ย้อนที่มา ถนนชื่อสยาม แต่ไม่ได้อยู่ในประเทศไทย
ถนนสยาม (Rue de Siam) ที่ประเทศฝรั่งเศส ช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2
ก่อนจะมาเป็นประเทศไทย บ้านเมืองของเราเคยใช้ชื่อสยามมาก่อน แต่ทุกวันนี้นอกจากชื่อสถานีรถไฟฟ้า ห้างสรรพสินค้า และมหาวิทยาลัย เราก็ไม่ได้ค่อยจะได้ยินชื่อสยามกันเท่าไรนัก แม้แต่ถนนสยามเราก็ยังไม่มีเสียด้วยซ้ำ
แต่รู้หรือไม่ ในเมืองหนึ่งของประเทศฝรั่งเศส มี "ถนนสยาม" ตั้งอยู่ ทว่าถนนสายนี้จะอยู่ที่เมืองใด ไปอยู่ที่นั่นได้อย่างไร "ห้องสมุดคุณพระช่วย" มีเกร็ดความรู้มาฝากกัน
"ถนนสยาม" หรือ "Rue de Siam" เป็นถนนสายหลักในเมืองแบรสต์ ซึ่งเป็นเมืองท่าในแคว้นเบรอตาญ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศฝรั่งเศส เดิมมีชื่อว่าถนน Saint-Pierre (ถนนนักบุญเปโตร)
ถนนนักบุญเปโตร ได้เปลี่ยนชื่อเป็นถนนสยามเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2354 เพื่อระลึกถึงการเดินทางของคณะทูตสยามไปยังฝรั่งเศสในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศส
คณะทูตที่นำโดยเจ้าพระยาโกษาธิบดี (โกษาปาน) เดินทางไปยังฝรั่งเศสด้วยเรือ ขึ้นบกที่ท่าเรือเมืองแบรสต์ เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2229 และเดินทางผ่านถนนสายดังกล่าวเป็นเส้นทางแรก
จากนั้นก็ได้เดินทางต่อไปยังกรุงปารีส เพื่อเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ที่พระราชวังแวร์ซาย ในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2229
เนื่องจากเป็นถนนสายแรกของการเดินทางมาเจริญสัมพันธไมตรี ชาวเมืองจึงได้เปลี่ยนชื่อถนนเป็น Rue de Siam ซึ่งแปลตรงตัวได้เลยว่า "ถนนสยาม" เพื่อเป็นเกียรติ และเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์ในครั้งนี้นั่นเอง
ความสัมพันธ์ของไทยและฝรั่งเศสนั้นยังคงแนบแน่นยืนยาวกว่า 335 ปี ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 เนื่องในโอกาสอันดีที่จะฉลองความสัมพันธ์อันยาวนานนี้ รัฐบาลไทยและฝรั่งเศสจึงมีความเห็นตรงกันว่าให้ตั้งถนนแบรสต์ หรือ Rue de Brest ขึ้น ให้สอดคล้องกับถนนสยามที่ฝรั่งเศส
ถนนแบรสต์ที่ซอยเจริญกรุง 36 หรือซอยโรงภาษี เริ่มต้นตั้งแต่ปากซอยริมถนนเจริญกรุงไปสิ้นสุดที่แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นความยาวประมาณ 100-200 เมตร
สาเหตุที่เลือกซอยเจริญกรุง 36 ก็เพราะว่าเป็นสถานที่ตั้งสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย ที่ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2418 โดยได้รับพระราชทานที่ดินจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และยังคงใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ซอยแห่งนี้ก็ยังเคยเป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญ เช่น *ศุลกสถาน อีกด้วย
(*ศุลกสถาน คือ โรงภาษีร้อยชักสาม หรือโรงภาษีเก่า)
นอกจากถนนสยามสายแรกที่เมืองแบรสต์แล้ว ก็ยังมีถนนแบรสต์สายที่ 2 ที่กรุงปารีส เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 หลังการก่อตั้งสถานเอกอัครราชทูตสยามในกรุงปารีส
หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2426 เมื่อมีการตัดถนนใหม่แยกจากถนน Rue De La Pompe ที่สถานทูตตั้งอยู่ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ เอกอัครราชทูตสยามคนแรก จึงได้ขอร้องให้รัฐบาลฝรั่งเศสตั้งชื่อถนนตัดใหม่นี้ว่า Rue de Siam หรือถนนสยามนั่นเอง
