“พลาสมา (น้ำเลือด)” ช่วยชีวิตทหารในสงครามโลกครั้งที่ 2


“พลาสมา (น้ำเลือด)” ช่วยชีวิตทหารในสงครามโลกครั้งที่ 2

ในบรรดานวัตกรรมทางการแพทย์ที่กรมแพทย์ทหารบกของสหรัฐฯ นําไปใช้ประโยชน์จนสามารถช่วยชีวิตทหารได้นั้น จัดได้ว่าของเหลวสีเหลืองในเลือดหรือ "พลาสมา" มีความสําคัญที่สุด พลาสมาถูกนำไปใช้เพื่อต้านผลกระทบจากภาวะช็อกและการสูญเสียเลือดจากบาดแผลฉกรรจ์ พลาสมาของเลือด (Blood Plasma) ช่วยชีวิตคนหลายพันคน

กองทัพบกสหรัฐฯ เห็นว่าพลาสมารวมถึงยาซัลฟา เพนนิซิลลิน แอทาบริน และมอร์ฟินเป็นยาที่มีประโยชน์ทางการทหารมากที่สุดในสงครามโลกครั้งที่ 2

ช่วงปลายทศวรรษ 1930 ดร.ชาร์ลส์ ดรูว์ และผู้เชี่ยวชาญด้านโลหิตวิทยาแห่งศูนย์การแพทย์โคลัมเบีย นิวยอร์กซิตี้ ได้ทำการทดลองโดยใช้ส่วนที่เป็นของเหลวในเลือด 55 เปอร์เซ็นต์ขององค์ประกอบทั้งหมด แทนที่จะใช้เลือกทั้งหมดในการถ่ายเลือด

ทั้งนี้ เมื่อแยกพลาสมาออกมาจากเซลล์เม็ดเลือดแดงและเซลล์เม็ดเลือดขาวของเลือดแล้ว พลาสมามีน้ำ 90 เปอร์เซ็นต์ และอีก 10 เปอร์เซ็นต์เป็นโปรตีนแอลบูมิน, ไฟบริโนเจน และโกลบูลิน ทั้งหมดนี้ช่วยให้เลือดแข็งตัว ต่อสู้การติดเชื้อและรักษาความดันเลือดให้คงที่



สิ่งที่น่าดึงดูดของพลาสมาก็คือ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปไหน มันคงตัวในรูปเดิมได้นานกว่าเลือด สามารถแช่แข็งเพื่อเก็บรักษาและเคลื่อนย้าย อีกทั้งสามารถทำเป็นพลาสมาแห้งได้และยังนำมาทำให้คืนตัวใหม่เมื่อต้องการใช้ การเสียเลือดของทหารเกิดขึ้น ในระยะห่างออกไปนับพันไมล์จากผู้บริจาคเลือดชาวอเมริกัน ซึ่งคัดเลือกและดำเนินการโดยสภากาชาดสหรัฐฯการพัฒนาพลาสมาที่สามารถเคลื่อนย้ายได้มีความสำคัญสูงเป็นอันดับแรกในทางการแพทย์

กรมแพทย์ทหารบกของสหรัฐฯ นำเอาพลาสมาไปใช้ในการถ่ายเลือดอย่างเร่งรีบ และพบว่าข้อจำกัดเพียงอย่างเดียวในการใช้มันคือเรื่องของปริมาณเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ในที่สุดสภากาชาดจึงได้จัดส่งพลาสม่า 13 ล้านยูนิตไปให้กองทัพซึ่งใช้ไปเกือบทั้งหมด จนเหลือเพียง 1.3 ล้านยูนิต

คำแนะนำส่วนใหญ่สำหรับการปรับปรุงพลาสมามุ่งเน้นไปที่การบรรจุหีบห่อและการฉีดมันเข้าเส้นเลือดของผู้ป่วย ปัญหาหนึ่งก็คือ สีของสลากและระบบการระงับใช้พลาสมาบรรจุขวด กระป๋อง และถุงที่ยืดหยุ่นได้ชั่วคราว แม้แต่กล่องที่ใช้ขนส่งพลาสม่า ก็ติดเทปสีขาวและติดสลากมากเกินไป ทำให้สไนเปอร์ของญี่ปุ่นสังเกตเครื่องหมายสีขาวบนกล่องพลาสม่าในการซุ่มยิงแพทย์ (ทหารเสนารักษ์) และผู้ป่วย ในที่สุดจึงมีการใช้สีน้ำตาลเหลืองของน้ำมันมะกอกทาบนกล่องพลาสม่าแทนอย่างเร่งด่วน

เมื่อสงครามยุติลง พลเอกดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ ชมเชยสภากาชาดและผู้บริจาคเลือดที่ได้ช่วยเหลือชีวิตของพลทหารอเมริกันหลายพันนาย เขายอมรับว่าพลาสมาเป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยม

เครดิตแหล่งข้อมูล : silpa-mag.com


“พลาสมา (น้ำเลือด)” ช่วยชีวิตทหารในสงครามโลกครั้งที่ 2

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
ดูดวง เลขบัตรประชาชน คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์