เปิดตำนาน “น้ำปลาพริก” หรือ พริกน้ำปลา คำไหนถูกต้อง?
สิ่งนี้เรียกว่า "น้ำปลาพริก"
คำว่า "น้ำปลาพริก" เป็นคำที่ใช้มาแต่เดิม "น้ำปลา" เป็นคำหลัก ส่วน "พริก" เป็นคำนามขยาย
แอดมินเห็นคำนี้เป็นประเด็นมาก เถียงกันว่าสิ่งนี้ แท้จริงแล้วเรียกว่าอะไรระหว่าง "น้ำปลาพริก" หรือ "พริกน้ำปลา" ซึ่งแอดมินเองก็ตัดสินไม่ได้ว่าคำไหนถูกต้อง แอดมินจึงส่งอีเมลไปถามสำนักงานราชบัณฑิตยสภา ถึงเรื่องนี้สำนักงานราชบัณฑิตยสภาก็ตอบมาว่าพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช ๒๕๕๔ ไม่ได้เก็บคำว่า "น้ำปลาพริก" หรือ "พริกน้ำปลา" ไว้ แต่เก็บคำว่า "น้ำปลา" และ "พริก" ไว้โดยมีความหมายดังนี้
น้ำปลา น. นํ้าสำหรับปรุงอาหารให้มีรสเค็ม ทำจากปลาเป็นต้นหมักกับเกลือ.
พริก น. ชื่อไม้ล้มลุกในสกุล Capsicum วงศ์ Solanaceae ผลมีรสเผ็ด มีหลายชนิด เช่น พริกขี้หนู ( C. frutescensL.), พริกหยวก พริกชี้ฟ้า ( C. annuum L.).
ทั้งนี้ หากพิจารณาความหมายของคำทั้งสองตามที่ปรากฏในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช ๒๕๕๔ คำว่า "น้ำปลาพริก" หรือ "พริกน้ำปลา" ก็คือ อาหารที่มีส่วนประกอบของน้ำปลาและพริกทั้งคู่
อย่างไรก็ตามได้สอบถามความเห็นจาก ดร.อนันต์ เหล่าเลิศวรกุล กรรมการวิชาการของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา ได้รับข้อมูลว่า "น้ำปลาพริก" คือคำที่ใช้มาแต่เดิม "น้ำปลา" เป็นคำหลัก ให้ความหมายว่า เค็ม ส่วน "พริก" เป็นคำนามขยาย พริกช่วยเสริมรสเค็มให้เจือเผ็ด เวลาเติมรสอาหารด้วยน้ำปลาพริกอย่างเติมในข้าวผัดเพราะต้องการความเค็มนำ แต่ไม่ต้องการเค็มโดด ๆ จึงใช้น้ำปลาพริก
นอกจากนี้มี "น้ำปลาพริก" อีกแบบหนึ่งที่ใช้ "พริกป่น" แทน "พริกขี้หนู" ก็เรียกว่า "น้ำปลาพริกป่น" ไม่มีผู้เรียกว่า "พริกป่นน้ำปลา"
คำว่า "น้ำปลาพริก" เป็นคำที่ใช้มาแต่เดิม "น้ำปลา" เป็นคำหลัก ส่วน "พริก" เป็นคำนามขยาย
แอดมินเห็นคำนี้เป็นประเด็นมาก เถียงกันว่าสิ่งนี้ แท้จริงแล้วเรียกว่าอะไรระหว่าง "น้ำปลาพริก" หรือ "พริกน้ำปลา" ซึ่งแอดมินเองก็ตัดสินไม่ได้ว่าคำไหนถูกต้อง แอดมินจึงส่งอีเมลไปถามสำนักงานราชบัณฑิตยสภา ถึงเรื่องนี้สำนักงานราชบัณฑิตยสภาก็ตอบมาว่าพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช ๒๕๕๔ ไม่ได้เก็บคำว่า "น้ำปลาพริก" หรือ "พริกน้ำปลา" ไว้ แต่เก็บคำว่า "น้ำปลา" และ "พริก" ไว้โดยมีความหมายดังนี้
น้ำปลา น. นํ้าสำหรับปรุงอาหารให้มีรสเค็ม ทำจากปลาเป็นต้นหมักกับเกลือ.
พริก น. ชื่อไม้ล้มลุกในสกุล Capsicum วงศ์ Solanaceae ผลมีรสเผ็ด มีหลายชนิด เช่น พริกขี้หนู ( C. frutescensL.), พริกหยวก พริกชี้ฟ้า ( C. annuum L.).
ทั้งนี้ หากพิจารณาความหมายของคำทั้งสองตามที่ปรากฏในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช ๒๕๕๔ คำว่า "น้ำปลาพริก" หรือ "พริกน้ำปลา" ก็คือ อาหารที่มีส่วนประกอบของน้ำปลาและพริกทั้งคู่
อย่างไรก็ตามได้สอบถามความเห็นจาก ดร.อนันต์ เหล่าเลิศวรกุล กรรมการวิชาการของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา ได้รับข้อมูลว่า "น้ำปลาพริก" คือคำที่ใช้มาแต่เดิม "น้ำปลา" เป็นคำหลัก ให้ความหมายว่า เค็ม ส่วน "พริก" เป็นคำนามขยาย พริกช่วยเสริมรสเค็มให้เจือเผ็ด เวลาเติมรสอาหารด้วยน้ำปลาพริกอย่างเติมในข้าวผัดเพราะต้องการความเค็มนำ แต่ไม่ต้องการเค็มโดด ๆ จึงใช้น้ำปลาพริก
นอกจากนี้มี "น้ำปลาพริก" อีกแบบหนึ่งที่ใช้ "พริกป่น" แทน "พริกขี้หนู" ก็เรียกว่า "น้ำปลาพริกป่น" ไม่มีผู้เรียกว่า "พริกป่นน้ำปลา"
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น