หายาก! พบดอกไม้ในอำพัน เคยบานเมื่อ 100 ล้านปีก่อน


หายาก! พบดอกไม้ในอำพัน เคยบานเมื่อ 100 ล้านปีก่อน

เดลีเมล์ รายงานการค้นพบดอกไม้ในอำพัน เคยเบ่งบานเมื่อ 100 ล้านปีก่อนที่ประเทศเมียนมาในปัจจุบัน

นักวิจัยมหาวิทยาลัยโอเรกอน สหรัฐอเมริกา ระบุว่าดอกไม้ชนิดนี้เป็นสปีชีส์ใหม่ในวงศ์พืชชั้นสูง หรือพืชดอกที่เคยอยู่ในยุคครีเตเชียส และเก็บรักษาเป็นอย่างดีในอำพัน

มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Valviloculus pleristaminis จัดอยู่ในตระกูลไม้ดอกเป็นญาติกับต้นแบล็กฮาร์ต ซาซาฟราส ที่พบในออสเตรเลีย




หายาก! พบดอกไม้ในอำพัน เคยบานเมื่อ 100 ล้านปีก่อน

เมียนมาและออสเตรเลียห่างกันกว่า 7,400 ก.ม. แต่ในอดีตเมื่อครั้งที่ดอกไม้อยู่ในอำพัน ทั้ง 2 ประเทศอยู่ในมหาทวีปกอนด์วานาเหมือนกัน

การค้นพบดอกไม้ Valviloculus pleristaminis ทำให้ทราบว่าแผ่นทวีปแยกอออกจากมหาทวีปกอนด์วานาเป็นเวลานานกว่าที่คาดไว้ในทฤษฎีคาดไว้ก่อนหน้านี้

จอร์จ พอยนาร์ จูเนียร์ นักบรรพชีวินวิทยา มหาวิทยาลัยโอเรกอน กล่าวว่านี่อาจจะไม่ใช้ดอกไม้คริสต์มาสแต่สวยดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นดอกไม้ที่เคยอยู่บนโลกนี้เมื่อเกือบ 100 ล้านปีก่อน
ดอกเพศผู้มีขนาดเล็กมาก ประมาณ 2 มิลลิเมตร แต่มีเกสรตัวผู้ประมาณ 50 เกสร ลักษณะคล้ายก้นหอยที่ชี้ขึ้นไปบนฟ้า




หายาก! พบดอกไม้ในอำพัน เคยบานเมื่อ 100 ล้านปีก่อน

เกสรตัวผู้เป็นส่วนหนึ่งของดอกไม้เพศผู้ทำหน้าที่ผลิตเรณูซึ่งส่วนที่เรียกว่าอับเรณูคอยผลิตเรณู
จอร์จและเพื่อนที่ภาควิชาเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยโอเรกอน ตั้งชื่อดอกไม้ชนิดนี้ขึ้นมาและตีพิมพ์รายงานในวารสารของสถาบันวิจัยพฤกษศาสตร์แห่งเท็กซัส

Valva เป็นภาษาละติน แปลว่า "ใบไม้บนประตูบานพับ" ส่วน loculus แปลว่า "การแบ่ง" และ plerus หมายถึง "มากมาย" ส่วน staminis คือ "ดอกไม้ที่มีอวัยวะเพศผู้หลายอัน"

จอร์จกล่าวว่าตัวอย่างที่ได้มาเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มดอกไม้ซึ่งอาจะมีดอกไม้เพศเมียด้วยก็ได้
นอกจากความสวยงามแล้ว ฟอสซิลดอกไม้ยังมีคุณค่าเหนือกาลเวลา เนื่องจากบานในช่วงที่มหาทวีปกอนด์วานายังอยู่ และถูกอัมพันหุ้มไว้ก่อนที่จะแยกเป็นแผ่นทวีปพม่าตะวันตกและค่อยๆ แยกจากกันเป็นทวีปออสเตรเลียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้



เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์ข่าวสด


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
ดูดวง เลขบัตรประชาชน คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์