เปิดตำนาน ศึกเชียงกราน นี่คือ ปฐมบทแห่งสงครามไทย-พม่า จริงหรือ?
พงศาวดารไทยหลายฉบับ ระบุว่า สงครามครั้งแรก ระหว่างไทยและพม่า เริ่มต้นขึ้น ในศึกเมืองเชียงกราน หรือที่ในพงศาวดารเรียกว่า เชียงไกรเชียงกราน ซึ่งจากศึกครั้งนั้น ได้นำไปสู่มหากาพย์สงครามระหว่างสองขั้วอำนาจที่ยิ่งใหญ่แห่งเอเชียอาคเนย์ที่ยาวนาน หลายร้อยปี
---
หลังอาณาจักรพุกามล่มสลายด้วยน้ำมือกองทัพมองโกล แผ่นดินอิระวะดีตกเป็นขอบขัณฑสีมาของจักรวรรดิมองโกลจวบจนเมื่ออำนาจมองโกลเสื่อมถอย หัวเมืองต่างๆจึงตั้งตนเป็นอิสระ เกิดเป็นแว่นแคว้นใหญ่น้อยหลายแห่ง จนต่อมา พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ กษัตริย์หนุ่มแห่งตองอู ได้ทำสงครามกับเมืองหงสาวดีของมอญ เพื่อหมายครองความเป็นใหญ่เหนือลุ่มน้ำอิรวะดี ซึ่งในยามที่ตองอูทำสงครามกับหงสาวดีนั้น อยู่ช่วงต้นรัชสมัยของสมเด็จพระไชยราชาธิราช พระมหากษัตริย์องค์ที่สิบสามแห่งกรุงศรีอยุธยา
พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้เหนือพระเจ้าตากายุทธปีและยึดครองกรุงหงสาวดีได้สำเร็จ จากนั้น จึงยาตราทัพลงใต้ เข้าตีเมาะตะมะ หัวเมืองใหญ่ฝ่ายใต้ของมอญ โดยหลังจากพิชิตเมาะตะมะได้ กองทัพหงสา-ตองอูได้รุกเข้ายึดเมืองเชียงกราน ในปี พ.ศ. ๒๐๘๑
ในหนังสือ ไทยรบพม่า ของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ระบุว่า เมืองเชียงกรานนี้ มอญเรียกว่า เมืองเดิงกรายน์ หมายถึงเมืองอัตรัน ในภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นเมืองท่าอยู่ถัดจากเมาะตะมะลงมา โดยอยู่แถบเขตแดนระหว่างไทยกับมอญ ทางด่านพระเจดีย์สามองค์ ในหนังสือกล่าวว่า แม้พลเมืองที่นี่จะเป็นมอญ แต่เชียงกรานเป็นเมืองขึ้นของไทยมาแต่ครั้งสุโขทัยเป็นราชธานี ทว่าทำนองพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้เห็นว่าเป็นเมืองมอญ จึงประสงค์จะเอาไปเป็นอาณาเขต
กรุงหงสาวดี
หลังอาณาจักรพุกามล่มสลายด้วยน้ำมือกองทัพมองโกล แผ่นดินอิระวะดีตกเป็นขอบขัณฑสีมาของจักรวรรดิมองโกลจวบจนเมื่ออำนาจมองโกลเสื่อมถอย หัวเมืองต่างๆจึงตั้งตนเป็นอิสระ เกิดเป็นแว่นแคว้นใหญ่น้อยหลายแห่ง จนต่อมา พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ กษัตริย์หนุ่มแห่งตองอู ได้ทำสงครามกับเมืองหงสาวดีของมอญ เพื่อหมายครองความเป็นใหญ่เหนือลุ่มน้ำอิรวะดี ซึ่งในยามที่ตองอูทำสงครามกับหงสาวดีนั้น อยู่ช่วงต้นรัชสมัยของสมเด็จพระไชยราชาธิราช พระมหากษัตริย์องค์ที่สิบสามแห่งกรุงศรีอยุธยา
พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้เหนือพระเจ้าตากายุทธปีและยึดครองกรุงหงสาวดีได้สำเร็จ จากนั้น จึงยาตราทัพลงใต้ เข้าตีเมาะตะมะ หัวเมืองใหญ่ฝ่ายใต้ของมอญ โดยหลังจากพิชิตเมาะตะมะได้ กองทัพหงสา-ตองอูได้รุกเข้ายึดเมืองเชียงกราน ในปี พ.ศ. ๒๐๘๑
