คำสาปตุตันคาเมน
เจ้าของสุสานจึงพยามยามหาทางป้องกันทุกวิถีทางเท่าที่จะทำได้ หนึ่งในจำนวนวิธีการนั้นได้แก่การร่าย " คำสาป"
เรื่องของคำสาปนับเป็นเรื่องเหลือเชื่ออย่างหนึ่งในบรรดาสิ่งลึกลับทั้งหลายในโลก ในบรรดาคำสาปทั้งหลายที่มีอาถรรพณ์แรงกล้าในโลกเรานี้ เห็นจะต้องนับว่าคำสาปของพวกอียิปต์โบราณโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากบรรดาสุสานกษัตริย์ เป็นคำสาปที่ขลังและดุที่สุด สามารถเจาะจงติดตามรังควานเฉพาะคนที่ล่วงละเมิดความสงบสุขของผู้เสียชีวิตไปแล้วเท่านั้น
ชาวอียิปต์โบราณเป็นพวกที่มีศรัทธาแน่นแฟ้นในเรื่องชีวิตหลังความตาย ศาสนาเก่าแก่ของเขาสอนให้เชื่อว่าคนที่ตายไปแล้วอาจฟื้นคืนชีพขึ้นมาใหม่ได้ ด้วยศรัทธาอย่างนี้ชาวไอยคุปต์จึงนิยมรักษาซากศพไว้เป็นอย่างดี ฝังไว้ในสุสาน ลึกลับพร้อมกับของใช้ส่วนตัวมากมาย รอวันที่จะกลับฟื้นคืนชีพอีกในอนาคต
แผ่นดินไอยคุปต์จึงเต็มไปด้วยสุสานทั้งในที่ลับและที่แจ้งนับไม่ถ้วน ทั้งแบบของข้าแผ่นดินที่ยากจน ร่ำรวย และสุสานกษัตริย์อันใหญ่โตโอฬารจนกลายเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลก สมบัติมหาศาลในสุสานต่างๆ เหล่านี้ เป็นสิ่งเย้ายวนใจพวกมิจฉาชีพ จึงพากันลักลอบขโมยขุดสุสานเพื่อขโมยเอาทรัพย์เหล่านั้นไป
เจ้าของสุสานจึงพยามยามหาทางป้องกันทุกวิถีทางเท่าที่จะทำได้ หนึ่งในจำนวนวิธีการนั้นได้แก่การร่าย " คำสาป" การค้นพบสุสานของยุวกษัตริย์สำคัญองค์หนึ่งที่สำคัญยิ่งองค์นี้คือ ตุตันคาเมน ที่เราจะพูดถึงอาถรรพณ์ของคำสาปของพระองค์
โดยความจริงแล้ว ตุตันคาเมน ยุวกษัตริย์องค์นี้ไม่ได้เป็นนักปกครองที่เก่งกาจอะไร ตุตันคาเมน เป็นเพียงยุวราชาที่ได้ขึ้นครองบัลลังก์ไอยคุปต์ในเวลาที่สั้นมาก แต่ที่พระองค์ดัง เป็นเพราะการค้นพบสุสานของพระองค์ซึ่งนับว่าสมบูรณ์ที่สุดนั่นต่างหาก แม้ว่าสุสานของพระองค์อาจจะถูกหัวขโมยรบกวนบ้าง แต่ก็ไม่ได้พระราชทรัพย์ที่สำคัญไปมากเท่าไหร่ ของที่เหลืออยู่จึงทำให้คนรุ่นหลังได้รู้เรื่องราวของคนอียิปต์โบราณมากกว่าเดิม
แต่...การค้นพบครั้งนี้นอกจากได้ความรู้มากขึ้น ก็กลับมีการสูญเสียมาพร้อมกัน เป็นการสูญเสียที่ผู้คนทั่วโลกจำนวนมากเชื่อว่ามาจาก คำสาป ที่วนเวียนอยู่ที่นั่น
''มรณะจักโบยบินมาสังหารสู่ผู้บังอาจรังควานสันติสุขแห่งพระองค์ฟาโรห์''
ข้อความนี้ เป็นคำสาปที่นักบวชไอยคุปต์ได้บรรจุไว้ในสุสานลี้ลับของฟาโรห์ตุตันคาเมน และมันก็แสดงผลในเวลาต่อมาว่าขลังและเปี่ยมด้วยอาถรรพณ์อันน่าพึงสยดสยองจริงๆ
