ผู้ประกันตน ม.33 รู้ทันสิทธิเบิกเงินทดแทนการขาดรายได้


ผู้ประกันตน ม.33 รู้ทันสิทธิเบิกเงินทดแทนการขาดรายได้

พฤติกรรมการใช้ชีวิต การกิน การอยู่ของผู้คน เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสุขภาพร่างกายทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมถึงการประสบอันตรายที่ไม่อาจคาดคิดในชีวิตประจำวัน

ด้วยเหตุผลเหล่านี้ จึงเป็นตัวแปรที่อาจทำให้ผู้ประกันตนเกิดอาการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยจนต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งในเรื่องนี้ทางสำนักงานประกันสังคม ได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างมากกับการดูแลผู้ประกันตนได้เข้าถึงการบริการทางการแพทย์ที่ดีและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะสิทธิประโยชน์ที่จะคุ้มครองผู้ประกันตนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ซึ่งปกติแล้วถ้าผู้ประกันตนประสบอันตรายหรือมีอาการเจ็บป่วยทั่วไป สามารถใช้สิทธิประกันสังคมเข้ารับบริการ ณ สถานพยาบาลตามสิทธิได้ทันที รวมถึงสิทธิการฉีดวัคซีนตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคที่กำหนดขึ้นในแต่ละปีอีกด้วย

นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ระบุว่าผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่จะได้รับสิทธิประโยชน์กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยที่มิใช่เนื่องจากการทำงานนั้น จะต้องเป็นผู้ประกันตนที่นำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนวันรับบริการทางการแพทย์ หรือจ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน ก่อนเดือนที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย โดยหากเป็นการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยปกติทั่วไป ผู้ประกันตนจะได้รับการรักษาพยาบาล เมื่อเข้ารักษาในสถานพยาบาลที่ผู้ประกันตนมีสิทธิ และไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ แต่หากผู้ประกันตนต้องหยุดพักรักษาตัวตามคำสั่งแพทย์ในช่วง 30 วันจะได้รับเงินชดเชยการขาดรายได้จากนายจ้างก่อนตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานและหลังจากวันที่ 31 เป็นต้นไปจะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ ร้อยละ 50 ของค่าจ้าง สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท โดยได้รับตามใบรับรองแพทย์

ที่ระบุวันให้หยุดพักรักษาตัวครั้งละไม่เกิน 90 วัน และไม่เกิน 180 วันต่อปี เว้นแต่ผู้ประกันตนป่วยด้วยโรคเรื้อรังจะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ ไม่เกิน 365 วันต่อปี นอกจากนี้หากผู้ประกันตนป่วย

ด้วยโรคเรื้อรัง เมื่อเสียชีวิตจะได้รับค่าทำศพและเงินสงเคราะห์กรณีตายเช่นเดียวกับกรณีตายตาม

สิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนมาตรา 33 อีกด้วย


สำหรับเอกสารที่ผู้ประกันตนต้องนำมายื่นในการรับเงินทดแทนขาดรายได้ ประกอบด้วย

1. แบบคำขอประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส.2-01)

2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

3. สำเนาบัตรประกันสังคม (ต่างชาติ/ต่างด้าว)

4. สำเนาหนังสือเดินทาง (Passport) หรือสำเนาหนังสือเดินทางชั่วคราว หรือเอกสารรับรองบุคคลที่ทางราชการออกให้ (ต่างชาติ/ต่างด้าว)

5. ใบรับรองแพทย์ตัวจริงที่ระบุวันหยุดงาน

6. หนังสือรับรองของนายจ้าง เพื่อยืนยันว่าได้รับค่าจ้างในวันที่ลาป่วยครบ 30 วันใน 1 ปีปฏิทิน (ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน) และแพทย์มีคำสั่งให้หยุดงานต่ออีก

7. สถิติวันลาป่วยที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)

8. สำเนาเอกสารใบเปลี่ยนชื่อ-ชื่อสกุล (ถ้ามี)

9. สำเนาสมุดบัญชีธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่น

ผู้ประกันตน ม.33 รู้ทันสิทธิเบิกเงินทดแทนการขาดรายได้

ผู้ประกันตนสามารถยื่นแบบคำขอได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ /จังหวัด/สาขา ทั่วประเทศ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่สายด่วน 1506 ให้บริการ 24 ชั่วโมง หรือ Line ID: @ssothai Facebook: สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน และทางเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th

#Website: www.sso.go.th

#Facebook: สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน

#Instagram: sso_1506

#Twitter: @sso_1506

#YouTube: สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน

#Hotline: 1506 (ตลอด 24 ชั่วโมง)

#LINE: @SSOTHAI

#TikTok: @SSONEWS1506



ผู้ประกันตน ม.33 รู้ทันสิทธิเบิกเงินทดแทนการขาดรายได้

เครดิตแหล่งข้อมูล : PPTVHD36


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
คุณ : ประชาธิปไตย.โน้ส อุดม
สถานะ : บุคคลทั่วไป
IP : 58.11.120.148

58.11.120.148,,ppp-58-11-120-148.revip2.asianet.co.th ความคิดเห็นที่ 1 [อ้างอิง]
อย่างฮา ..ความจริง แทงใจดำ "สลิ่ม คับแค้นใจ" รับไม่ได้


[ วันศุกร์ ที่ 14 ตุลาคม 2565 เวลา 09:03 น. ]
คุณ : กะเทยควาย
สถานะ : บุคคลทั่วไป
IP : 58.10.221.127

58.10.221.127,,cm-58-10-221-127.revip7.asianet.co.th ความคิดเห็นที่ 2 [อ้างอิง]
ชีวิตไม่จำเป็นต้องรวยล้นฟ้า ชอบชีวิตธรรมดา แต่ใช้เงินไม่มีวันหมด ..


[ วันศุกร์ ที่ 14 ตุลาคม 2565 เวลา 11:59 น. ]
เช็คเบอร์มือถือ คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์