พระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรก! ที่เสด็จเยือน “พม่า”

ประวัติศาสตร์ชาติต้องบันทึก รัชกาลที่ 9 เสด็จเยือนสหภาพพม่าครั้งแรกของกษัตริย์ไทย กระชับความสัมพันธ์การทูต

หนังสือไทยรบพม่า พระนิพนธ์ในสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นหนังสือประวัติศาสตร์เล่มแรก ๆ ที่เขียนถึงการรบระหว่างไทยและพม่า ซึ่งในความจริงแล้ว พม่าไม่ได้รบกับไทย แต่เป็นพระเจ้าแผ่นดินอังวะ หงสาวดี รบกับพระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา เนื่องจากเวลานั้นยังไม่มีประเทศไทย สยาม หรือสหภาพพม่า

          ในประวัติศาสตร์ทั้งสองชาติจึงดูเหมือนว่าจะมีการสู้รบกันตลอดเวลา แต่ความจริงแล้วสำนึกในความเป็นชาตินั้น เพิ่งจะเกิดขึ้นในรัชสมัย รัชกาลที่ 4 โดยพระราชประสงค์ที่ทรงสร้างขึ้นมา เพื่อป้องกันการรุกรานจากการล่าอาณานิคมของมหาอำนาจจากยุโรป จึงต้องสร้างประวัติศาสตร์ขึ้นมาให้ตะวันตกเห็นว่า "สยาม" นั้นไม่มีความป่าเถื่อน และสร้างจิตสำนึกในชาติให้กับประชาชนมากขึ้น "ความเป็นประเทศไทย" หรือจิตสำนึกในชาตินิยม จึงเกิดขึ้นมาในยุคหลัง เช่นเดียวกับความเป็นสหภาพพม่า (ตอนหลังประเทศไทยเปลี่ยนวิธีการเรียกเป็น สหภาพเมียนมาหรือเมียนมา)


พระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรก! ที่เสด็จเยือน “พม่า”

การทูตระหว่างสองประเทศ มีการเริ่มต้นขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม เมื่อวันที่ 2-5 มีนาคม พุทธศักราช 2503 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และ สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเยือนสหภาพพม่า เพิ่มพูนสัมพันธไมตรีกับพม่าอย่างแน่นแฟ้น ดังปรากฏในภาพจากหนังสือ "จดหมายเหตุเสด็จพระราชดำเนินเยือนสหภาพพม่า, ๒-๕ มีนาคม ๒๕๐๓" พิมพ์ปี 2529 โดยการจัดการของสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาสยามบรมราชกุมารี

โดยการเยือนดังกล่าวนั้น ยังเป็นการเยือนเมียนมาครั้งแรกของพระมหากษัตริย์ไทย ในประวัติศาสตร์ของทั้งสองชาติ ในโอกาสครั้งนั้น ประธานาธิบดี อู วิน หม่อง นำเสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการพระเจดีย์ชะเวดากอง ประธานาธิบดีของเมียนมา ยังได้กราบบังคมทูลรับเสด็จ โดยพระองค์ทรงมีพระราชดำรัสตอบว่า

"...ประชาชนชาวพม่าและไทยมีความสัมพันธ์กันเพราะต่างนับถือพระพุทธศาสนา และมุ่งมาดปรารถนาจะร่วมมือกันเพื่อสันติ..."

       การเสด็จเยือนครั้งนั้น เกิดขึ้นหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เล็งเห็นว่าประเทศไทยจำเป็นต้องติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านอื่น ๆ โดยเฉพาะกับประเทศที่มีพรมแดนติดกัน เนื่องจากการค้าขายกันระหว่างชายแดนของทั้งสองประเทศจะมีผลต่อทางด้านเศรษฐกิจในระยะยาว และประเทศไทยได้รับความเสียหายจากสงครามอย่างมาก จำเป็นต้องรีบหาทางฟื้นฟูประเทศโดยเร็ว


พระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรก! ที่เสด็จเยือน “พม่า”

ขอบคุณ ::bangkokbanksme.com

พระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรก! ที่เสด็จเยือน “พม่า”

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์