เปิด 6 หน่วยรบพิเศษไทย ที่ขึ้นชื่อเรื่องความโหดและเก่ง!
ทหารเสือราชินี
กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ มีชื่อเต็มว่า กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ในสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง (ร.21 รอ.) เป็นหน่วยทหารรักษาพระองค์ เหล่าทหารราบ ขึ้นตรงต่อกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ กองทัพภาคที่ 1 ได้รับพระราชทานสมญานามจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ว่า "ทหารเสือนวมินทราชินี" หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า "ทหารเสือราชินี"
กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2493 ตามคำขอขององค์การสหประชาชาติ ในการจัดตั้งกำลังเข้าช่วยเหลือรัฐบาลของสาธารณรัฐเกาหลี เพื่อยับยั้งการรุกรานของฝ่ายคอมมิวนิสต์เกาหลีเหนือ โดยใช้นามหน่วยครั้งนั้นว่า “กรมผสมที่ 21”
ต่อมาจึงแปรสภาพหน่วยมาเป็นชื่อในปัจจุบันเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2502 ที่ตั้งหน่วยปัจจุบันอยู่ที่ค่ายนวมินทราชินี ตำบลบ้านสวน อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงดำรงตำแหน่งองค์ผู้บังคับการพิเศษของกรมทหารนี้
หน่วยเรนเจอร์ (Ranger)
ซึ่งหน่วยรบพิเศษผู้ประจำการในภาคพื้นก้อคือหน่วย เรนเจอร์ (Ranger) หรือที่รู้จักกันในชื่อ "เสือคาบดาบ"นั่นเอง
เสือคาบดาบนั้นจะมีอยู่หลายหน่วย ได้แก่ ฉก.90 , พลร่มป่าหวายและทหารพลร่มทั้งหลายทั้งปวง ทหารพลร่มนี้เป็นต้นกำเนิดของหลักสูตร เรนเจอร์หรือแรงเย่อร์ Ranger หรือที่รู้ๆกันคือ เสือคาบดาบครับ รวมทั้ง ร้อย ลว.ไกล ของแต่ละหน่วยงานอีกด้วย
หน่วยซีล (SEAL)
หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ หรือที่รู้จักกันในนาม ซีล (SEAL) หรือ มนุษย์กบ เป็นหน่วยรบพิเศษ สังกัดกองเรือยุทธการ ของกองทัพเรือไทย ซึ่งฝึกหนักที่สุดในบรรดาหน่วยรบพิเศษของทุกเหล่าทัพไทยเลยก็ว่าได้
การฝึกในหลักสูตรนักทำลายใต้น้ำจู่โจม ใช้ระยะเวลาประมาณ 7-8 เดือน นับเป็นการฝึกหลักสูตรทางทหารที่มีระยะเวลานานที่สุดของไทย แบ่งออกเป็น 5 ช่วง ได้แก่
- การแนะนำการฝึกเบื้องต้น ฝึกการออกกำลังกายและการฝ่าอุปสรรคต่าง ๆ ใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์
- การฝึกจริง ใช้เวลาประมาณ 6 สัปดาห์
- การฝึกแบบเข้มข้น หรือเรียกว่า "สัปดาห์นรก" ใช้เวลา 120 ชั่วโมงโดยไม่มีการหยุดพัก
- การฝึกสอนยุทธวิธีต่าง ๆ
- การฝึกยุทธวิธีในสภาพจริง ใช้เวลาประมาณ 2 เดือน
กองพันลาดตระเวน กองพลนาวิกโยธิน (RECON)
กองพันลาดตระเวน กองพลนาวิกโยธิน คำย่อ คือ พัน.ลว. พล.นย. หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า พัน.ลว. หรือที่รู้จักในนาม รีคอน (RECON) เป็นหน่วยรบระดับกองพันที่ขึ้นตรงต่อหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ถือเป็นหน่วยรบที่มีขีดความสามารถในการรบสูงที่สุดของนาวิกโยธิน สามารถทำการรบแบบ 3 มิติ (บก, น้ำ, อากาศ) เปรียบเสมือนหน่วยรบพิเศษของนาวิกโยธิน
อรินทราช 26
อรินทราช 26 เป็นหน่วยตำรวจที่มีความเชี่ยวชาญการใช้อาวุธและยุทธวิธีพิเศษ (Special Weapons And Tactics : S.W.A.T.) มีขีดความสามารถในการปฏิบัติการพิเศษต่อภัยคุกคามที่เป็นอาชญากรรม และการก่อการร้าย ด้วยการแย่งชิงตัวประกัน การจับกุม ฯลฯ ตามแนว "การบริหารวิกฤตการณ์" (Crisis Management) โดยมีพื้นที่รับผิดชอบในเมืองหลวง และปริมณฑล เป็นหน่วยระดับ กองร้อย มีอุปกรณ์ครบมือเช่น ปืนยิงแห, ปืนไฟฟ้า, ปืนพก, ปืนลูกซอง, ปืนกลเบา, ปืนไรเฟิล, ระเบิดมือ, อุปกรณ์ต่อต้านการจลาจล
ภารกิจและหน้าที่หลักๆ
- ช่วยเหลือตัวประกัน
- ควบคุมการก่อจลาจล
- ปราบปรามอาชญากรรม
- ต่อต้านการก่อการร้าย
- ให้ความปลอดภัยบุคคลสำคัญ
- เพิ่มการรักษาความปลอดภัยในจุดสำคัญ ในเวลาปกติ และเมื่อมีกิจกรรมพิเศษ
นเรศวร 261
นเรศวร 261 เป็นหน่วยตำรวจที่มีขีดความสามารถในการยุทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศ การยุทธส่งทางอากาศ การรบพิเศษ และการปฏิบัติการพิเศษ เพื่อตอบโต้ต่อภัยคุกคามที่เป็นทหาร และไม่ใช่ทหาร ในการสงครามพิเศษ และการแก้ไขปัญหา การก่อความไม่สงบ, การก่อการร้าย ทุกรูปแบบ ด้วยการปฏิบัติการปกปิด รับผิดชอบการปฏิบัติการทั่วประเทศ ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2526 ปัจจุบันเป็นหน่วยระดับกองกำกับการ มีผู้กำกับการเป็นหัวหน้าหน่วยราชการ ขึ้นตรงกับกองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
ภารกิจและหน้าที่หลักๆ
กองกำกับการ 3 กองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ หรือหน่วยปฏิบัติการพิเศษ นเรศวร 261 มีภารกิจด้านการปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากลและการก่อการร้ายในเมืองทุกรูปแบบ นอกจากนั้นยังมีภารกิจการถวายความปลอดภัยแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถและ พระบรมวงศานุวงศ์ เมื่อเสด็จแปรพระราชฐานประทับแรม ณ พระตำหนักต่าง ๆ ทั่วประเทศ รักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ และสถานที่สำคัญซึ่งมีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ งานเก็บกู้และทำลายวัตถุระเบิด และงานกู้ภัยทางยุทธวิธี มีโครงสร้างการจัดหน่วยประกอบด้วย กองร้อยปฏิบัติการพิเศษ (ร้อย ปพ.) จำนวน 3 กองร้อย, กองร้อยกู้ชีพ และงานเก็บกู้และทำลายวัตถุระเบิด
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น