สวยแค่ไหนมาดู!? รูปร่าง-หน้าตาจริงๆของ ท้าวทองกีบม้าไม่เหมือนในละครแม้แต่น้อย
หน้าแรกTeeNee อาหารสมอง ตำนานโลก สวยแค่ไหนมาดู!? รูปร่าง-หน้าตาจริงๆของ ท้าวทองกีบม้าไม่เหมือนในละครแม้แต่น้อย
ละครบุพเพสันนิวาส กำลังฮิตติดกระแสอย่างมาก ย้อนกลับไปเมื่อคราวฟอลคอลพบแม่มะลิ แล้วตกหลุมรักในความสวยทันทีที่เจอนางจนต้องมาขอแต่งงาน อย่างไรก็ตามไม่มีใครรู้เลยว่าเมื่อก่อนนั้นความสวยของนางงามเพียงใดถึงทำให้ฟอลคอลตกหลุมรักได้เพียงนี้
Luang Sitsayamkan (หลวงสิทธิสยามการ) เขียนบรรยายถึงบุคลิกหน้าตาของท้าวทองกีบม้าไว้ในหนังสือ The Greek Favourite of The King of Siam ไว้ว่า
ท้าวทองกีบม้าเป็นหญิงสาวชาวญี่ปุ่น รูปร่างผอม ผมดำ ตาสีน้ำตาล ผิวหน้าสะอาดสดใส สูงราว ๕ ฟุต รูปร่างเล็ก สดใส ร่าเริง แม้จะไม่สวยมาก แต่เป็นหญิง "ผิวคล้ำ" ที่ดึงดูดใจและมีรูปร่างดี
Luang Sitsayamkan (หลวงสิทธิสยามการ) เขียนบรรยายถึงบุคลิกหน้าตาของท้าวทองกีบม้าไว้ในหนังสือ The Greek Favourite of The King of Siam ไว้ว่า
ท้าวทองกีบม้าเป็นหญิงสาวชาวญี่ปุ่น รูปร่างผอม ผมดำ ตาสีน้ำตาล ผิวหน้าสะอาดสดใส สูงราว ๕ ฟุต รูปร่างเล็ก สดใส ร่าเริง แม้จะไม่สวยมาก แต่เป็นหญิง "ผิวคล้ำ" ที่ดึงดูดใจและมีรูปร่างดี
ทั้งนี้หลวงสิทธิสยามการไม่ได้อ้างแหล่งที่มาของข้อมูลที่ไม่เคยมีใครกล่าวถึงนี้ ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบข้อมูลชิ้นนี้ได้ว่าเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใด หากยึดข้อมูลนี้ก็สามารถยืนยันได้ว่า รูปลักษณะภายนอกของท้าวทองกีบม้า แสดงให้เห็นชัดเจนว่าเป็น "สาวญี่ปุ่น" เต็มตัว
ผิวที่ค่อนข้างคล้ำ อาจเกิดจากภูมิอากาศ หรืออาจได้ส่วนมาจากฟานิค ผู้เป็นพ่อ ที่เป็นลูกครึ่งแขกกับญี่ปุ่น ท้าวทองกีบม้าจึงน่าจะมีผิวเหมือนกับชาวสยามลูกครึ่งจีน คือไม่ขาวซีดแบบชาวตะวันออก และไม่ดำคล้ำจนเกินไป
ผิวที่ค่อนข้างคล้ำ อาจเกิดจากภูมิอากาศ หรืออาจได้ส่วนมาจากฟานิค ผู้เป็นพ่อ ที่เป็นลูกครึ่งแขกกับญี่ปุ่น ท้าวทองกีบม้าจึงน่าจะมีผิวเหมือนกับชาวสยามลูกครึ่งจีน คือไม่ขาวซีดแบบชาวตะวันออก และไม่ดำคล้ำจนเกินไป
ด้านบุคลิกของท้าวทองกีบม้า ควรจะเป็นเช่นชาวญี่ปุ่นโดยทั่วไป เนื่องจากท้าวทองกีบม้าไม่ได้อยู่สยามเพียงลำพัง มีทั้งญาติสนิทและชาวญี่ปุ่น ที่เข้ามาอาศัยยู่ในสยามขณะนั้นเป็นจำนวนไม่น้อย ซึ่งแน่นอนว่าชาวญี่ปุ่นเหล่านั้นจะพาเอาวัฒนธรรม และวิถีชีวิตแบบเดิมของตัวติดมาด้วย จนสามารถแยกออกจากชาติอื่นได้อย่างง่ายดาย
ดังนั้น ท้าวทองกีบม้าจึงน่าจะ "แสดงตัว" อย่างชาวญี่ปุ่นทั่วไปซึ่งจะตรงกับบันทึกบาทหลวงเดอ แบส ที่ให้ "คำจำกัดความ" ท้าวทองกีบม้าเมื่อพูดถึงในครั้งแรกว่า
"...เขา(หมายถึงฟอลคอล) ได้บังเกิดความสนใจในคุณความดี และความงามของสตรีสาวชาวญี่ปุ่นคนหนึ่งนามว่า มารี ชีมารด์..."
ดังนั้น ท้าวทองกีบม้าจึงน่าจะ "แสดงตัว" อย่างชาวญี่ปุ่นทั่วไปซึ่งจะตรงกับบันทึกบาทหลวงเดอ แบส ที่ให้ "คำจำกัดความ" ท้าวทองกีบม้าเมื่อพูดถึงในครั้งแรกว่า
"...เขา(หมายถึงฟอลคอล) ได้บังเกิดความสนใจในคุณความดี และความงามของสตรีสาวชาวญี่ปุ่นคนหนึ่งนามว่า มารี ชีมารด์..."
อ้างอิง : หนังสือ การเมืองในประวัติศาสตร์ "ขนมหวาน" ของ ท้าวทองกีบม้า "มาดามฟอลคอน" "ขนมไทย" หรือ "ขนมเทศ". โดย ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย และปรามินทร์ เครือทอง. สำนักพิมพ์มติชน ๒๕๔๖
Cr:: silpa-mag.com
Cr:: silpa-mag.com
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น