในปีเดียวกันนี้ ก็เกิดเหตุการณ์สำคัญ คือ องค์รัชทายาทหลี่หง พระโอรสองค์โตของพระมเหสีสิ้นพระชนม์อย่างกระทันหัน ทั้งที่มีพระชันษาเพียง 20 กว่าเท่านั้นเชื่อกันว่าพระนางเป็นผู้วางยาพิษพระโอรสตนเอง ด้วยโอรสพระองค์นี้ไม่เห็นด้วยกับพระมารดาอย่างเปิดเผยในหลายๆ เรื่อง และมีแววว่าองค์รัชทายาทจะเป็นจักรพรรดิองค์ต่อไปเมื่อจักรพรรดิถังเกาจงประชวรหนักอีกครั้งหนึ่งและพระอาการก็ทรุดลงเรื่อยๆ ในปี ค.ศ.679 พระโอรสองค์ที่สอง หลี่เสียน จึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการร่วมในการปฏิบัติพระราชภารกิจของจักรพรรดิถังเกาจง ผลงานของพระโอรสองค์รองได้รับคำชมจากจักรพรรดิถังเกาจงอย่างมาก แต่พระโอรสองค์นี้ก็มีชะตากรรมไม่ต่างจากหลี่หง พระเชษฐาทั้งนี้ เพราะปลายปี ค.ศ.680 ในช่วงฤดูหนาวนั้น หมิงฉงเอียน หมอดูที่มเหสีโปรดปรานมากถูกฆ่าตาย พระนางสงสัย พระนางสงสัยว่าหลี่เสียนพระโอรสของพระนางเป็นผู้บงการ ด้วยเห็นว่าหมอดูผู้นี้เคยทำนายทายทักหลี่เสียนไว้ว่าจะไม่ได้เป็นใหญ่ เพราะลักษณะไม่ดี พระนางจึงสั่งให้ค้นวังของพระโอรส พบหอกและเกราะ 300 ชิ้น พระโอรสจึงถูกถอดออกจากตำแหน่งรัชทายาทด้วยข้อหาวางแผนก่อกบฎ ถูกเนรเทศไปควบคุมตัวที่เฉิงตู เมืองหลวงของมณฑลเสฉวนหลังจากที่พระพลานามัยเสื่อมโทรมลงทุกวัน ในที่สุดปี ค.ศ.683 จักรพรรดิถังเกาจงเสด็จสวรรคต ก่อนหน้าที่พระองค์จะสวรรคต ได้มีรับสั่งให้ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ที่พระองค์ไว้วางพระทัยเข้าเฝ้า แล้วมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้ราชโอรสองค์ที่สาม หลี่เจ๋อ ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิแทน มเหสีอู่หวงโฮ่วมิยอมแต่งตั้งจักรพรรดิองค์ใหม่ทันที จนถึงวันที่ 11 ธ.ค. ปี ค.ศ.683 พระนางจึงมีโองการในฐานะอู่ไท่โฮ่วหรือพระพันปี แต่งตั้งให้หลี่เจ๋อเป็นจักรพรรดิองค์ต่อมา มีพระนามว่า จักรพรรดิถังจงจงจักรพรรดิถังจงจงขึ้นครองราชย์ด้วยพระชนมพรรษา 27 พรรษา ทรงฮึกเหิม ในอำนาจ โดยมิฟังคำทัดทานของผุ้ใด ทั้งที่จริงแล้วภายในราชสำนักนั้น พระมารดายังเป็นผู้จัดการดูแลเองทั้งหมด เพราะทรงอยู่ในฐานะจักรพรรดิในทางพฤตินัยมาถึง 20 กว่าปีแล้วจักรพรรดิองค์ใหม่แต่งตั้งให้บิดาของมเหสีของพระองค์ ซึ่งเป็นขุนนางชั้นผู้น้อยให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าราชเลขาธิการ ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงมาก มีขุนนางชั้นผู้ใหญ่หลายคนคัดค้าน แต่กลับตรัสว่า ถ้ามีความประสงค์แล้ว ถึงอาณาจักรทั้งอาณาจักรจะยกให้ใครก็ยังได้ เมื่อเรื่องนี้ไปถึงหู อู่ไท่โฮ่ว ทำให้พระนางนำมาเป็นข้ออ้างอย่างดี ในการหาเหตุปลดจักรพรรดิถังจงจงออกจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ 5 ก.พ. ปี ค.