วันนี้เมือ 32 ปีที่แล้ว 12 ส.ค.2528 ‘เจแปนแอร์ไลน์’ตก เสียชีวิต 520

"วันนี้ในอดีต 12 ส.ค. 2528  เจแปนแอร์ไลน์ เที่ยวบินJAL 123   ซึ่งเป็นเที่ยวบินของสายการบินเจแปนแอร์ไลน์ภายในประเทศ  ออกเดินทางจากท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียว(ฮะเนะดะ) ที่รันเวย์ C-15-L ในเวลา 18.12 น. เพื่อเดินทางสู่ท่าอากาศยานนานาชาติโอซะกะ(อิตะมิ) แต่หลังจากทะยานขึ้นฟ้าไปได้ 12 นาทีที่ความสูง 7,200 ฟิต บริเวณเหนืออ่าวซะงะมิ ได้เกิดเหตุระเบิดขึ้นบริเวณด้านท้ายลำตัวเครื่อง ทำให้ระบบไฮดรอลิกในการควบคุมเครื่องมีปัญหา การระเบิดที่บริเวณดังกล่าว คือ บริเวณแผงกั้นปรับความดันอากาศท้าย (Rear Pressure Bulkhead) ฉีกขาด ทำให้เครื่องสูญเสียความดันอย่างรุนแรง  หน้ากากออกซิเจนฉุกเฉินหล่นลงมาให้ใช้อัตโนมัติแต่เนื่องจากเครื่องสูญเสียความดัน ออกซิเจนแทบไม่พอ แอร์โฮสเตสต้องเดินถือถังออกซิเจนฉุกเฉินเดินให้ผู้โดยสารรายที่มีปัญหา"


วันนี้เมือ 32 ปีที่แล้ว 12 ส.ค.2528 ‘เจแปนแอร์ไลน์’ตก เสียชีวิต 520



นอกจากนี้จากแรงระเบิดทำให้แพนหางดิ่งฉีกขาดหลุดลอยไป ทำให้ไม่สามารถควบคุมเครื่องเลี้ยวซ้ายขวาได้
กัปตันจึงตัดสินใจบังคับเครื่องกลับสู่ชายฝั่ง และพยายามวิทยุขอความช่วยเหลือไปที่หอบังคับการบินโตเกียวเพื่อขออนุญาตนำเครื่องกลับไปร่อนลงฉุกเฉินที่โตเกียว และขอความช่วยเหลือไปที่ฐานทัพอากาศอเมริกาที่โยะโกะตะซึ่งอยู่ใกล้เส้นทางการบินมากที่สุด


เส้นทางการบินเส้นทางการบิน

เนื่องจากต้องรีบนำเครื่องกลับไปที่โตเกียวให้ได้อย่างเร็วที่สุด กัปตันพยายามตีวงเลี้ยวกับไปที่โตเกียวหลายครั้ง แต่ก็เป็นไปด้วยความยากลำบาก จนในที่สุดเครื่องก็เสียการทรงตัว เพดานการบินลดลง กัปตันพยายามเชิดหัวขึ้นและกางแฟลบแต่ไม่เป็นผล จนกระทั่งเครื่องบินกระแทกกับภูเขาบริเวณหุบเขาโอสุทากะ จังหวัดกุนมะ รวมระยะเวลานับตั้งแต่การระเบิดจนเครื่องตกทั้งสิ้น 32 นาที ผู้โดยสารบนเครื่องต่างมีเวลาในการบันทึกข้อความสั่งเสียถึงครอบครัวซึ่งหน่วยกู้ภัยมาพบเห็นภายหลัง"

ภาพวาดเครื่องบิน JL123 ก่อนที่จะสูญเสียแพนหางดิ่งภาพวาดเครื่องบิน JL123 ก่อนที่จะสูญเสียแพนหางดิ่ง

"อุบัติเหตุเครื่องบินตกครั้งนั้น มีผู้โดยสารเสียชีวิต 505 คน ลูกเรือ 15 คน รวมผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 520 คน และมีผู้รอดชีวิต 4 คน  นับเป็นอุบัติเหตุทางการบินที่มีจำนวนผู้เสียชีวิตในอากาศยานลำเดียวที่มากที่สุดในโลกผู้รอดชีวิตรายหนึ่ง กล่าวว่า ได้ยินเสียงคนร้องระงม ต่อมาก็ค่อยๆหายไปทีละเสียงๆ จนแทบไม่เหลือซักเสียง นาทีนั้นเหมือนฝันร้ายอย่างยิ่งสำหรับอากาศยานที่เกิดเหตุเป็นรุ่นโบอิง 747-SR 46 ทะเบียนหมายเลข JA8119 ขึ้นบินครั้งแรกเมื่อ 28 ม.ค. 2517 ก่อนที่จะเกิดอุบัติเหตุมีชั่วโมงการบินที่ 25,030 ชั่วโมง และ 18,835 รอบบิน"


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
เช็คเบอร์มือถือ คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์