ในหนังสือ ไทยรบพม่า ของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ระบุว่า เมืองเชียงกรานนี้ มอญเรียกว่า เมืองเดิงกรายน์ หมายถึงเมืองอัตรัน ในภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นเมืองท่าอยู่ถัดจากเมาะตะมะลงมา โดยอยู่แถบเขตแดนระหว่างไทยกับมอญ ทางด่านพระเจดีย์สามองค์ ในหนังสือกล่าวว่า แม้พลเมืองที่นี่จะเป็นมอญ แต่เชียงกรานเป็นเมืองขึ้นของไทยมาแต่ครั้งสุโขทัยเป็นราชธานี ทว่าทำนองพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้เห็นว่าเป็นเมืองมอญ จึงประสงค์จะเอาไปเป็นอาณาเขต
---
ครั้นเมื่อทัพหงสา-ตองอู มาตีเชียงกราน สมเด็จพระไชยราชาธิราชจึงยกทัพไปรบพม่า ในพระราชพงศาวดารมีปรากฏแต่ว่า "ถึงเดือน ๑๑ เสด็จไปเมืองเชียงกราน" แต่มีจดหมายเหตุของเมนเดส ปินโต นักผจญภัยชาวโปรตุเกสว่าครั้งนั้น มีพวกโปรตุเกสเข้ามาอยู่ในกรุงศรีอยุธยา ๑๓๐ คน สมเด็จพระไชยราชาธิราชเกณฑ์โปรตุเกสเข้ากองทัพไปด้วย ๑๒๐ คน ทัพอยุธยาได้รบพุ่งกับทัพหงสา-ตองอู ที่เชียงกรานเป็นสามารถ จนตีข้าศึกแตกพ่าย ได้เมืองเชียงกรานคืนมา ดังแต่ก่อน เมื่อพระไชยราชาธิราชเสด็จกลับถึงพระนคร ทรงพระราชทานบำเหน็จให้พวกโปรตุเกสที่ได้ช่วยรบ โดยพระราชทานที่ให้ตั้งบ้านเรือนแถวบ้านดินเหนือคลองตะเคียน ทั้งมีพระราชานุญาตให้พวกโปรตุเกสสร้างโบสถ์และเผยแผ่ศาสนาได้ จึงเป็นเหตุให้มีวัดคริสต์และบาทหลวงมาแต่นั้น
แม้ในพงศาวดารไทยส่วนใหญ่จะระบุว่า ศึกเชียงกรานเป็นสงครามระหว่างไทยกับพม่าครั้งแรก ทว่าหลักฐานทางฝ่ายพม่าไม่ได้ระบุดังนี้ โดยในพงศาวดารพม่าฉบับหอแก้ว ระบุว่า สาเหตุสงครามระหว่างไทยกับพม่าเริ่มขึ้นครั้งแรก เมื่อพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้สามารถพิชิตหงสาวดี เมาะมะตะ แปร ได้หมดแล้ว พระองค์ได้ทรงนำทัพไปตียะข่าย ในระหว่างทัพหงสา-ตองอู ติดพันการศึกที่ยะข่าย ฝ่ายอยุธยา ซึ่งตรงกับปลายรัชสมัยพระยอดฟ้า โอรสพระไชยราชา ได้ส่งออกญากาญจนบุรีคุมทัพไปตีทวาย พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ทรงพิโรธจึงให้พญาทะละคุมทัพมาตีทวายและจับตัวแม่ทัพนายกองอยุธยาสำเร็จโทษสิ้น
เมื่อได้ทวายคืน พระองค์ทรงหย่าศึกและรับบรรณาการจากยะข่าย จากนั้น พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้จึงให้แต่กองทัพรี้พลหนึ่งแสนสองหมื่น ก่อนเสด็จยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา ในสงครามคราวเสียพระสุริโยไท ซึ่งตรงกับปีแรกของรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
กองอาสาโปรตุเกส สมัยพระไชยราชาธิราช
