สงครามเวียดนาม กับ บทเรียนราคาแพงของสหรัฐอเมริกา เมื่อสหรัฐอเมริกาต้องพ่ายแพ้
สงครามเวียดนาม คือ ความขัดแย้งทางการทหารระหว่างสหรัฐอเมริกากับพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามในช่วงเวลาตั้งแต่เดือนมีนาคม ค.ศ.1965 เมื่อสหรัฐได้เปลี่ยนลักษณะของความขัดแย้งนี้โดยใช้วิธีการทิ้งระเบิดเวียดนามเหนืออย่างต่อเนื่อง
รัฐบาลสหรัฐมองว่าการเข้ามามีส่วนในสงครามของตนเป็นหนทางป้องกันการยึดเวียดนามใต้ของคอมมิวนิสต์อันเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การจำกัดการขยายตัวของลัทธิที่ไม่พึงปรารถนาที่ใหญ่กว่า โดยมีเป้าหมายที่แถลงไว้เพื่อหยุดการแพร่ของคอมมิวนิสต์ ตามทฤษฎีโดมิโนของสหรัฐ หากรัฐหนึ่งกลายเป็นคอมมิวนิสต์ รัฐอื่นในภูมิภาคก็จะเป็นไปด้วย ฉะนั้น นโยบายของสหรัฐจึงถือว่าการผ่อนปรนการแพร่ของคอมมิวนิสต์ทั่วประเทศเวียดนามนั้นยอมรับไม่ได้ รัฐบาลเวียดนามเหนือและเวียดกงต่อสู้เพื่อรวมเวียดนามอยู่ในการปกครองคอมมิวนิสต์ ทั้งสองมองข้อพิพาทนี้เป็นสงครามอาณานิคม ซึ่งเริ่มแรกสู้กับฝรั่งเศส โดยได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ
แล้วต่อมาสู้กับเวียดนามใต้ ซึ่งถูกมองว่าเป็นรัฐหุ่นเชิดของสหรัฐ ที่ปรึกษาทางทหารชาวอเมริกันมาถึงอินโดจีนขณะนั้นเริ่มตั้งแต่ปี 2493 การเข้ามามีส่วนของสหรัฐเพิ่มขึ้นในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 โดยมีระดับทหารเพิ่มเป็นสามเท่าในปี 2494 และเพิ่มอีกสามเท่าในปีต่อมา การเข้ามามีส่วนของสหรัฐทวีขึ้นอีกหลังเหตุการณ์อ่าวตังเกี๋ย ปี 2507 ซึ่งเรือพิฆาตของสหรัฐปะทะกับเรือโจมตีเร็วของเวียดนามเหนือ ซึ่งตามติดด้วยข้อมติอ่าวตังเกี๋ยซึ่งอนุญาตให้ประธานาธิบดีสหรัฐเพิ่มทหารในพื้นที่ หน่วยรบปกติของสหรัฐถูกจัดวางเริ่มตั้งแต่ปี 2498 ปฏิบัติการข้ามพรมแดนระหว่างประเทศ โดยพื้นที่ติดต่อกับประเทศลาวและกัมพูชาถูกกองทัพสหรัฐทิ้งระเบิดอย่างหนักขณะที่การเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐเพิ่มขึ้นสูงสุดในปี 2511 ปีเดียวกัน
เหตุการณ์เมื่อสหรัฐฯพ่ายแพ้ในสงครามเวียดนาม และ "กรุงไซ่ง่อนแตก"ทางกองทัพสหรัฐประเมินว่าเวียดนามใต้จะสามารถยันเวียดนามเหนือได้จนถึงปี 1976 เท่านั้น แต่ว่ากองทัพเวียดนามเหนือภายใต้การบังคับบัญชาของ หวั่น เตี๋ยง จุ๋ง กลับรุกคืบเวียดนามใต้ได้อย่างรวดเร็ว ตั้งแต่ปี 1975 ทำให้การคาดการณ์ของสหรัฐนั้นผิดและเวลาที่เวียดนามใต้จะแตกก็ใกล้ขึ้นมาอีก
การรุกที่รวดเร็วของเวียดนามเหนือตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน ทำให้ไซง่อนเริ่มถูกล้อมโดยพวกเวียดนามเหนือ กระแสการอพยพมีมากขึ้นผู้ตนต่างทยอยอพยพเป็นอย่างมาก เพราะผู้คนต่างก็กลัวว่าถ้าพวกเวียดกงเข้ามา จะเกิดการแก้แค้นและสังหารผู้คนในไซง่อน จากเหตุการณ์ในครั้งนี้ทำให้ประธานาธิดีเวียดนามใต้ เหงียน วัน เตี่ยว โดนกดดันจากทางรัฐมนตรีอย่างหนัก จนเกือบจะโดนรัฐประหาร แต่ว่าเขาก็ยังคงกุมอำนาจของเวียดนามใต้เอาไว้ได้
