ต้นแบบข้าแผ่นดิน!!พระยอดเมืองขวางผู้สละอิสรภาพและชีวิตเพื่อชาวสยาม
"พระยอดเมืองขวาง" ข้าราชการ ผู้ถือหน้าที่สำคัญกว่า อิสระภาพและชีวิต "หากเราไม่ยอมรับผิด มันก็จักถือเอาเป็นเหตุบีบคั้น พระพุทธเจ้าหลวงแล แผ่นดินสยามของเรา" เป็นบุตรของพระยาไกรเพ็ชร (มิตร กฤษณมิตร) เป็นข้าราชการฝ่ายปกครองในสังกัดกระทรวงมหาดไทย เคยประจำอยู่จำปาศักดิ์
ต่อมาได้เจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงานเป็นเจ้าเมืองเชียงขวาง(ที่มาของชื่อ)และเมืองคำม่วนตามลำดับ ท่านทำงานในบังคับบัญชาของพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม
ต่อมาได้เจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงานเป็นเจ้าเมืองเชียงขวาง(ที่มาของชื่อ)และเมืองคำม่วนตามลำดับ ท่านทำงานในบังคับบัญชาของพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม
ในปี พ.ศ. 2436 (ร.ศ. 112) เกิดกรณีพิพาทระหว่างการปักปันเขตแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ระหว่างไทยกับฝรั่งเศส เมื่อฝรั่งเศสต้องการเมืองคำม่วน กองทหารนำโดย "มองซิเออร์ลูซ" (Luce) บังคับให้พระยอดเมืองขวางออกจากเมืองคำม่วน เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคมพ.ศ. 2436 แต่พระยอดเมืองขวางไม่ยินยอมจึงเกิดการสู้รบกัน เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2436 เมื่อ "นายลูซ" สั่งให้ "นายกรอสกุรัง"พร้อมกับทหารญวน(ตอนนั้นญวนเป็นเมืองขึ้นฝรั่งเศส)เข้ามาจับกุมหลวงอนุรักษ์ ผู้ช่วยของพระยอดเมืองขวางที่ตำบลนาหลักหินปลายด่านคำม่วนต่อกับเมืองท่าอุเทนของฝั่งไทยและเกิดการต่อสู้กันทำให้ "นายกรอสกุรัง" เสียชีวิตพร้อมกับทหารญวน 11-12 คน บาดเจ็บ 3 คน ฝ่ายทหารไทยเสียชีวิต 6 คน บาดเจ็บ 4 คน
จากเหตุการณ์นี้ทำให้นายออกุสต์ ปาวีไม่พอใจกล่าวหาว่าพระยอดเมืองขวางเป็นฆาตกรบุกเข้าไปทำร้ายนายกรอสกุรังขณะนอนป่วยอยู่ในที่พักและนำเรื่องขึ้นพิจารณาคดีในศาลรับสั่งพิเศษ รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร แม่ทัพใหญ่อีสานใต้เป็นประธาน
คณะผู้พิพากษาซึ่งประกอบด้วย
พระยาสีหราชเดโชชัย
พระยาอภัยรณฤทธิ์
พระยาเทเวศวงศ์วิวัฒน์พระยาธรรมสารนิติ์
พระยาฤทธิรงค์ พระยาธรรมสารเนตติ์
มี หลวงสุนทรโกษาและ นายหัสบำเรออัยการเป็นทนายฝ่ายโจทย์
มีนายตีเลกี (William Alfred Tilleke) ต่อมารับราชการเป็น พระยาอรรถการประสิทธิ์ต้นสกุลคุณะดิลกและนายเวอร์นอน เพจ (Vernon Page) ชาวอังกฤษเป็นทนายจำเลย
จากเหตุการณ์นี้ทำให้นายออกุสต์ ปาวีไม่พอใจกล่าวหาว่าพระยอดเมืองขวางเป็นฆาตกรบุกเข้าไปทำร้ายนายกรอสกุรังขณะนอนป่วยอยู่ในที่พักและนำเรื่องขึ้นพิจารณาคดีในศาลรับสั่งพิเศษ รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร แม่ทัพใหญ่อีสานใต้เป็นประธาน
คณะผู้พิพากษาซึ่งประกอบด้วย
พระยาสีหราชเดโชชัย
พระยาอภัยรณฤทธิ์
พระยาเทเวศวงศ์วิวัฒน์พระยาธรรมสารนิติ์
พระยาฤทธิรงค์ พระยาธรรมสารเนตติ์
มี หลวงสุนทรโกษาและ นายหัสบำเรออัยการเป็นทนายฝ่ายโจทย์
มีนายตีเลกี (William Alfred Tilleke) ต่อมารับราชการเป็น พระยาอรรถการประสิทธิ์ต้นสกุลคุณะดิลกและนายเวอร์นอน เพจ (Vernon Page) ชาวอังกฤษเป็นทนายจำเลย
การพิจารณาคดี "พระยอดเมืองขวาง" ดำเนินเป็นเวลา 22 วัน ตั้งแต่24 กุมภาพันธ์ ถึง 16 มีนาคม พ.ศ. 2437 ศาลมีคำพิพากษาว่า พระยอดเมืองขวางไม่มีความผิดตามฟ้องและให้ปล่อยตัวเป็นอิสระสร้างความไม่พอใจให้กับนายลาเนสซังผู้สำเร็จราชการอินโดจีนและขอให้จัดตั้งศาลผสมไทย-ฝรั่งเศส ประกอบด้วยผู้พิพากษาฝรั่งเศส 3 คนเดินทางมาจากไซ่ง่อนและสยาม 2 คน พิจารณาคดีเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2437 และตัดสินให้จำคุกพระยอดเมืองขวาง 20 ปี ด้วยเสียงข้างมาก 3 เสียงของฝ่ายฝรั่งเศส
พระยอดเมืองขวางถูกจำคุกอยู่ 4 ปี ก็ได้รับอิสรภาพจากคำร้องขอของรัฐบาลฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2441 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานบำนาญให้เป็นพิเศษเดือนละ 500 บาท ท่านได้รับการยกย่องในฐานะวีรบุรุษผู้รักชาติต่อมาได้ล้มป่วยและเสียชีวิต ใน ร.ศ. 119 (พ.ศ. 2443) อายุได้ 48 ปี เป็นต้นสกุล "ยอดเพ็ชร์" และ "กฤษณมิตร"
พระยอดเมืองขวางถูกจำคุกอยู่ 4 ปี ก็ได้รับอิสรภาพจากคำร้องขอของรัฐบาลฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2441 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานบำนาญให้เป็นพิเศษเดือนละ 500 บาท ท่านได้รับการยกย่องในฐานะวีรบุรุษผู้รักชาติต่อมาได้ล้มป่วยและเสียชีวิต ใน ร.ศ. 119 (พ.ศ. 2443) อายุได้ 48 ปี เป็นต้นสกุล "ยอดเพ็ชร์" และ "กฤษณมิตร"
"นี่คือประวัติวีรบุรุษของเราในอดีตซึ่งเรียกกันว่าคดีพระยอดเมืองขวาง นำมาเล่าให้ฟังเพื่อรำลึกถึงความกล้าหาญของวีรบุรุษของเรา" ข้าราชการไทยในปัจจุปันมีผู้ใดบ้างที่กล้าหาญเสียสละดังเช่นพระยอดเมืองขวาง ทอดแลไปทั้งแผ่นดินยังไม่สดุดที่ใครสักผู้หนึ่งเลย
ที่มาจาก : FB โฆสิโต ผู้ให้กึกก้องแล้ว
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น