ครั้นเมื่อทัพหงสา-ตองอู มาตีเชียงกราน สมเด็จพระไชยราชาธิราชจึงยกทัพไปรบพม่า ในพระราชพงศาวดารมีปรากฏแต่ว่า "ถึงเดือน ๑๑ เสด็จไปเมืองเชียงกราน" แต่มีจดหมายเหตุของเมนเดส ปินโต นักผจญภัยชาวโปรตุเกสว่าครั้งนั้น มีพวกโปรตุเกสเข้ามาอยู่ในกรุงศรีอยุธยา ๑๓๐ คน สมเด็จพระไชยราชาธิราชเกณฑ์โปรตุเกสเข้ากองทัพไปด้วย ๑๒๐ คน ทัพอยุธยาได้รบพุ่งกับทัพหงสา-ตองอู ที่เชียงกรานเป็นสามารถ จนตีข้าศึกแตกพ่าย ได้เมืองเชียงกรานคืนมา ดังแต่ก่อน เมื่อพระไชยราชาธิราชเสด็จกลับถึงพระนคร ทรงพระราชทานบำเหน็จให้พวกโปรตุเกสที่ได้ช่วยรบ โดยพระราชทานที่ให้ตั้งบ้านเรือนแถวบ้านดินเหนือคลองตะเคียน ทั้งมีพระราชานุญาตให้พวกโปรตุเกสสร้างโบสถ์และเผยแผ่ศาสนาได้ จึงเป็นเหตุให้มีวัดคริสต์และบาทหลวงมาแต่นั้น
แม้ในพงศาวดารไทยส่วนใหญ่จะระบุว่า ศึกเชียงกรานเป็นสงครามระหว่างไทยกับพม่าครั้งแรก ทว่าหลักฐานทางฝ่ายพม่าไม่ได้ระบุดังนี้ โดยในพงศาวดารพม่าฉบับหอแก้ว ระบุว่า สาเหตุสงครามระหว่างไทยกับพม่าเริ่มขึ้นครั้งแรก เมื่อพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้สามารถพิชิตหงสาวดี เมาะมะตะ แปร ได้หมดแล้ว พระองค์ได้ทรงนำทัพไปตียะข่าย ในระหว่างทัพหงสา-ตองอู ติดพันการศึกที่ยะข่าย ฝ่ายอยุธยา ซึ่งตรงกับปลายรัชสมัยพระยอดฟ้า โอรสพระไชยราชา ได้ส่งออกญากาญจนบุรีคุมทัพไปตีทวาย พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ทรงพิโรธจึงให้พญาทะละคุมทัพมาตีทวายและจับตัวแม่ทัพนายกองอยุธยาสำเร็จโทษสิ้น
เมื่อได้ทวายคืน พระองค์ทรงหย่าศึกและรับบรรณาการจากยะข่าย จากนั้น พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้จึงให้แต่กองทัพรี้พลหนึ่งแสนสองหมื่น ก่อนเสด็จยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา ในสงครามคราวเสียพระสุริโยไท ซึ่งตรงกับปีแรกของรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
--
นอกจากหลักฐานทางพม่าที่ระบุถึงสงครามครั้งนี้ไม่ตรงกับฝ่ายไทยแล้ว ในปีที่พงศาวดารไทยระบุว่า เกิดสงครามเชียงกราน คือปี พ.ศ. ๒๐๘๑ นั้นมีหลักฐานชัดเจนว่า พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ยังยึดเมาะตะมะไม่ได้ ทั้งยังติดพันการศึกกับแปร อังวะและยะข่าย จึงไม่น่าเป็นไปได้ที่จะสามารถยกทัพผ่านอาณาเขตเมาะตะมะลงมาตีเชียงกราน เพราะลำพังแค่ศึกที่เผชิญอยู่ก็นับว่าสาหัสมากแล้ว