ซึ่งก็มีความเห็นที่แตกต่างกันออกไปเกี่ยวกับผลที่เตี่ยวในฐานะผู้นำรัฐบาลมีต่อการแก้ปัญหาทางการเมือง รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของรัฐบาลปฏิวัติเฉพาะกาลกล่าวในวันที่ 2 เมษายน ว่ารัฐบาลเฉพาะกาลอาจจะยอมเจรจากับรัฐบาลไซง่อนถ้ารัฐบาลนั้นไม่มีเตี่ยวอยู่ ทำให้แรงกดดันที่จะขับไล่เตี่ยวออกจากตำแหน่งเพิ่มขึ้น แม้แต่ในเหล่าผู้สนับสนุนของเตี่ยวเอง ในที่สุดเตี่ยวก็ลาออกจากการเป็นประธานาธิบดีและกล่าวตำหนิสหรัฐในด้านต่างๆ ก่อนเดินทางออกนอกประเทศเมื่อวันที่ 21 เมษายน 1975
หลังจากเตี่ยวลาออก ทำให้ ตรัน วัน เฮือง ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีคนถัดมา ซึงหลังจากนั้นไม่นานกรุงไซง่อนก็เริ่มถูกโจมตี การโจมตีครั้งนี้ทำให้ทั่วทั้งเมืองไซง่อนผู้คนต่างพาลูกหลานหนีออกประเทสกันอย่างจ้าละหวั่น เจ้าหน้าที่สหรัฐต้องทำหน้าที่กันอย่างหนัก ในสถานทูตเนืองแน่นไปด้วยผู้คนที่ทำเรื่องออกนอกประเทศ แต่แล้วเมื่อวันที่ 29 เมษายน ท่าอากาศยานเตินเซินเญิ้ตซึ่งเป็นท่าอากาศยานของไซง่อนที่ผู้คนต่างรอคอยกันอพยพถูกโจมตีอย่างหนักโดยการทิ้งระเบิดของพวกเวียดนามเหนือ ท ำให้การอพยพผู้คนต่องหยุดชะงัก สหรัฐจึงใช้ปฏิบัติการฟรีเควียนท์วินด์ ซึ่งเป็นการอพยพผู้คนโดยใช้เฮลิคอปเตอร์ ซึ่งเป็นปฏิบัติการที่อพยพประชาชนทางเฮลิคอปเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ด้วย
สถานีวิทยุอเมริกันเริ่มเล่นเพลงไวท์คริสต์มาส ของเออร์วิง เบอร์ลินต่อเนื่องกัน เพื่อเป็นสัญญาณให้บุคลากรอเมริกันเดินทางไปยังจุดอพยพในทันที หลังจากที่มาร์ตินเอกอัครราชทูตของสหรัฐประจำเวียดนามใต้ สั่งให้เริ่มปฏิบัติการฟรีเควียนท์วินด์ การอพยพเป็นไปอย่างต่อเนื่องที่สถานทูตอเมริกา แต่แผนการอพยพดั้งเดิมนั้นไม่ได้รวมการอพยพขนานใหญ่ที่สถานเอกอัคราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำกรุงไซ่ง่อน แต่มอบหมายให้เฮลิคอปเตอร์และรถโดยสารขนย้ายคนจากสถานทูตไปยังสำนักงาน DAO อย่างไรก็ตาม ระหว่างการอพยพ มีคนติดอยู่สถานทูตอยู่หลายพันคน ซึ่งมีรวมไปถึงชาวเวียดนามเป็นจำนวนมาก และยังมีพลเรือนชาวเวียดนามที่อยู่ข้างนอกสถานทูตพยายามปีนกำแพงเข้ามา โดยหวังที่จะได้สถานะผู้ลี้ภัย พายุฝนที่กระหน่ำลงทำให้ปฏิบัติการโดยใช้เฮลิคอปเตอร์ยุ่งยากขึ้นไปอีก แต่การอพยพคนจากสถานทูตก็ยังดำเนินไปอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงเย็นและกลางคืนมาร์ตินยังสามารถโน้มน้าวให้กองเรือรบที่เจ็ดอยู่กับที่อีกหลายวันเพื่อรอคนเวียดนามที่อาจหนีมาได้ทางเรือหรือเครื่องบิน เพื่อให้ทหารอเมริกันที่รออยู่ช่วยเหลือได้ ซึ่งก็มีมากหลายร้อยคน โดยชาวเวียดนามเป็นจำนวนมากที่อพยพออกมาได้รับอนุญาตให้เข้ามาอาศัยในสหรัฐอเมริกาภายใต้รัฐบัญญัติช่วยเหลือผู้ลี้ภัยและการอพยพจากอินโดจีน
