เปิดตำนาน เพชฌฆาต ถูกพูดถึงอีกครั้งในละคร วันทอง งานนี้ทำขนลุก
วิธีคัดเลือกเพชฌฆาต
พอเลือกเฟ้นได้คนที่มีดวงเหมาะสมแล้ว ผู้นั้นต้องเชี่ยวชาญเพลงดาบอย่างดี มีความรู้เรื่องดาบ มีความแม่นยำในการลงดาบ เพื่อจะได้ไม่เป็นการทรมานนักโทษจนเกินไป และผู้เป็นเพชฌฆาตจะต้องมีความรู้ทางด้านคาถาอาคมเป็นพิเศษด้วย เช่น คาถาสวดวิญญาณผีตายโหง อาคมก่อนหยิบดาบเพชฌฆาต รวมทั้งสามารถแก้อาถรรพณ์หากผู้ถูกประหารมีวิชาด้านคงกระพันชาตรี
เพชฌฆาตหรือมือประหารจะต้องอยู่ประจำ ณ เรือนจำตั้งแต่ได้รับคำสั่งให้เตรียมการ จากนั้นเมื่อได้เวลาเพชฌฆาตจะอัญเชิญดาบออกจากที่ตั้งไปทำการบวงสรวงด้วยเครื่องเส้น เสร็จพิธีแล้วจึงค่อยเก็บดาบไว้ที่ตั้งเดิมแล้วรอเวลาประหาร
อาวุธของเพชฌฆาต
สมัยก่อนอาวุธคู่กายของเพชฌฆาตคือ "ดาบ" ซึ่งดาบน้ำดีคือ "เหล็กน้ำพี้" การสร้างดาบเพชฌฆาตต้องถือ "ฤกษ์เพชฌฆาต" เป็นหลัก ส่วนการตีดาบให้ได้รูปลักษณ์ที่ต้องการและคมต้องใช้ยามยมขันธ์เป็นหลัก
ลักษณะดาบเพชฌฆาตแบ่งเป็น ดาบหนึ่ง และดาบสอง
ดาบหนึ่งจะมีความสั้นกว่าดาบสอง ใบดาบจะกว้างกว่า ด้ามดาบก็สั้นกว่า สันดาบจะหนาประมาณ 1 ซม. ส่วนด้ามดาบประกอบด้วยเหล็กรัด ใช้เชือกด้ายดิบถักหุ้มเพื่อให้สาก กระชับ ลงรักและยางไม้เพื่อรักษาด้ายให้คงทนต่อการใช้งาน สภาพดาบปลายจะหักลงแล้วงอนขึ้นคล้ายใบง้าวของจีน เพื่อให้เกิดน้ำหนักถ่วงทางโคนดาบให้สมดุล
ดาบสอง ลักษณะของใบดาบจะยาวกว่าดาบหนึ่งประมาณ 8 ซม. ใบดาบเรียวคล้ายดาบที่นักรบไทยโบราณทั่วไปใช้ ปลายดาบเฉียงต่ำรับกับความโค้งของใบดาบด้านล่าง สันดาบบางประมาณ 0.7 ซม.
ปัจจุบัน ดาบเพชฌฆาตคู่นี้ยังอยู่ในห้องพิเศษของคุกหลวง ห้ามผู้ใดแตะต้อง ทุกวันเสาร์จะมีการสังเวยด้วยเหล้าและไก่ต้มเป็นการบวงสรวง จนมีการเล่าขานกันว่าดาบ 2 เล่มดังกล่าวจะสั่นได้เองเหมือนถูกคนจับเขย่า และหลังจากดาบทั้งคู่สั่นไม่เกิน 7 วันก็จะต้องมีพิธีประหารชีวิตนักโทษเกิดขึ้น
เมื่อถึงรัชกาลที่ 6 จึงได้ยกเลิกการใช้ดาบ แต่ชีวิตนักโทษที่สังเวยไปด้วยดาบ 2 เล่มนี้ก็มีจำนวนไม่น้อยกว่า 1,000 ศพ
ขั้นตอนที่ 1 เมื่อได้ฤกษ์ประหาร เพชฌฆาตดาบหนึ่งและดาบสองจะถูกอัญเชิญลงจากที่ตั้ง ตัวเพชฌฆาตจะแต่งกายด้วยผ้าเตี่ยวสีแดงสด นุ่งหยักรั้ง สวมเสื้อกั๊กสีแดงลงยันต์มหาอำนาจ มหาเดช บางรายคาดหัวด้วยผ้าสีแดงลงยันต์ด้วย
ขั้นตอนที่ 2 เมื่อออกจากเรือนจำไปกับขบวนนักโทษ เพชฌฆาตจะอยู่รั้งท้ายขบวน เมื่อถึงลานประหารที่กำหนดไว้ นักโทษจะถูกผูกตา ช่วงนี้เองที่เพชฌฆาตทั้งดาบหนึ่ง ดาบสองจะเข้าไปขออโหสิกรรม