ส่วนในจดหมายเหตุเมนเดส ปินโตที่ระบุว่ามีชาวโปรตุเกส 120 คนไปร่วมศึกสมัยพระไชยราชา ความจริงแล้ว บันทึกของปินโตระบุว่า เป็นการยกทัพไปรบกับกองทัพเมืองนายและพันธมิตรไทใหญ่ที่มาชิงอำนาจในล้านนาและข้ามแดนเข้ามาตีเมืองกำแพงเพชร ส่วนในบันทึกพงศาวดารอยุธยาที่เก่าที่สุด คือ พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ ซึ่งมีต้นฉบับมาจากพงศาวดารที่เขียนสมัยพระนารายณ์ ระบุเพียงว่าในปีดังกล่าว พระยานารายณ์ก่อกบฏที่กำแพงเพชร พระไชยราชาเสด็จไปยังเชิงไกรเชิงกราน จับพระยานารายณ์สำเร็จโทษ ซึ่งได้ความว่า ในปีนั้น พระไชยราชาเสด็จนำทัพไปปราบกบฏที่กำแพงเพชรและตั้งทัพอยู่เชียงไกรเชียงกราน ซึ่งแสดงว่า เชียงไกรเชียงกรานตั้งอยู่ทางเหนือแถบชายแดนอยุธยากับล้านนา
จากหลักฐานหลายฉบับ ซึ่งสืบค้นในระยะหลัง มีแนวโน้มไปทางว่า ศึกเชียงกราน ไม่น่าจะเป็นสงครามครั้งแรกระหว่างไทยกับพม่า แต่หากเอาตามบันทึกหลวงประเสริฐ ก็จะเป็นการปราบกบฏพระยานารายณ์ที่กำแพงเพชร หรือหากอิงจดหมายเหตุของปินโต ศึกเชียงกรานจะเป็นการทำสงครามกับกองทัพเมืองนาย ซึ่งเป็นการรบระหว่างไทย กับไทใหญ่ ไม่ใช่ ไทยกับพม่า
สงครามคราวเสียพระสุริโยไท
นอกจากหลักฐานทางพม่าที่ระบุถึงสงครามครั้งนี้ไม่ตรงกับฝ่ายไทยแล้ว ในปีที่พงศาวดารไทยระบุว่า เกิดสงครามเชียงกราน คือปี พ.ศ. ๒๐๘๑ นั้นมีหลักฐานชัดเจนว่า พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ยังยึดเมาะตะมะไม่ได้ ทั้งยังติดพันการศึกกับแปร อังวะและยะข่าย จึงไม่น่าเป็นไปได้ที่จะสามารถยกทัพผ่านอาณาเขตเมาะตะมะลงมาตีเชียงกราน เพราะลำพังแค่ศึกที่เผชิญอยู่ก็นับว่าสาหัสมากแล้ว
ส่วนในจดหมายเหตุเมนเดส ปินโตที่ระบุว่ามีชาวโปรตุเกส 120 คนไปร่วมศึกสมัยพระไชยราชา ความจริงแล้ว บันทึกของปินโตระบุว่า เป็นการยกทัพไปรบกับกองทัพเมืองนายและพันธมิตรไทใหญ่ที่มาชิงอำนาจในล้านนาและข้ามแดนเข้ามาตีเมืองกำแพงเพชร ส่วนในบันทึกพงศาวดารอยุธยาที่เก่าที่สุด คือ พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ ซึ่งมีต้นฉบับมาจากพงศาวดารที่เขียนสมัยพระนารายณ์ ระบุเพียงว่าในปีดังกล่าว พระยานารายณ์ก่อกบฏที่กำแพงเพชร พระไชยราชาเสด็จไปยังเชิงไกรเชิงกราน จับพระยานารายณ์สำเร็จโทษ ซึ่งได้ความว่า ในปีนั้น พระไชยราชาเสด็จนำทัพไปปราบกบฏที่กำแพงเพชรและตั้งทัพอยู่เชียงไกรเชียงกราน ซึ่งแสดงว่า เชียงไกรเชียงกรานตั้งอยู่ทางเหนือแถบชายแดนอยุธยากับล้านนา
จากหลักฐานหลายฉบับ ซึ่งสืบค้นในระยะหลัง มีแนวโน้มไปทางว่า ศึกเชียงกราน ไม่น่าจะเป็นสงครามครั้งแรกระหว่างไทยกับพม่า แต่หากเอาตามบันทึกหลวงประเสริฐ ก็จะเป็นการปราบกบฏพระยานารายณ์ที่กำแพงเพชร หรือหากอิงจดหมายเหตุของปินโต ศึกเชียงกรานจะเป็นการทำสงครามกับกองทัพเมืองนาย ซึ่งเป็นการรบระหว่างไทย กับไทใหญ่ ไม่ใช่ ไทยกับพม่า
----
