หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดแรงงานอีสานอพยพ “ชั่วคราว” เข้ากรุงเทพฯ


หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดแรงงานอีสานอพยพ “ชั่วคราว” เข้ากรุงเทพฯ

ผลกระทบของเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อเศรษฐกิจไทย แม้จะไม่มากนักก็ตามเริ่มส่งผลต่อการกระตุ้นสํานึกในเรื่องท้องถิ่นภาคอีสานนิยมของผู้คนในภูมิภาคนี้ ในขณะที่กรุงเทพฯ ได้ขยายตัวกลายเป็นเมืองใหญ่และพื้นที่ภาคกลางโดยทั่วไปได้พัฒนาเข้าสู่วงจรเศรษฐกิจเชิงพาณิชย์

ภาคอีสานยังคงอยู่ในระบบเศรษฐกิจการผลิตแบบพอยังชีพ ความยากลําบากในการผลิตทางด้านเกษตรกรรมอันเนื่องมาจากการขาดแคลนน้ำ ทําให้เกษตรกรไม่สามารถขยายพื้นที่เพาะปลูกเศรษฐกิจของภาคเศรษฐกิจในชนบทอีสาน ทําให้ชาวอีสานต้องอพยพออกไปหางานทําชั่วคราวในกรุงเทพฯ และในที่ต่างๆ นอกภาคอีสาน ความด้อยพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการอพยพไปขายแรงงานชั่วคราวที่กรุงเทพฯ ก่อให้เกิดความรู้สึกร่วมของชาวอีสานในการสร้างอัตลักษณ์ท้องถิ่นภาคอีสานนิยม

ภาคอีสานไม่สามารถตอบสนองต่อระบบเศรษฐกิจเชิงพาณิชย์ ที่ปรากฎตัวภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ดีเท่าภาคกลางเพราะมีลักษณะธรรมชาติที่แห้งแล้ง ลักษณะดิน แบบแผนภาวะน้ำฝน ภาวะน้ำท่วม และความหนาแน่นของประชากรต่อพื้นที่เพาะปลูกของภาคอีสาน สะท้อนถึงความไม่อุดมสมบูรณ์เมื่อเปรียบเทียบกับภาคกลาง ยกตัวอย่างตัวเลขแสดงผลผลิตข้าวเฉลี่ยของภาคกลางอยู่ที่ 227 กิโลกรัมต่อไร่ [1] ในปี ค.ศ. 1950-1951 ในขณะที่ภาคอีสานมีผลผลิตข้าวโพดโดยเลย 145 กิโลกรัมต่อไร่ในปีเดียวกัน (Thailand Ministry of Agriculture 1691:39) [2]

อย่างไรก็ตาม การเปรียบเทียบในลักษณะนี้มีความหมายน้อยมากสําหรับครัวเรือนชาวนาโดยทั่วไปในภาคอีสาน ตราบเท่าที่การผลิตของประเทศโดยรวมมุ่งไปในทิศทางของการผลิตแบบพอยังชีพและชาวนา ยังคงสามารถผลิตข้าวได้เพียงพอต่อความต้องการบริโภคของสมาชิกในครอบครัวของพวกเขาเอง

ในระยะภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ใหม่ๆ การผลิตข้าวส่งออกของภาคกลางขยายตัวอย่างรวดเร็วเพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศเพื่อนบ้านที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากสงครามและการปฏิวัติภายในประเทศ ภาคอีสานแตกต่างไปจากภาคกลางตรงที่ผลิตข้าวส่วนเกินได้เพียงจํานวนน้อยและข้าวที่ผลิตได้ส่วนมากก็ขายไม่ได้ง่ายนัก เพราะนิยมปลูกข้าวเหนียวไว้เพื่อรับประทานมากกว่าการผลิตข้าวเจ้า