บนลานประหารด้านหลังนักโทษจะสร้างประตูป่า ทำด้วยไม้หลัก 3 อัน ผูกติดกันเป็นประตูปักไว้กับดินจนแน่น จากนั้นเจ้าหน้าที่จะนำเอาใบไม้กิ่งไม้มาสุมคลุมไว้จนมองไม่เห็นทางเข้า ยกเว้นมือเพชฌฆาตเท่านั้นที่รู้ ส่วนด้านในจะมีอาสนะยกพื้นสูงสำหรับพระสงฆ์นั่งประจำกับบาตรบรรจุน้ำมนต์ สองบาตร น้ำมนต์นี้เรียกว่า น้ำมนต์ธรณีสารใหญ่ เพื่อล้างเสนียดอัปรีย์ทั้งปวง ทั้งยังไล่เคราะห์ให้แก่เพชฌฆาตด้วย
ขั้นตอนที่ 3 เพชฌฆาตดาบหนึ่งและดาบสองจะเข้าไปอยู่หลังประตูป่าแล้วสวดคาถาอาคม ถ้านักโทษมีอาคมอยู่ในตัวเพชฌฆาตจะท่องมนต์สะกดอาคม พร้อมสะกดดวงวิญญาณผีตายโหง ส่วนที่ลานประหารจะมีการพันธนาการนักโทษเข้าสู่หลักประหาร แล้วพระธำมรงค์จะเดินไปแจ้งผู้แทนพระองค์ว่าจะเริ่มพิธีประหารแล้ว
ขั้นตอนที่ 4 ปี่หลวงจะเล่นเพลงไหว้ครูเสียงโหยหวน เพชฌฆาตดาบสองออกไปร่ายรำตามจังหวะเพลงโดยรอบตัวนักโทษด้วยการ "วนซ้าย" ให้เกิดอัปมงคลแก่ตัวนักโทษ แล้วจังหวะดนตรีจะเร่งเร็วขึ้นเรื่อยๆ
ขั้นตอนที่ 5 เพชฌฆาตดาบหนึ่งแหวกประตูป่าดู หลังจากทำจิตให้มั่นคงแล้ว ก็จะย่างสามขุมเข้าไปหานักโทษประหารทีละก้าวอย่างแผ่วเบา ในขณะที่นักโทษประหารมัวแต่ระแวงเพชฌฆาตดาบสองที่ร่ายรำอยู่รอบตัว โดยไม่ได้ระแวงภัยทางด้านหลัง
ขั้นตอนที่ 7 เลือดจะพุ่งกระฉูดเหมือนน้ำพุ ศีรษะของนักโทษบางรายยังยักคิ้วหรือทำตาเหลือก เพราะเส้นเอ็นกระตุก สร้างความสยดสยองให้คนดูไม่น้อยเลย
ขั้นตอนที่ 8 แต่ถ้าดาบหนึ่งตัดไม่ขาด เพชฌฆาตดาบสองจะเอามือจิกหัวนักโทษขึ้น แล้วใช้ดาบสองเชือดจนเส้นเอ็นกับกล้ามเนื้อขาด จากนั้นจึงค่อยนำไปวางยังปลายเท้านักโทษ
ขั้นตอนที่ 9 สำหรับเพชฌฆาตดาบหนึ่ง เมื่อลงดาบแล้วจะกระทืบเท้าครั้งหนึ่ง แล้วยกใบดาบขึ้น เลียเลือดที่ติดปลายดาบกิน เป็นการข่มวิญญาณผีตายโหง จึงค่อยหันหลังกลับวิ่งตรงเข้าประตูป่าทันที
(ทั้งนี้มีข้อห้าม มิให้เพชฌฆาตหันหลังกลับไปมอง และต้องระวังมิให้หกล้มลงกับพื้นเด็ดขาด ด้วยเชื่อกันว่าในช่วงนั้นวิญญาณผีตายโหงจะเข้าสิงทันที)
ขั้นตอนที่ 10 เมื่อเพชฌฆาตดาบหนึ่งผ่านเข้าประตูป่า พระสงฆ์จะรดน้ำมนต์ธรณีสารใหญ่ทั้งสองบาตร ต่อมาเพชฌฆาตจึงค่อยกลับไปอยู่ในเรือนจำเป็นอันจบพิธี
ในสมัยก่อนนักโทษบางคนจะมีอาคมแก่กล้าคงกระพัน ผู้เตรียมการจะนำสิ่งที่เป็นอัปมงคลผสมน้ำราดหัวให้ความคงกระพันเสื่อม แต่ถ้ายังไม่สำเร็จก็จะใช้วิธีสวนทวารด้วยไม้รวกปลายแหลมก่อนประหาร แต่ถ้ายังไม่ตายอีก นักโทษจะถูกทุบด้วยตะลุมพุกหรือเอาไปต้มในน้ำเดือดให้ตาย
การประหารนักโทษโดยใช้ดาบยุติลงในสมัยรัชกาลที่ 6 ในปัจจุบันการประหารชีวิตนักโทษตามคำพิพากษาของศาลนั้นจะเกิดที่เรือนจำบางขวาง จังหวัดนนทบุรี.