แต่หากยึดเอาว่า เมืองเชียงกราน คือ เมืองอัตรัน ศึกเชียงกรานก็คงไม่ใช่การรบระหว่างไทยกับพม่าอีก เนื่องจากเวลานั้น ทัพพม่ายังบุกผ่านเมาะตะมะมาไม่ได้ และอัตรันยังอยู่ในการควบคุมของมอญ ดังนั้น ถ้าเชียงกรานอยู่ทางใต้ ศึกนี้ก็จะเป็นการรบระหว่างอยุธยากับเมืองในเขตอำนาจเมาะตะมะ หรือเป็นศึกระหว่างไทยกับมอญ (ซึ่งเป็นมอญในบังคับของเมืองเมาะตะมะ) ไม่ใช่ไทยกับพม่า เช่นดังที่เคยเข้าใจ ส่วนสาเหตุของสงคราม (อันนี้ขอบอกก่อนว่า เป็นความเห็นของผู้เขียน) อาจเป็นด้วย ฝ่ายอยุธยาเห็นว่า เมาะตะมะติดพันการศึก จนการควบคุมเมืองท่าทั้งหลายอ่อนแอลง ฝ่ายอยุธยาจึงฉวยโอกาสเข้ายึดเมืองท่าดังกล่าว เพื่อผลประโยชน์ทางการค้ากับต่างชาติทางตะวันตก เหมือนที่อยุธยาพยายามยึดเขมรไว้ในอำนาจ หรือทำสงครามกับมะละกาในมาเลเซีย ก็เพราะเป้าหมายแอบแฝงที่จะควบคุมเส้นทางการค้าทางฝั่งตะวันออก
ทั้งนี้ แม้เราอาจคิดว่า สงครามในสมัยก่อนมีสาเหตุจากความขัดแย้งของชนชั้นปกครอง และความต้องการแผ่อำนาจเพื่อสร้างความยิ่งใหญ่ แต่แท้จริงแล้ว ในการปกครอง ไม่ว่าจะสมัยไหน การสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจคือรากฐานสำคัญของอำนาจ ดังนั้น ในสงครามแต่ละครั้ง นอกจากมีสาเหตุจากเรื่องต่างๆที่มักเอามาอ้างกันแล้ว เป้าหมายสำคัญอีกข้อ แต่ไม่ค่อยถูกนำมาอ้าง ก็คือ เรื่องผลประโยชน์ทางการค้าอันจะนำมาสู่ความมั่งคั่งนี่เอง
Cr::: komkid.com
แต่หากยึดเอาว่า เมืองเชียงกราน คือ เมืองอัตรัน ศึกเชียงกรานก็คงไม่ใช่การรบระหว่างไทยกับพม่าอีก เนื่องจากเวลานั้น ทัพพม่ายังบุกผ่านเมาะตะมะมาไม่ได้ และอัตรันยังอยู่ในการควบคุมของมอญ ดังนั้น ถ้าเชียงกรานอยู่ทางใต้ ศึกนี้ก็จะเป็นการรบระหว่างอยุธยากับเมืองในเขตอำนาจเมาะตะมะ หรือเป็นศึกระหว่างไทยกับมอญ (ซึ่งเป็นมอญในบังคับของเมืองเมาะตะมะ) ไม่ใช่ไทยกับพม่า เช่นดังที่เคยเข้าใจ ส่วนสาเหตุของสงคราม (อันนี้ขอบอกก่อนว่า เป็นความเห็นของผู้เขียน) อาจเป็นด้วย ฝ่ายอยุธยาเห็นว่า เมาะตะมะติดพันการศึก จนการควบคุมเมืองท่าทั้งหลายอ่อนแอลง ฝ่ายอยุธยาจึงฉวยโอกาสเข้ายึดเมืองท่าดังกล่าว เพื่อผลประโยชน์ทางการค้ากับต่างชาติทางตะวันตก เหมือนที่อยุธยาพยายามยึดเขมรไว้ในอำนาจ หรือทำสงครามกับมะละกาในมาเลเซีย ก็เพราะเป้าหมายแอบแฝงที่จะควบคุมเส้นทางการค้าทางฝั่งตะวันออก
ทั้งนี้ แม้เราอาจคิดว่า สงครามในสมัยก่อนมีสาเหตุจากความขัดแย้งของชนชั้นปกครอง และความต้องการแผ่อำนาจเพื่อสร้างความยิ่งใหญ่ แต่แท้จริงแล้ว ในการปกครอง ไม่ว่าจะสมัยไหน การสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจคือรากฐานสำคัญของอำนาจ ดังนั้น ในสงครามแต่ละครั้ง นอกจากมีสาเหตุจากเรื่องต่างๆที่มักเอามาอ้างกันแล้ว เป้าหมายสำคัญอีกข้อ แต่ไม่ค่อยถูกนำมาอ้าง ก็คือ เรื่องผลประโยชน์ทางการค้าอันจะนำมาสู่ความมั่งคั่งนี่เอง
Cr::: komkid.com
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น