นอกจากนี้ ยังมีทรัพยากรธรรมชาติที่จํากัดและระบบการเชื่อมโยง การขนส่งสื่อสารที่ยังไม่ดีเพียงพอ ล้วนแล้วแต่เป็นอุปสรรคในการผนึกผสานของชาวนาจากภูมิภาคอีสานเข้าสู่ระบบการผลิตการเกษตรเพื่อการค้าพาณิชย์ [3] ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษที่ 1950 ความต่างในเรื่องรายได้ระหว่างประชากรในภูมิภาคอีสานกับภาคกลางเห็นได้อย่างชัดเจนไม่เพียง เฉพาะในสายตาของคนภายนอก แต่ยังเป็นที่รู้สึกได้ในหมู่ชาวอีสานด้วย

ยกตัวอย่าง ในปี ค.ศ. 1953รายได้เฉลี่ยต่อปีต่อครัวเรือนของเกษตรกรในภาคอีสานมีเพียง 954 บาท [4] เมื่อเทียบกับ 2,888 บาท ของครัวเรือน เกษตรกรในภาคกลาง นอกจากนี้ รายได้ของครัวเรือนเกษตรกรอีสาน ยังน้อยกว่าครัวเรือนเกษตรกรในภูมิภาคอื่นๆ (Thailand, Ministry of Agriculture 1955:26)

ในขณะที่ประชากรในภูมิภาคอีสานยังคงไม่ได้รับผลกระทบจาก การขยายตัวของเศรษฐกิจใหม่ กรุงเทพฯ กลับพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ในช่วงระยะเวลาก่อนหน้าการขยายตัวในกรุงเทพฯ ชาวจีนที่อพยพเข้ามาประกอบกันเข้าเป็นแรงงานไร้ฝีมือส่วนใหญ่ในสังคมไทย เป็นกลุ่มผู้อพยพที่สามารถเลื่อนระดับชั้นทางสังคมในเวลาต่อมา จากเดิมซึ่งเป็นกลุ่มอพยพใหม่ที่มีสถานภาพทางสังคมเศรษฐกิจอยู่ที่บันไดชั้นล่างสุดของสังคมเมือง

อย่างไรก็ตาม ภายหลังปี ค.ศ. 1949 การอพยพ เข้าประเทศไทยของคลื่นมนุษย์จากประเทศจีนได้ยุติลงและตามมาด้วยมาตรการของรัฐบาลไทยในการจํากัดโควตาผู้อพยพเข้าจากแต่ละประเทศไม่ให้เกิน 200 คนต่อปี (Skinner 1957:117-118) ความต้องการแรงงานในเขตเมืองหลวงที่กําลังขยายตัวมาพร้อมกับมาตรการปิดกั้นการอพยพเข้าของแรงงานจากนอกประเทศ ทำให้เกิดการขาดแคลนแรงงานในเขตเมืองหลวง ช่องว่างนี้ถูกเติมเต็มโดยแรงงานจากกลุ่มคนท้องถิ่น ภายในสังคมไทย เฉลี่ยประมาณ 37,800 คนต่อปีภายในช่วงระยะ จากปี ค.ศ. 1947-1954 [5]

ในจํานวนนี้ผู้อพยพที่หลั่งไหลเข้ามาทํางานในเมืองหลวง มีชาวนาจากภาคอีสานจํานวนมากเข้ามาทํางานเป็นแรงงานรับจ้างเพื่อหารายได้เสริมจากการเกษตรกรรมแบบพอยังชีพของครอบครัวในชนบท (cf.Textor 1961:15-16) ถึงแม้ว่า ชาวนาจากภาคอีสานจะไม่ใช่ผู้อพยพเข้ามหามาหางานทําในกรุงเทพฯ เพียงกลุ่มเดียว

แต่ตําแหน่งแห่งที่ของชาวนาอีสานในนครของประเทศไทยก็มีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากกลุ่มอื่นๆ