โดยในการอพยพครั้งนี้ สามารถอพยพออกไปได้โดยไม่ถูกแทรกแซงจากทั้งเวียดนามเหนือและใต้ นักบินเฮลิคอปเตอร์ที่กำลังมุ่งหน้าไปยังเตินเซินเญิ้ตทราบดีว่าปืนต่อสู้อากาศยานของกองทัพเวียดนามเหนือกำลังจับเป้าอยู่แต่ไม่ยิง เนื่องจากฝ่ายบริหารจากฮานอยรู้ว่าความสำเร็จของการอพยพจะช่วยลดความเสี่ยงที่ฝ่ายอเมริกันจะกลับมาแทรกแซง และได้ให้คำสั่งกับหวั่น เตี๋ยง จุ๋งอย่างชัดเจนว่าไม่ให้โจมตีการอพยพทางอากาศเป้นอันเด็ดขาดหลังจากการอพยพโดยเฮลิคอปเตอร์ลำสุดท้ายสิ้นสุดลง จุ๋งได้รับคำสั่งให้บุกไซง่อน เขาจึงสั่งให้ผู้บัญชาการภาคสนามเคลื่อนทัพตรงไปยังสาธารณูปโภคสำคัญและจุดยุทธศาสตร์ในเมืองหน่วยของกองทัพเวียดนามเหนือหน่วยแรกที่เข้าไปในเมืองคือกองร้อยที่ 324ประธานาธิบดีดูง วัน มินห์แห่งเวียดนามใต้ ที่เพิ่งดำรงตำแหน่งมาได้สามวัน ออกแถลงการณ์ยอมจำนนเมื่อเวลา 10.24 น. และขอให้กองกำลังเวียดนามใต้ "หยุดต่อสู้ อยู่ในความสงบ และไม่เคลื่อนพลไปไหน" และเชิญรัฐบาลปฏิวัติเฉพาะกาลมาร่วม "พิธีถ่ายโอนอำนาจอย่างเป็นระเบียบเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียเลือดเนื้อของประชากรอย่างไม่จำเป็น" แต่อย่างไรก็ตาม ฝ่ายเวียดนามเหนือไม่สนใจที่จะเจรจาเพื่อครอบครองเมืองอย่างสันติ และใช้กำลังเข้ายึดเมือง และจับกุมมินห์ ประตูทำเนียบอิสรภาพถูกทำลายโดยรถถังของกองทัพเวียดนามเหนือขณะที่กำลังเข้าไป และธงเวียดกงถูกเชิญขึ้นเหนือทำเนียบในเวลา 11.30 น. ในเวลา 15.30 น. มินห์กระจายเสียงไปทางวิทยุ โดยแถลงว่า "ข้าพเจ้าประกาศรัฐบาลไซ่ง่อนสิ้นสุดลงในทุกระดับขั้น" การล่มสลายของรัฐบาลเวียดนามใต้จึงถือเป็นการยุติสงครามเวียดนามอย่างมีประสิทธิผล
รัฐบาลทำการจัดตั้งชั้นเรียนเพื่ออบรมใหม่ให้กับอดีตทหารเวียดนามใต้ ที่ระบุให้นักเรียนย้ายออกจากเมืองไปทำกสิกรรมเพื่อแลกกับการได้รับสถานะพลเมืองของสังคมคืนมา มีการแจกข้าวให้กับคนยากจนเพื่อแลกกับสัญญาที่จะออกจากไซ่ง่อนไปยังชนบท ตามข้อมูลของรัฐบาล ภายในสองปีของการยึดเมือง มีคนย้ายออกจากไซ่ง่อนกว่าหนึ่งล้านคนการที่กรุงไซง่อนแตกในครั้งนี้นับเป็นชัยชนะของฝ่ายคอมมิวนิสต์เวียดนาม และเป็นจุดจบของสงครามเวียดนามที่ดำเนินมากว่า 19 ปี
และยังเป็นจุดเริ่มต้นของเวียดนามหลังการรวมประเทศอีกด้วย ซึ่งในปัจจุบันทุกวันที่ 30 เมษายน จะถือเป็นวันรวมประเทศ และถือเป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์ในเวียดนามทีมีการจัดการเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่