ก่อนจะมาเป็นประเทศไทย บ้านเมืองของเราเคยใช้ชื่อสยามมาก่อน แต่ทุกวันนี้นอกจากชื่อสถานีรถไฟฟ้า ห้างสรรพสินค้า และมหาวิทยาลัย เราก็ไม่ได้ค่อยจะได้ยินชื่อสยามกันเท่าไรนัก แม้แต่ถนนสยามเราก็ยังไม่มีเสียด้วยซ้ำ
แต่รู้หรือไม่ ในเมืองหนึ่งของประเทศฝรั่งเศส มี "ถนนสยาม" ตั้งอยู่ ทว่าถนนสายนี้จะอยู่ที่เมืองใด ไปอยู่ที่นั่นได้อย่างไร "ห้องสมุดคุณพระช่วย" มีเกร็ดความรู้มาฝากกัน
"ถนนสยาม" หรือ "Rue de Siam" เป็นถนนสายหลักในเมืองแบรสต์ ซึ่งเป็นเมืองท่าในแคว้นเบรอตาญ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศฝรั่งเศส เดิมมีชื่อว่าถนน Saint-Pierre (ถนนนักบุญเปโตร)
ถนนนักบุญเปโตร ได้เปลี่ยนชื่อเป็นถนนสยามเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2354 เพื่อระลึกถึงการเดินทางของคณะทูตสยามไปยังฝรั่งเศสในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศส
คณะทูตที่นำโดยเจ้าพระยาโกษาธิบดี (โกษาปาน) เดินทางไปยังฝรั่งเศสด้วยเรือ ขึ้นบกที่ท่าเรือเมืองแบรสต์ เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2229 และเดินทางผ่านถนนสายดังกล่าวเป็นเส้นทางแรก
จากนั้นก็ได้เดินทางต่อไปยังกรุงปารีส เพื่อเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ที่พระราชวังแวร์ซาย ในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2229
เนื่องจากเป็นถนนสายแรกของการเดินทางมาเจริญสัมพันธไมตรี ชาวเมืองจึงได้เปลี่ยนชื่อถนนเป็น Rue de Siam ซึ่งแปลตรงตัวได้เลยว่า "ถนนสยาม" เพื่อเป็นเกียรติ และเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์ในครั้งนี้นั่นเอง
ความสัมพันธ์ของไทยและฝรั่งเศสนั้นยังคงแนบแน่นยืนยาวกว่า 335 ปี ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 เนื่องในโอกาสอันดีที่จะฉลองความสัมพันธ์อันยาวนานนี้ รัฐบาลไทยและฝรั่งเศสจึงมีความเห็นตรงกันว่าให้ตั้งถนนแบรสต์ หรือ Rue de Brest ขึ้น ให้สอดคล้องกับถนนสยามที่ฝรั่งเศส
ถนนแบรสต์ที่ซอยเจริญกรุง 36 หรือซอยโรงภาษี เริ่มต้นตั้งแต่ปากซอยริมถนนเจริญกรุงไปสิ้นสุดที่แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นความยาวประมาณ 100-200 เมตร
สาเหตุที่เลือกซอยเจริญกรุง 36 ก็เพราะว่าเป็นสถานที่ตั้งสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย ที่ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2418 โดยได้รับพระราชทานที่ดินจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และยังคงใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ซอยแห่งนี้ก็ยังเคยเป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญ เช่น *ศุลกสถาน อีกด้วย
(*ศุลกสถาน คือ โรงภาษีร้อยชักสาม หรือโรงภาษีเก่า)
นอกจากถนนสยามสายแรกที่เมืองแบรสต์แล้ว ก็ยังมีถนนแบรสต์สายที่ 2 ที่กรุงปารีส เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 หลังการก่อตั้งสถานเอกอัครราชทูตสยามในกรุงปารีส
หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2426 เมื่อมีการตัดถนนใหม่แยกจากถนน Rue De La Pompe ที่สถานทูตตั้งอยู่ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ เอกอัครราชทูตสยามคนแรก จึงได้ขอร้องให้รัฐบาลฝรั่งเศสตั้งชื่อถนนตัดใหม่นี้ว่า Rue de Siam หรือถนนสยามนั่นเอง
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
https://www.facebook.com/teeneedotcom
https://twitter.com/teeneecom
ดูดวงทำนายความรักจากบัตรประชาชน
ทำนายเบอร์มือถือ เลขศาสตร์ เลขมงคล
รวมความปัง รวมข่าวblackpink
เครดิตแหล่งข้อมูล : FBห้องสมุดคุณพระช่วย
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น