บรรดาผู้ใกล้ชิดคลุกคลีกับการเปิดสุสานและหีบศพของพระองค์...คนแล้วคนเล่ามีอันต้องตายด้วยลักษณะแปลกๆโดยไม่คาดฝันถึง 22 คน !...! ประหนึ่งว่ามรณะได้โบยบินมาสังหารทุกผู้ทุกคนที่รังควานนิทรารมย์แห่งยุวราชา ตามคำสาปแช่งทุกประการ
ที่แปลกกว่านั้น หลังจากมรณกรรมของผู้คนจำนวนมากเมื่อห้าสิบปีก่อนผ่านไป ก็ยังมีการตายที่น่าแปลกที่เชื่อกันว่าเป็นเพราะฤทธิ์คำสาปเกิดขึ้นซ้ำอีกครั้ง
สุสานตุตันคาเมนถูกเปิดในปี ค.ศ. 1922(พ.ศ. 2465) หลังจากนั้นผู้ร่วมพิธีเปิดได้เสียชีวิตไป 22 คน ครั้นห้าสิบปีผ่านไป เมื่อมีการแสดงสมบัติตุตันคาเมนเพื่อฉลองครบรอบห้าสิบปีแห่งการเปิดสุสาน ก็เกิดมรณกรรมแก่ผู้ที่บังอาจรบกวนฟาโรห์อีกครั้งอย่างไม่น่าเป็นไปได้
การค้นคว้าหาอดีตอันรุ่งโรจน์ของไอยคุปต์นับเป็นเรื่องที่นักโบราณคดีทุกคนใฝ่ฝัน ตลอดเวลากว่า 3,000-4,000 ปีของอียิปต์ หลักฐานที่มีอยู่นอกจากสถาปัตยกรรมอย่างปิรามิดที่เกือบสูญหายไปหมดแล้ว ยังคงมีเพียงการตามขุดค้นด้วยความหวังที่จะพบโบราณวัตถุตามสุสาน ซึ่งคนอียิปต์โบราณก็นำของมีค่าเหล่านี้ฝังไว้ในที่เก็บศพตามความเชื่อของตน
ตามประวัติความเป็นมา บริเวณที่นักโบราณคดีสนใจ คือ บริเวณเทือกเขาธีบัน (หุบเขาสุสานกษัตริย์)ทางด้านตะวันตกของนครธีบีส อดีตราชธานีของไอยคุปต์ ณ ที่นี้เป็นสถานที่ฝังพระศพของฟาโรห์แห่งราชวงศ์ 18 และ 19 จำนวนมากกว่า 30 แห่ง ในระยะเวลาที่เริ่มมีการขุดค้นนักโบราณคดีชาวตะวันตกคนแล้วคนเล่าพากันมาขุดที่นี่และต่างก็ได้รับความสำเร็จ คือ พบสุสานกับหีบพระศพ ตลอดจนโลงรูปตัวคนอยู่ในสุสานที่นั่นหลายต่อหลายครั้ง
น่าเสียดายอย่างยิ่งที่ว่าบรรดาสุสานที่ได้พบในครั้งนั้นส่วนมากว่างเปล่าปราศจากทรัพย์สมบัติใดๆ บางแห่งแม้แต่มัมมี่เจ้าของสุสานก็ยังไม่มีในนั้นด้วยซ้ำ เพราะพวกหัวขโมยเข้าไปขุดลักสมบัติในนั้นไปจนหมดสิ้น เพราะเวลาผ่านมานานมากสุสานก็เลยถูกขโมยซ้ำแล้วซ้ำอีกจนไม่เหลือมีอะไร
เหตุฉะนี้ทำให้สุสานตุตันคาเมนโดดเด่นขึ้นมาเหนือการสำรวจครั้งใดๆทั้งสิ้น เพราะเมื่อมีการพบสุสาน ครั้งนี้ทำให้ได้รับรู้ว่าที่พำนักนิทรารมย์ของกษัตริย์หนุ่มองค์นี้กลับเป็นที่เพียงแห่งเดียว ที่ไม่ถูกขโมยพระราชทรัพย์ไปจนหมด
นักโบราณคดีที่สามารถค้นพบสุสานนี้เป็นชาวอังกฤษชื่อโฮเวิร์ด คาร์เตอร์ ส่วนผู้ริเริ่มและอุดหนุนทุนในการสำรวจครั้งสำคัญที่สุดนี้ได้แก่ขุนนางผู้มั่งคั่งมีชื่อว่า ยอร์ช.อี.เอส.เอ็ม.เฮอร์เบิร์ต เอิร์ล ที่ห้าแห่งคาร์นาวอน ซึ่งทั่วโลกรู้จักกันในนาม ลอร์ดคานาวอน