ลักษณะประการหนึ่ง คือ ชาวบ้านจากภาคอีสานส่วนใหญ่อพยพเข้ามาในกรุงเทพฯ แบบ "ชั่วคราว" หมายความว่า ผู้อพยพส่วนใหญ่ อพยพเข้ากรุงเทพฯ ตามฤดูกาล โดยมากเข้ามาระหว่างช่วงเก็บเกี่ยวข้าว แล้วจนถึงก่อนช่วงการปลูกข้าวใหม่ในปีถัดไป หรืออพยพเข้ามาทํางานอยู่ในกรุงเทพฯ ประมาณ 2-3 ปีก่อนจะกลับไปตั้งถิ่นฐานที่หมู่บ้านเกิด อย่างถาวร (Textor 196111; Keyes 1966a: 312 et passim)

ประการที่สอง ผู้อพยพชาวชนบทส่วนใหญ่อยู่ในวัยหนุ่มสาว มีอายุระหว่าง 20-29 ปี [6]

ประเด็นสุดท้าย ชาวนาอีสานที่อพยพเข้ามาทํางานในเขตกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่เป็นประเภทแรงงานไร้ฝีมือ ประกอบอาชีพเป็นคนถีบสามล้อรับจ้าง (จนกระทั่งมีกฎหมายยกเลิกการถีบสามล้อรับจ้าง ในพื้นที่สาธารณะในเขตกรุงเทพมหานครในปี ค.ศ. 1960) เป็นกรรมกรก่อสร้าง กรรมกรโรงสีข้าวหรือโรงงานที่คนจีนเป็นเจ้าของ

ถึงแม้ไม่ปรากฏจํานวนที่ชัดเจนของชาวบ้านจากภาคอีสานที่อพยพมาทํางานชั่วคราวในเมืองหลวง อย่างไรก็ตาม มีหลักฐานเพียงพอที่จะระบุได้ว่าผู้ชายจากหลายแห่งในภาคอีสานที่เติบโตในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นผู้ที่มีประสบการณ์เกี่ยวข้องกับการอพยพ ยกตัวอย่าง ที่หมู่บ้านหนองตื่น จังหวัดมหาสารคาม ที่ผมทําวิจัยภาคสนาม พบว่า 49 เปอร์เซ็นต์ของชายที่มีอายุ 20 ปี และมากกว่า หรือ 67 เปอร์เซ็นต์ของชายที่มีอายุระหว่าง 30-39 ปี ล้วนมีประสบการณ์ทํางานในกรุงเทพฯ (มีผู้หญิงเพียงคนเดียวที่เคยไปทํางานในกรุงเทพฯ) [7]

ในกรุงเทพฯ มีผู้อพยพจากภาคอีสานพบว่า พวกเขาถูกคนไทย ในเมืองหลวงมองว่าด้อยกว่า ไม่เพียงเพราะว่าถูกจ้างทํางานในอาชีพ ที่ใช้แรงงาน มีค่าตอบแทนน้อย พวกเขายังพบว่าคนที่เมืองหลวงคิดว่า พวกเขาเป็นกลุ่มคนบ้านนอกจากต่างจังหวัดที่มีการศึกษาน้อย ไม่ค่อยพัฒนา และด้อยในทางวัฒนธรรม (cf, Textor 1961:17, 24-25)

การเผชิญกับสภาพเช่นนี้ทําให้คนอีสานมีแนวโน้มที่จะรวมกลุ่มกันเมื่อมาอยู่กรุงเทพฯ เนื่องจากมีความรู้สึกร่วมในวัฒนธรรมย่อย ภาษาถิ่น รสนิยมเรื่องอาหาร ดนตรี และอื่นๆ (Textor 1961:22) ที่กรุงเทพฯ แรงงานอพยพจากภาคอีสานปรากฏตัวขึ้นในรูปลักษณะของชนชั้นผู้ใช้แรงงานที่การรวมตัวและความปรารถนาของพวกเขามักได้รับการนําไปใช้ประโยชน์โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จากภาคอีสาน

เครดิตแหล่งข้อมูล : silpa-mag.com


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
ดูดวง เลขบัตรประชาชน คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์