ศ.684 ทั้งที่เพิ่งครองราชย์ได้เพียง 54 วันเท่านั้น จักรพรรดิถังจงจงถูกปลดได้เพียง 3 วัน อู่ไท่โฮ่วก็สั่งให้ทหารเดินทางไปเฉิงตู เพื่อตรวจค้นที่พักของหลี่เสียนพระโอรสองค์ที่สองที่ถูกเนรเทศไปที่นั่น ทหารจากราชสำนักผู้นี้เมื่อเดินทางไปถึงก็ได้บังคับให้หลี่เสียนผูกคอตายวันที่ 14 ก.พ. ปี ค.ศ.684 หลี่ต้าน ราชโอรสองค์ที่สี่ก็ได้รับการแต่งตั้งจากอู่ไท่โอ่วให้เป็น จักรพรรดิถังลุ่ยจง ซึ่งพอหลี่ต้านได้ตำแหน่งจักรพรรดิถังลุ่ยจงมาครองแล้ว ก็ไม่มีการประกอบพิธีราชาภิเษกแต่อย่างใด พระองค์กลายเป็นนักโทษบรรดาศักดิ์ ไม่สามารถเสด็จออกที่สาธารณะได้ ต้องประทับอยู่แต่ด้านหลังของพระราชวัง อีกทั้งยังไม่สามารถติดต่อกับขุนนางชั้นเสนาบดีได้แม้แต่คนเดียวแม้ขุนนางในราชสำนักอาจจะไม่มีผู้ใดกล้าท้าทายอำนาจของอู่ไท่โฮ่ว แต่บรรดาขุนนางที่ประจำอยู่ตามหัวเมืองยังมีความจงรักภักดีกับราชวงศ์ถังเป็นอย่างมาก เพราะไม่พอใจกับการกุมอำนาจและปลดรัชทายาทตามอำเภอใจของพระนาง และรู้สึกเจ็บแค้นกับการที่ตนต้องถูกปลดหรือลดตำแหน่ง หรือถูกลงโทษ จึงรวมตัวกัน เพื่อก่อกบฎต่อต้านอู่ไท่โฮ่วอย่างเปิดเผย และเขียนแถลงการณ์โจมตีพระนางเมื่อพระนางได้อ่านแถลงการณ์นั้นแล้ว แทนที่จะกริ้วกลับตรัสชมผู้เขียน พระนางต้องการให้ขุนนางประจักษ์ว่าพระนางไม่สนใจการโจมตีใดๆ เพื่อแสดงว่าพระนางมีขันติสูง อีกทั้งแสดงน้ำพระทัยที่กว้างขวางตรัสชมฝ่ายตรงข้ามอีกด้วย ซึ่งท่าทีนี้ยิ่งทำให้ขุนนางมีความเกรงขามและจงรักภักดีกับพระนางมากขึ้นกว่าเดิมกบฎต่อต้านอู่ไท่โฮ่ว มีกำลังคนราว 1 แสนคน ส่วนหนึ่งไม่ใช่ทหารอาชีพ เป็นเพียงนักศึกษาปัญญาชนเท่านั้น ไม่เคยฝึกทหารหรือจับอาวุธ จึงไม่สามารถรบชนะทหาของทางการที่มีจำนวนมากกว่าถึง 3 แสนคนได้หลังกบฎ อู่ไท่โฮ่วหาหนทางในการประกันความมั่นคงในพระราชอำนาจของพระนางด้วยการสร้างหีบทองแดงเพื่อรับหนังสือวิพากษ์วิจารณ์การบริหารราชการแผ่นดิน และรับหนังสือร้องเรียนขุนนางที่ทุจริต ในขณะเดียวกัน หีบทองแดงนี้จะมีช่องลับฟ้องร้องบุคคลที่เป็นศัตรูของพระนาง ผลคือมีการใส่ร้ายป้ายสีกันมาก และมีผู้บริสุทธิ์ต้องเดือดร้อนเป็นจำนวนมากกล่าวกันว่าพระนางไปติดใจหลงใหลชายผู้หนึ่งมีนามว่า เชี่ยไหวอี้ ผู้เคยเป็นพ่อค้าเร่ ขายเครื่องสำอาง ทั้งที่ตอนนั้นพระนางมีพระชันษาถึง 59-60 ปีแล้ว ราชธิดาเซียนจินแนะนำให้อู่ไท่โฮ่วรู้จักกับเซี่ยไหวอี้ ชายผู้นี้ได้กลายเป็นคนโปรดของพระนาง และเพื่อให้การถวายการรับใช้แก่อู่ไท่โฮ่วเป็นไปอย่างสะดวก พระนางมีรับสั่งให้เขาบวชเป็นพระ เพื่อที่จะได้มีข้ออ้างเข้านอกออกในพระราชวังชั้นในที่มีแต่สตรีได้อย่างสะดวก พระนางยังแต่งตั้งให้เขาเป็นเจ้าอาวาสวัดไป๋หม่าสื้อ วัดที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงมากที่สุดอีกด้วยเมื่อวันที่ 24 ก.ย. ปี ค.