การสำรวจค้นหาสุสานเริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 1916 ในชั้นแรกทั้งสองก็ไม่แน่ใจว่าจะสำเร็จหรือไม่ เมื่อขุดไปพบคูหาลับในหน้าผาเป็นที่เก็บวัสดุเหลือใช้จากพิธีการฝังศพฟาโรห์ กับพบแผ่นจารึกนามาภิไธย "ตุตันคาเมน" ทำให้คาร์เตอร์ตั้งสมมติฐานว่าคงจะมีสุสานของฟาโรห์นาม “ตุตันคาเมน” อยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งในบริเวณหุบผากษัตริย์แห่งนี้
อย่างไรก็ตาม งานครั้งนี้ก็ใช้เวลานานถึง 6 ปีกว่าจะพบสุสานของยุวราชาในวันที่ 4 พฤศจิกายน 1922 คนงานชาวพื้นเมืองขุดพบบันไดหินทอดลงไปจากระดับพื้นซึ่งอยู่ใต้สุสานของฟาโรห์รามิเซสที่ 6 ลงมาประมาณ 13 ฟุต หลังจากขุดลงไปตามขั้นบันไดจำนวน 16 ชั้น ก็พบประตูปิดสนิทแน่น เมื่อเจาะประตูนี้ออก จึงพบระเบียงทางเดินยาว 10 ฟุต ทอดไปสู่ประตูซึ่งปิดสนิทแน่นอีกบานหนึ่งขวางประตูอยู่ด้านในสุด หลังประตูนี้ความลับทั้งมวลของไอยคุปต์เมื่อสามพันปีแอบแฝงอยู่!
หากแต่ใช่ว่าเมื่อเปิดประตูนี้จะเจอห้องเก็บสมบัติหรือห้องบรรจุพระศพเลย กลับพบช่องทางเดินทอดยาวไปในความมืดซึ่งไปสิ้นสุดลงที่บานประตูอันปิดแน่นสนิทอีกบานหนึ่งตรงมุมด้านในสุดเช่นเดียวกับประตูแรกที่พบประตูนี้เป็นจุดความหวังของคาร์เตอร์และลอร์ดนาวอนให้ลุกโพลง เพราะหน้าประตูนั้นมีตราผนึกปิดแน่นเป็นราชลัญจกรของ ตุตันนคาเมน ประทับไว้ แสดงว่า สุสานนี้เป็นของยุวราชาตุตันคาเมนแน่นอน
เบื้องหลังประตูนี้ คือ ที่ซ่อน " สิ่งมหัศจรรย์" นั่นคือห้องมุขที่เก็บพระราชทรัพ์ของตุตันคาเมนส่วนหนึ่ง ถัดห้องนี้ไปก็เป็นห้องเก็บพระบรมศพ ด้านข้างห้องเก็บพระบรมศพก็มีห้องเก็บสมบัติหรือ "ห้องพระคลังข้างที่'' กับห้องเก็บของเล็กๆ อยู่ติดกับห้องมุขอีกห้องรวมเป็นสี่ห้องแห่งความมหัศจรรย์
โฮเวิร์ด คาเตอร์ กำลังทำความสะอาดโลงพระศพของฟาโรห์ตุตันคาเมน
หีบไม้ซึ่งทำมาจากงาช้างและตกแต่งด้วยอัญมณีจารึกพระนามฟาโรห์ตุตันคาเมนและเทวี
ความตายตามคำสาปครั้งหลังเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1972 (พ.ศ.2515) หลังจากที่ทางราชการอียิปต์เก็บบรรดาสมบัติชิ้นสำคัญๆ ไว้ในพิพิธภัณฑ์กรุงไคโร จนกระทั่งทางอังกฤษคิดจะจัดเสดงสมบัติ ตุตันคาเมน ขึ้นในกรุงลอนดอนเพื่อฉลองวาระครบ 50 ปี ที่ได้เปิดสุสานยุวราชา บุคคลสำคัญในการลำเลียงสมบัติของฟาโรห์ออกจากพิพิธภัณฑ์ คือ อธิบดีกรมโบราณณณคดีของอียิปต์ ซึ่งขณะนั้นได้แก่ ดร.กามาล เมห์เรช เขาเป็นผู้ที่นำเอาครอบพระพักตร์ทองคำและโลงศพทองคำของตุตันคาเมนออกมาจากที่เก็บ เพื่อบรรจุหีบห่อแล้วส่งขึ้นเครื่องบินไปยังลอนดอนเพื่อเตรียมเปิดการแสดงครั้งสำคัญนี้
โลงพระศพของฟาโรห์ตุตันคาเมน
ดร.เมห์เรช ไม่รู้ตัวหรอกว่าเขาได้รังควานสันติสุขของฟาโรห์
อีกครั้งหนึ่ง หลังจากได้มีการเปิดสุสานเป็นต้นมา !
