"บัตรประจำตัวประชาชน" เป็นเอกสารที่ทางราชการออกให้เฉพาะผู้มีสัญชาติไทยเพื่อใช้พิสูจน์ทราบและยืนยันตัวบุคคลนับได้ว่าเป็นเอกสารที่มี เช่น การใช้สิทธิเลือกตั้งการสมัครงาน การติดต่อธุรกิจการค้า การทำนิติกรรมสัญญา และการติดต่อประสานงานกับส่วนราชการหรือภาคเอกชน นอกจากนั้นยังเป็น หลักฐานที่หน่วยงานต่าง ๆ ใช้ตรวจสอบบุคคลเพื่อประกอบการออกหนังสือสำคัญ
ต่าง ๆ เฉพาะด้าน เช่นบัตรประจำตัวผู้ป่วยของโรงพยาบาล ใบอนุญาตขับรถ หนังสือเดินทาง หรือแม้แต่บัตรเครดิตประเภทต่างๆ ที่นิยมใช้กันในวงการของสถาบันการเงิน และการธนาคาร ซึ่งหากไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนแล้ว ความยุ่งยากสับสนในการยืนยันตัวบุคคลย่อมเกิดขึ้น อีกทั้งจะส่งผลทำให้การติดต่อดำเนินการในเรื่องนั้น ๆ ไม่อาจดำเนินการไปได้ด้วยความสะดวกรวดเร็ว
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สามารถชี้ชัดได้ว่าคนไทยเริ่มมีการใช้หนังสือยืนยันตัวบุคคลปรากฎ อยู่ใน พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5
ในสมัยนั้น และเหมาะสมกับสภาพการเวลาของสังคมเมื่อประมาณ 80 ปีที่แล้วความสำคัญของหนังสือเดินทางตามกฎหมาย ลักษณะปกครองท้องที่ จึงไม่แตกต่างไปจากความสำคัญของบัตรประจำตัวประชาชนในปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้จึงอาจกล่าวได้ว่าต้นกำเนิดของบัตรประจำตัวประชาชน มีที่มาจากหนังสือเดินทางสำหรับราษฎร เพื่อใช้เดินทางไปท้องที่ที่อื่นสำหรับการค้าขายติดต่อกันโดยมีกรมการอำเภอ (หรือนายอำเภอปัจจุบัน) เป็นพนักงานทำ หนังสือดังกล่าวพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พุทธศักราช
2486 : กฎหมายว่าด้วยบัตรประจำตัวประชาชนฉบับแรกของไทย
ผลของการออกหนังสือ เดินทาง สำหรับราษฎรตาม พ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่พ.ศ.2457 ทำให้ทางราชการเห็นความจำเป็นที่จะต้องทำเอกสารเป็นหลักฐาน เพื่อแสดงว่าใครคือใคร อยู่ที่ไหน รูปพรรณเป็นอย่างไรเพื่อประโยชน์ในการปกครองท้องที่และการควบคุมราษฏรของทางราชการ รวมทั้งประชาชนก็จะได้ประโยชน์ในการติดต่อซึ่งกัน และกันโดยเฉพาะการทำมาค้าขาย ดังนั้นในปี พ.ศ. 2486 รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 รัฐบาลโดยการนำของ จอมพลป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้เสนอออกกฎหมาย ว่าด้วยบัตรประจำตัวประชาชนขึ้นมาบังคับใช้เป็นการเฉพาะครั้งแรกเรียกว่า "พระราชบัญญัติ บัตรประจำตัวประชาชน พุทธศักราช 2486" นับเป็นกฏหมายฉบับแรกที่เกี่ยวกับการจัดทำบัตรประจำตัว
ประชาชนให้แก่คนไทย แต่ประกาศและบังคับใช้เฉพาะ ราษฎรในจังหวัดสองจังหวัดเท่านั้น คือ จังหวัดพระนคร และจังหวัดธนบุรี(กรุงเทพมหานครในปัจจุบัน) บัตรประจำตัวประชาชนมีทั้งหมด 5 รุ่น( ตุลาคม 2556)
บัตรประชาชนรุ่นที่ 1
บัตรประจำตัวประชาชนรุ่นที่1: มีลักษณะเป็นบัตรรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พับเป็น 4 ตอนคล้ายบัตรยืมหนังสือของห้องสมุดมีทั้งหมด 8 หน้า
แต่ละตอนกว้าง 4 นิ้ว ยาว 3 นิ้ว ตัวบัตรใช้ได้ทั้ง2ด้านด้านหน้า(ปกหน้า) จะมีรูปครุฑและคำว่า "บัตรประจำตัวประชาชน" พร้อมเลขทะเบียน
ที่ออกบัตร ด้านหลัง(ปกหลัง) เป็นคำเตือนสำหรับผู้ถือบัตร ให้ระลึกถึงหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยบัตรประจำตัวประชาชนอาทิเช่น
ต้องพกบัตรติดตัวและแสดงต่อเจ้าหน้าที่ได้เสมอ ต้องขอเปลี่ยนบัตรเมื่อบัตรหมดอายุต้องแจ้งขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในบัตรเมื่อมีการ
เปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล หรือที่อยู่ เป็นต้น