ย้อนรอย 3 คดี ฆ่าหั่นศพ โทษสูงสุด “ประหารชีวิต”


ย้อนรอย 3 คดี ฆ่าหั่นศพ โทษสูงสุด “ประหารชีวิต”

คดีฆ่าหั่นศพน้องแอ๋มที่กำลังกลายเป็นกระแสทอร์ค ออฟ เดอะ ทาวน์ ไม่ใช่คดีฆ่าหั่นศพครั้งแรกที่เกิดขึ้นในเมืองไทย

แต่หากย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2541 นายเสริม สาครราษฎร์ ใช้อาวุธปืนยิงแฟนสาวซึ่งเป็นนักศึกษาแพทย์ปี 5 มหาวิทยาลัยมหิดล เสียชีวิตด้วยความหึงหวง ก่อนจะตัดสินใจอำพรางศพโดยการลงมือชำแหละศพทิ้งลงชักโครก แล้วนำกระดูกไปทิ้งที่สะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง ต่อมานายเสริม ยอมรับสารภาพว่าเป็นคนลงมือฆ่าแฟนสาว เนื่องจากยอมจำนนต่อหลักฐาน เมื่อเข้าสู่กระบวนการตัดสินของศาล ศาลพิพากษาให้นายเสริม จำคุกตลอดชีวิต 

ระหว่างถูกจำคุก ตั้งแต่ 2547-2554 นายเสริมได้รับพระราชทานอภัยโทษ 4 ครั้ง จึงเหลือโทษจำคุก 8 ปี และได้รับปล่อยตัวเมื่อปี 2554 ในวัย 35 ปี หลังออกจากจำคุกนายเสริมได้ออกมาเปิดเผยถึงสาเหตุที่ยิงนางสาวเจนจิราว่า "เพียงเพราะอารมณ์ชั่ววูบ"



ส่วนอีกคดีที่สร้างความสะเทือนขวัญไม่แพ้กัน เกิดขึ้นในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2544 นายแพทย์วิสุทธิ์ บุญเกษมสันติ วางแผนล่อลวงภรรยาตนเองไปทำร้ายร่างกายจนเสียชีวิต หลังทั้งคู่มีปัญหาทะเลาะวิวาท ก่อนที่นายแพทย์วิสุทธิ์ จะใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญในการทางแพทย์มาจัดการฆ่าและชำแหละภรรยาตัวเองอย่างแยบยล จนแทบจะไม่เหลือชิ้นส่วนไว้ให้เป็นหลักฐาน แต่จากการสืบสวนของเจ้าพนักงาน พบชิ้นเนื้อของ พญ.ผัสพร ภรรยาของนายแพทย์วิสุทธิ์ ก่อนเจ้าหน้าที่จะรวบรวมพยานและหลักฐานสำคัญต่างๆ รวบตัว นายแพทย์วิสุทธิ์ และเข้ารับโทษในที่สุด

ทั้งนี้ศาลชั้นต้น และศาลชั้นอุทธรณ์ รวมถึงศาลฎีกา ต่างพิพากษาให้ประหารชีวิตนายแพทย์วิสุทธิ์ สถานเดียว เนื่องจาก "จำเลยเป็นผู้มีความรู้ความสามารถสูงย่อมจะใช้สติยั้งคิดในการแก้ปัญหาโดยไม่ใช้วิธีดังกล่าว และเมื่อจำเลยถูกจับกุมก็ยังไม่สำนึกผิด ให้การปฏิเสธต่อสู้คดีตลอดมา จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะต้องปราณี เห็นควรลงโทษสถานหนัก" ซึ่งต่อมาหมอวิสุทธิ์ ได้ยื่นขอพระราชทานอภัยโทษ โดยใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญนถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ เหลือโทษจำคุกตลอดชีวิตโดยในช่วงชีวิตที่ถูกจองจำ นายแพทย์วิสุทธิ์ ได้รับการอภัยโทษอยู่หลายครั้ง เนื่องจากปฏิบัติตัวดี ก่อนที่จะได้รับการปล่อยตัว รวมระยะเวลาที่ถูกจำคุกทั้งสิ้น 10 ปี 9 เดือน


ย้อนรอย 3 คดี ฆ่าหั่นศพ โทษสูงสุด “ประหารชีวิต”

หากศึกษาจากคำตัดสินของศาลในทั้งสองคดีข้างต้น และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 ที่ระบุไว้ว่า ผู้ใด ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ต้องระวางโทษประหารชีวิต

ารลงมือฆาตกรรมอำพรางศพผู้อื่นอย่างโหดเหี้ยมของนางสาวปรียานุช หรือเปรี้ยว อาจทำให้เธออาจถูกตัดสินประหารชีวิต หรือติดคุกตลอดชีวิต แต่อย่างไรก็ตามคำตัดสินทุกอย่างขึ้นอยู่กับพยานหลักฐาน คำให้การของจำเลย และดุลพินิจของศาลทั้งสิ้น


ย้อนรอย 3 คดี ฆ่าหั่นศพ โทษสูงสุด “ประหารชีวิต”

ขอบคุณ ::: pptvhd36.com

ย้อนรอย 3 คดี ฆ่าหั่นศพ โทษสูงสุด “ประหารชีวิต”

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์