20 ปีต้มยำกุ้ง : “จอร์จ โซรอส” ผู้ขย่มค่าเงินบาท
แน่นอนว่า หนึ่งในจำเลยที่ถูกตราหน้าว่าเป็นผู้จุดชนวนระเบิดวิกฤตต้มยำกุ้ง คือนาย จอร์จ โซรอส เจ้าของผลงานถล่มค่าเงินบาทจนย่อยยับ จนทำเอาทุนสำรองของประเทศเกือบจะเกลี้ยงคลัง
ในเวลาต่อมา ในปี 1997 หรือ พ.ศ. 2540 กองทุนควอนตัม และ นาย โซรอส กลับมาสร้างชื่ออีกครั้ง กับการโจมตีค่าเงินบาท โดยอาศัยช่องโหว่ก็คือ "ความเน่าใน" ของเศรษฐกิจไทย และการที่ไทยต้องตรึงค่าเงินบาทไว้กับเงินดอลลาร์สหรัฐที่ 25 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับการลงทุนจากต่างประเทศ
เมื่อมีการขายค่าเงินบาทมากขึ้น ก็เริ่มจะทำให้เงินบาทอ่อนลง จาก 25.50 บาท ก็เริ่มอ่อนไปที่ 26 บาท และเป็นจุดสตาร์ทที่ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทย ต้องควักทุนสำรองระหว่างประเทศออกมากว้านซื้อเงินบาท สู้กับเหล่านักเก็งกำไรอย่างบ้าคลั่ง ก่อนที่ไทยจะพ่ายแพ้แบบหมดรูป
แต่กระนั้นก็ตาม นาย โซรอส ได้ออกมาชี้แจ้งว่า เขา และ กองทุนเฮดจ์ฟันด์ ไม่ได้เป็นผู้ที่ก่อวิกฤตต้มยำกุ้งในครั้งนั้น แต่วิกฤตที่เกิดขึ้น เป็นเพราะปฏิกิริยาของธนาคารแห่งประเทศไทยที่มีต่อเฮดจ์ฟันด์ต่างหาก ที่ทำให้ปัญหานั้นเลยเถิด และลุกลาม ออกไป
"hedge funds did not start the crisis it was, in fact, the reaction of Thailand's central bank to the knowledge of hedge fund positioning that exacerbated the problems"
จนในท้ายที่สุดแล้ว เมื่อไทยต้องประกาศลดค่าเงินบาทเมื่อวันที่ 2 ก.ค. 2540 ภาคการเงินของประเทศจึงล้มครืนลงอย่างง่ายดาย
ดังนั้น จึงอาจจะกล่าวได้ว่า นาย โซรอส อาจจะเป็นเพียงตัวจุดฉนวน เร่งปฏิกิริยา ให้กับความเน่าเฟะ ของเศรษฐกิจไทยเดินมาถึงจุดจบให้เร็วขึ้นเท่านั้นเอง