ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น หวงปู่โง่น โสรโย และท่านพลโทถนอม วัชรพุทธ แม่ทัพกองทัพภาคที่ 3 ได้ร่วมมือกัน สร้างพระอนุสาวรีย์ ของพระสุพรรณกัลยา มีขนาดเท่าของจริง และได้อันเชิญ มาประดิษฐานไว้ ณ ริมฝั่งแม่น้ำน่าน ในบริเวณ "ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช" ใกล้กับพระบรม
ราชนุสาวรีย์ พระอนุชาทั้งสองพระองค์ โดยได้นำส่วนของสรีระ เช่น กระดูก ฟัน และเครื่องประดับของมีค่าบางอย่าง ที่ขุดค้นได้จาก แหล่งฝังพระศพของพระนาง นำมาบรรจุในพระอุระ ของพระรูปด้วยเพื่อให้ชาวไทยทุกคน ได้มีโอกาสเคารพสักการะ วีรสตรีผู้เสียสละยิ่งใหญ่กว่าผู้ใด เพียงให้สยามไทย
ได้คงอยู่ชั่วฟ้าดิน...การสิ้นพระชนม์
ภายหลังจากที่พระมหาอุปราชามังกะยอชวาสิ้นพระชนม์ใน พ.ศ. ๒๑๓๕ จากการทำยุทธหัตถีกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระเจ้านันทบุเรงทรงพระพิโรธมาก จึงใช้พระแสงขรรค์สังหารพระนางและพระโอรสสิ้นพระชนม์ ขณะที่พระโอรสพระชนม์ได้ ๘ เดือน เพราะถ้าสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ได้รับชัยชนะจากการทำสงครามเมื่อไหร่ ความตายก็เข้าใกล้พระนางเมื่อนั้น
การพบหลุมพระศพพระสุพรรณกัลยา
เมื่อช่วงกลางเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๘ มีการขุดพบหลุมแห่งหนึ่งซึ่งมีทั้งพระโกฏทองคำและเครื่องใช้ในราชสำนักจำนวนมากรวมทั้งโครงกระดูกบางส่วนรวมอยู่ด้วย ในระหว่างที่กำลังมีการปรับพื้นดินเพื่อสร้างเมืองใหม่ของพม่าใกล้กับเมืองปีนมานา ในภาคกลางของพม่า โดยมีการพูดคุยในหมู่นายทหารระดับสูงของพม่าว่า หลุมดังกล่าวคาดว่าเป็นหลุมพระศพของพระสุพรรณกัลยา เนื่องจากเครื่องใช้ราชสำนักบางส่วนมีลักษณะคล้ายลวดลายไทยแหล่งข่าวดังกล่าวเปิดเผยอีกว่า ขณะนี้ทางกองทัพพม่าได้สั่งระงับการสร้างเมืองดังกล่าวไว้ชั่วคราว และพยายามปิดข่าวนี้อย่างมิดชิด เนื่องจากเกรงว่าจะมีการขอเข้าไปตรวจสอบและ
ทวงทรัพย์สมบัติล้ำค่าจากทางการไทย
พระนามต่างของพระสุพรรณกัลยา
๑. สุวรรณกัลยา จากคำให้การขุนหลวงหาวัด ฉบับหลวง
๒. จันทรกัลยา จากคำให้การชาวกรุงเก่า
๓. พระสุวรรณ จากพงศาวดารฉบับอูกาลา
๔. อะเมี้ยวโยง แปลว่าผู้จงรักภักดีในเผ่าพันธุ์ตน จากพงศาวดารของมหาสีหตู
๕. พระสุวรรณเทวี จากพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา
๖. พระสุพรรณกัลยาณี จากพระประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระราชนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรง
ราชานุภาพ
สถานที่เกี่ยวกับพระองค์
พระอนุสาวรีย์พระสุพรรณกัลยาณี ณ ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (กองทัพภาคที่ 3) อำเภอเมือง
จังหวัดพิษณุโลก
พระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และพระรูปพระสุพรรณกัลยา ณ ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
พระบรมรูปพระสุพรรณกัลยา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ ณ วัดลาดสิงห์
ตำบลบ้านสระ อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี
พระรูป ณ พระตำหนักสมเด็จพระนเรศวรมหาราช วัดดอนเจดีย์ อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี
พระเจดีย์ ณ วัดบ้านน้ำฮู อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่เชื่อกันว่าสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสร้าง
ถวายพระสุพรรณกัลยา และภายในพระเจดีย์ ได้บรรจุเส้นพระเกษาของพระสุพรรณกัลยาไว้ด้วย
ที่มา : เพลินพิศ สุพพัตกุล ความรู้ประกอบการเรียนรู้ภาษาไทย
ขอขอบคุณ : http://www.naresuanlks.ob.tc