แต่ถึงแม้จะรู้เขาก็ไม่สนใจ เพราะเขาเชื่อว่าความตายของผู้คน หลังจากการเปิดสุสานตุตันคาเมนเป็นเหตุบังเอิญทั้งนั้น
ดังคำสัมภาษณ์ที่ ฟิลิปป์ แวนเดนเบอร์ก ไปสัมภาษณ์ท่านอธิบดีก่อนจะเขียนหนังสือชื่อ ''คำสาปฟาโรห์'' ได้หยิบเอาเรื่องคำสาปในสุสานขึ้นเป็นหัวข้อสนทนา ดร. เมห์เรชยังกล่าวอย่างมั่นใจยืนยันความเชื่อเดิมว่า "มันเป็นเรื่องบังเอิญทั้งนั้น"
แวนเดนเบอร์กถามว่า "ท่านแน่ใจหรือว่าคำสาปไม่มีจริง" ท่านอธิบดีโบราณคดีก็ตอบว่า "ไม่เชื่อว่ามันจะเป็นจริงขึ้นมาได้ ดูผมเป็นตัวอย่างซิ ผมคลุกคลีอยู่กับสุสานและโบราณวัตถุของฟาโรห์ไอยคุปต์มามากมายนับไม่ถ้วนตั้งหลายสิบปีแล้ว "
ท่านอธิบดีโบราณคดีย้ำแล้วย้ำอีก ก่อนที่จะนำสมบัติของกษัตริย์ตุตันคาเมนจากกรุในพิพิธภัณฑ์บรรจุหีบห่อเป็นพิเศษ ส่งไปแสดงยังลอนดอน...หลังจากที่ทำงานนี้เสร็จไม่กี่วันฟิลิปป์ แวนเดนเบอร์กก็ได้รับข่าวสลดใจกะทันหัน
ดร.กามาล เมห์เรช อธิบดีวัย 52 ปี ผู้มีร่างใหญ่ แข็งแรง ไม่เคยเจ็บป่วย อยู่ๆก็เป็นลมล้มตึงในห้องทำงาน และเสียชีวิตตั้งแต่ยังไม่ได้นำส่งโรงพยาบาล หมอลงความเห็นว่าหัวใจวายเฉียบพลัน
มรณกรรมของ ดร.เมเรช อย่างปุบปับหลังจากเข้าไป "รังควาน" สมบัติของตุตันคาเมนเป็นครั้งที่สอง จึงกลายเป็นหัวข้อให้คนที่เชื่อเรื่องลึกลับเอามาร่ำลือกันว่าท่านต้องอาถรรพณ์คำสาปฟาโรห์เข้าให้อย่างช่วยไม่ได้ เลยยิ่งส่งให้ความขลังและอาถรรพณ์ของคำสาปรุนแรงมากขึ้น ตามจารึกในสุสานที่ว่าเป็นปีกแห่งมรณะจะโบยบินมาสังหารผู้รังควานความสงบของพระองค์จริงๆ
ที่มา gotoknow.org
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!