ทำนาที่สาทร เมื่อ พ.ศ. 2480 ก่อนมีถนนสาทร
ภาพบรรยากาศการทำนาที่บริเวณสาทร กรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. 2480 แสดงให้เห็นว่าการขยายตัวของกรุงเทพฯ เมื่อก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ยังกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพฯ ชั้นใน
ส่วนบริเวณถนนสีลม ถนนสาทรยังคงเป็นชานพระนคร มีลักษณะแบบชนบททั่วไป คือ การทำนา
คลองสาทรขุดเมื่อไรไม่ปรากฏ แต่น่าจะก่อน พ.ศ. 2430 เพราะมีหลักฐานในแผนที่กรุงเทพฯ จ.ศ. 1249 (พ.ศ. 2430) แล้ว (ในแผนที่ปรากฏตึกเพียง 3 หลัง ในริมคลองด้านทิศเหนือ ช่วงใกล้มาทางถนนเจริญกรุง)บุคคลซึ่งริเริ่มให้ขุด คือ หลวงสาทรราชายุกต์ (ยม พิศลยบุตร) โดยขุดคลองเชื่อมระหว่างถนนเจริญกรุงกับถนนหัวลำโพง เรียกกันลำลองว่า คลองพ่อยม และได้จัดสรรที่ดินขายให้กับผู้สนใจ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกงสุลต่างประเทศ พ่อค้าและผู้มีฐานะ และหลวงสาทรราชายุกต์ (ยม พิศลยบุตร) ได้สร้างบ้านส่วนตัวขึ้นบริเวณด้านเหนือของคลอง (ปัจจุบัน คือ โรงแรมดับเบิลยู ก่อนหน้านี้ คือ สถานทูตรัสเซีย และโรงแรมรอแยล ตามลำดับ)
ครั้นถึง พ.ศ. 2522 มีโครงการพัฒนาถนนสาทรเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด จึงมีการสร้างถนนขนาด 4 ช่องจราจร ทั้งเหนือและใต้ โดยคร่อมคลองสาทรไว้ตรงกลาง ทำให้ต้องตัดต้นไม้ริมคลองทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย
หลวงสาทรราชายุกต์ (ยม พิศลยบุตร) กรมท่าซ้าย เกิดเมื่อ พ.ศ. 2400 เป็นบุตรพระยาพิสณฑ์สมบัติบริบูรณ์ (เจ้าสัวยิ้ม) กับปราง (ขรัวยาย) ป่วยเป็นอหิวาตกโรค อาการทรุดหนักลง ถึงแก่กรรม วันที่ 1 พฤษภาคม ร.ศ. 114 (พ.ศ. 2438) อายุได้ 38 ปี มีบุตร ธิดากับริ้ว ภรรยา 3 คน คือ 1. พระสมบัตยานุกูล (ฉิม พิศลยบุตร) 2. ชื่น 3. แช่ม มีสามี ชื่อ หลวงจิตจำนง (ถมยา รงควานิช)
ครั้นถึง พ.ศ. 2522 มีโครงการพัฒนาถนนสาทรเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด จึงมีการสร้างถนนขนาด 4 ช่องจราจร ทั้งเหนือและใต้ โดยคร่อมคลองสาทรไว้ตรงกลาง ทำให้ต้องตัดต้นไม้ริมคลองทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย
หลวงสาทรราชายุกต์ (ยม พิศลยบุตร) กรมท่าซ้าย เกิดเมื่อ พ.ศ. 2400 เป็นบุตรพระยาพิสณฑ์สมบัติบริบูรณ์ (เจ้าสัวยิ้ม) กับปราง (ขรัวยาย) ป่วยเป็นอหิวาตกโรค อาการทรุดหนักลง ถึงแก่กรรม วันที่ 1 พฤษภาคม ร.ศ. 114 (พ.ศ. 2438) อายุได้ 38 ปี มีบุตร ธิดากับริ้ว ภรรยา 3 คน คือ 1. พระสมบัตยานุกูล (ฉิม พิศลยบุตร) 2. ชื่น 3. แช่ม มีสามี ชื่อ หลวงจิตจำนง (ถมยา รงควานิช)
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น