การเสด็จฯหัวเมืองปักษ์ใต้ด้วยเรือกลไฟเป็นครั้งแรก
วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ.๒๔๐๖ (วันอังคาร เดือน ๙ แรม ๒ ค่ำ ๑ เวลาเช้า ๔ โมง)
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ เสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ด้วยเรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดช นับได้ว่าเป็นการเสด็จฯหัวเมืองปักษ์ใต้ด้วยเรือกลไฟเป็นครั้งแรก ซึ่งปรากฏเรื่องราวการเสด็จฯ ในพระราชพงศาวดาร รัชกาลที่ ๔ ว่า
"ฝ่ายเรืออรรคราชวรช ยาว ๓๐ วา มีพื้น ๒ ชั้น จักรข้าง ๒ ปล่อง พณหัวเจ้าท่านที่สมุหพระกลาโหมทำเสร็จแล้ว ทรงพระราชดำริว่าจะใคร่ลองดูทางไกลๆ จะเดินน๊อตละกี่ไมล์ จึงดำรัสสั่งพณหัวเจ้าท่านสมุหพระกลาโหม ให้จัดเรือกลไฟพระที่นั่งสยามอรสุมพล พระที่นั่งรานรุกไพรี พระที่นั่งมณีเมขลา พระที่นั่งมหาพิไชยเทพและเรือสงครามครรชิต เรือศักสิทธาวุธ เรือเขจรชลคดี รวม ๗ ลำ"
และปรากฎข้อมูลตอนท้ายว่า "....เรือนั้นเดินถ้าใส่ไฟแรงเดินได้น๊อตละ ๑๑ ไมล์ ถ้าไฟอ่อนเดินได้น๊อตละ ๑๐ ไมล์"
ในการเสด็จหัวเมืองปักษ์ใต้ในครานั้น พระองค์ได้เสด็จประพาสเมืองชุมพร เมืองนครศรีธรรมราช เมืองสงขลา และเมืองปัตตานี เสด็จพระราชดำเนินกลับจากเมืองปัตตานี วันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ.๒๔๐๖
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ เสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ด้วยเรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดช นับได้ว่าเป็นการเสด็จฯหัวเมืองปักษ์ใต้ด้วยเรือกลไฟเป็นครั้งแรก ซึ่งปรากฏเรื่องราวการเสด็จฯ ในพระราชพงศาวดาร รัชกาลที่ ๔ ว่า
"ฝ่ายเรืออรรคราชวรช ยาว ๓๐ วา มีพื้น ๒ ชั้น จักรข้าง ๒ ปล่อง พณหัวเจ้าท่านที่สมุหพระกลาโหมทำเสร็จแล้ว ทรงพระราชดำริว่าจะใคร่ลองดูทางไกลๆ จะเดินน๊อตละกี่ไมล์ จึงดำรัสสั่งพณหัวเจ้าท่านสมุหพระกลาโหม ให้จัดเรือกลไฟพระที่นั่งสยามอรสุมพล พระที่นั่งรานรุกไพรี พระที่นั่งมณีเมขลา พระที่นั่งมหาพิไชยเทพและเรือสงครามครรชิต เรือศักสิทธาวุธ เรือเขจรชลคดี รวม ๗ ลำ"
และปรากฎข้อมูลตอนท้ายว่า "....เรือนั้นเดินถ้าใส่ไฟแรงเดินได้น๊อตละ ๑๑ ไมล์ ถ้าไฟอ่อนเดินได้น๊อตละ ๑๐ ไมล์"
ในการเสด็จหัวเมืองปักษ์ใต้ในครานั้น พระองค์ได้เสด็จประพาสเมืองชุมพร เมืองนครศรีธรรมราช เมืองสงขลา และเมืองปัตตานี เสด็จพระราชดำเนินกลับจากเมืองปัตตานี วันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ.๒๔๐๖
เรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดช
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ต่อขึ้น เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๐๐ เดิมชื่อ "เรือบรมราชวรฤทธิ์" ภายหลังได้พระราชทานนามใหม่ว่า "เรืออรรคราชวรเดช" เรือพระที่นั่งลำนี้เป็นเรือกลไฟจักร ๒ ปล่อง ปล่องใหญ่กว่าเรือกลไฟพระที่นั่งทั้งปวงที่มีอยู่ในเวลานั้น ด้วยมีพระราชประสงค์จะให้กระบวนเสด็จไปได้ในเรือลำเดียวกัน ไม่ต้องกะเกณฑ์พาหนะให้ลำบาก ลักษณะเป็นเรือยอชต์ ตัวเรือไม้ ระวางขับน้ำ ๖๐๐ ตัน ความเร็ว ๑๒ นอต เป็นเรือจักรช้าง ๒ ปล่อง ยาว ๖๔.๖๑ เมตร กว้าง ๖.๐๙ เมตร มีพื้น ๒ ชั้น มีปืนใหญ่ ๒ กระบอก
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ต่อขึ้น เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๐๐ เดิมชื่อ "เรือบรมราชวรฤทธิ์" ภายหลังได้พระราชทานนามใหม่ว่า "เรืออรรคราชวรเดช" เรือพระที่นั่งลำนี้เป็นเรือกลไฟจักร ๒ ปล่อง ปล่องใหญ่กว่าเรือกลไฟพระที่นั่งทั้งปวงที่มีอยู่ในเวลานั้น ด้วยมีพระราชประสงค์จะให้กระบวนเสด็จไปได้ในเรือลำเดียวกัน ไม่ต้องกะเกณฑ์พาหนะให้ลำบาก ลักษณะเป็นเรือยอชต์ ตัวเรือไม้ ระวางขับน้ำ ๖๐๐ ตัน ความเร็ว ๑๒ นอต เป็นเรือจักรช้าง ๒ ปล่อง ยาว ๖๔.๖๑ เมตร กว้าง ๖.๐๙ เมตร มีพื้น ๒ ชั้น มีปืนใหญ่ ๒ กระบอก
เรือกลไฟลำแรกที่คนไทยต่อขึ้นใช้ได้เอง
เรือพระที่นั่งสยามอรสุมพล ( อรสุม=ไอน้ำ พล=กำลัง) เป็นเรือกลไฟลำแรกที่คนไทยต่อขึ้นใช้ได้เอง สร้างเสร็จเมื่อ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๓๙๘ โดยลำเรือเป็นไม้ ต่อตัวเรือที่อู่ตรงข้ามท่าราชวรดิฐ ส่วนเครื่องจักรสั่งซื้อจากอังกฤษ มีจักรข้าง ความยาว ๗๕ ฟุต และความกว้าง ๒๐ ฟุต โดยต่อตัวเรือที่อู่ตรงข้ามท่าราชวรดิฐ ส่วนเครื่องจักรกำลัง ๑๕ แรงม้า
เครดิตแหล่งข้อมูล : FB คลังประวัติศาสตร์ไทย
เรือพระที่นั่งสยามอรสุมพล ( อรสุม=ไอน้ำ พล=กำลัง) เป็นเรือกลไฟลำแรกที่คนไทยต่อขึ้นใช้ได้เอง สร้างเสร็จเมื่อ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๓๙๘ โดยลำเรือเป็นไม้ ต่อตัวเรือที่อู่ตรงข้ามท่าราชวรดิฐ ส่วนเครื่องจักรสั่งซื้อจากอังกฤษ มีจักรข้าง ความยาว ๗๕ ฟุต และความกว้าง ๒๐ ฟุต โดยต่อตัวเรือที่อู่ตรงข้ามท่าราชวรดิฐ ส่วนเครื่องจักรกำลัง ๑๕ แรงม้า
เครดิตแหล่งข้อมูล : FB คลังประวัติศาสตร์ไทย
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น