ศ.690 ได้มีการจัดพิธีราชาภิเษก ณ ประตูเมืองเจ๋อเทียน (แปลว่า ดุจฟ้า) พระนางขึ้นประทับบัลลังก์ในฐานะจักรพรรดินีเซิ่งเสินแห่งราชวงศ์ใหม่ คือ ราชวงศ์โจว การที่มีการประกอบพิธีที่ประตูเจ๋อเทียน บรรดาขุนนางจึงเรียกจักรพรรดินีเซิ่งเสินว่า จักรพรรดิอู่เจ๋อเทียน (ณ เวลานั้น พระนางมีพระชนมพรรษา 65 พรรษา) ประวัติศาสตร์เรียกสมัยนี้ว่า สมัยอู่โจว ระยะเวลาที่พระนางได้เป็นจักรพรรดินีของอาณาจักรนั้นยืนยาวถึง 15 ปี เมื่อครองราชย์อย่างเป็นทางการแล้ว พระนางได้ปลดจักรพรรดิถังลุ่ยจงออกจากตำแหน่งถึงแม้ว่าอู่เจ๋อเทียนขึ้นครองราชย์โดยวิธีที่ผิดและไม่ถูกต้อง แต่เมื่อขึ้นครองราชย์แล้ว พระนางทรงมีพระปรีชาในการปกครองแผ่นดินอย่างสูง ทำให้การเกษตรและเศรษฐกิจของอาณาจักรจีนพัฒนาอย่างมาก อาณาจักรจีนภายใต้การปกครองของอู่เจ๋อเทียนนั้น มั่นคง และทำให้เศรษฐกิจมีพื้นฐานดี ข้อสำคัญ พระนางรู้จักเลือกใช้บุคคลที่มีความสามารถตามความเหมาะสม และสามารถรับฟังคำแนะนำที่ขัดแย้งกับความคิดของตนได้ปี ค.ศ.670 ข่านของพวกเติร์กยกทัพมารุกรานจีน พระนางจึงส่ง อู่เฉิงซื่อ ผู้เป็นพระนัดดาไปปราบ แต่แพ้กลับมา พระนางจึงส่ง ตี๋เหลินเจี๋ย ขุนนางผู้เก่งกาจไปแทนและปราบได้สำเร็จ พระนางจึงแต่งตั้งให้เขาเป็นอัครมหาเสนาบดี และยิ่งไว้วางพระทัยในเสนาบดีผู้นี้ยิ่งกว่าเดิม และด้วยคำแนะนำของเขาเกี่ยวกับการคัดเลือกองค์รัชทายาท ทำให้อู่เจ๋อเทียน แต่งตั้งให้หลี่เจ๋อเป็นรัชทายาทอีกครั้ง เมื่อเดือน มี.ค. ปี ค.ศ.669แต่ชีวิตส่วนพระองค์ของอู่เจ๋อเทียน ณ บั้นปลายนั้น ไม่ได้ดีอย่างที่ควรจะเป็น ทั้งที่พระนางมีพระชนมพรรษาถึง 72 พรรษา เพราะทรงมีคนโปรดคู่ใหม่เป็นสองพี่น้องรูปงามนามว่า จางอี้จือ และจางชางจง ที่อยู่ในวัย 20 กว่าๆ พระนางหลงใหลสองพี่น้องคู่นี้มาก จนเป็นที่เลื่องลอไปทั่วเมืองหลวง สองพี่น้องได้รับการโปรดปรานและกำเริบเสิบสานไม่กลัวใครปี ค.ศ.705 พระองค์ประชวรมาก แต่ไม่มีผู้ใดได้เข้าเฝ้าถึงห้องบรรทม ยกเว้นสองพี่น้องคู่นี้ เหล่าเสนาบดีเกรงว่าสองพี่น้องคู่นี้จะเป่าหูให้พระนางแต่งตั้งพวกเขาเป็นอะไรก็ได้ คนทั้งสองนี้เป็นที่เกลียดชังของขุนนางมาก ขุนนางเคยตั้งข้อหาพวกเขาว่าเป็นกบฎ แต่พระนางก็ยังโปรดอภัยโทษ เหล่าขุนนางจึงไม่พอใจมาก จึงคบคิดกันวางแผนยึดอำนาจคืนมาจากพระนางปี ค.ศ. 705 เหล่าขุนนางนำโดยเสนาบดี จางเจี่ยนจือ ฉวยโอกาสสนับสนุนให้ราชโอรสหลี่เจ๋อเป็นผู้นำพวกตนไปเข้าเฝ้าเพื่อทูลขอให้พระนางยินยอมสละราชสมบัติให้แก่พระโอรสขณะเดียวกัน ก็บุกจับสองพี่น้องคู่นั้นประหารชีวิตเสีย อู่เจ๋อเทียน ณ ขณะที่มีพระชนมพรรษา 81 พรรษา ทำอะไรไม่ได้แล้ว จึงยอมรับแต่งตั้งให้อดีตจักรพรรดิถังจงจงเป็นผู้สำเร็จราชการ วันต่อมาจึงสละราชสมบัติอย่างเป็นทางการ ตัวพระนางถูกย้ายออกจากวังหลวง ในเดือน พ.ย. ฤดูหนาวของปีเดียวกัน จักรพรรดินีสวรรคต เป็นการจบสิ้นอำนาจจักรพรรดินีแห่งอาณาจักรจีนที่เรื่องราวของพระองค์ยังคงเป็นตำนานเล่าขานสืบมาจนปัจจุบัน