โศกนาฏกรรมเลวร้ายที่สุดของโลกจากอุตสาหกรรม! คร่าชีวิตผู้คน ๓,๗๘๗
คงจำกันได้ถึงโศกนาฏกรรมครั้งร้ายแรงที่สุดของโลกจากอุตสาหกรรม สำหรับคนอินเดียแล้วเป็นวันนี้ในอดีตที่จำกันไม่ลืม เมื่อโรงงานผลิตสารกำจัดศัตรูพืชรายใหญ่ของโลกที่เข้ามาลงทุนทำแก๊สพิษรั่ว ส่งผลกระทบต่อประชากรกว่า ๕๐๐,๐๐๐ คน ทำให้คนตายถึง ๓,๗๘๗ และไม่แต่คนเท่านั้นต้นไม้ก็ยังเป็นหมัน ประธานบริษัทถูกตัดสินจำคุก ๒ ปี ส่วนพนักงาน ๘ คนที่รับผิดชอบ ไม่มีใครได้รับโทษจำคุก เพราะตายก่อนหมดทุกคน
เหตุเกิดในกลางดึกของคืนวันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๒๗ จากอุบัติเหตุที่โรงงานผลิตยาฆ่าแมลงศัตรูพืชของบริษัทยูเนียนคาร์ไบต์ ที่เมืองโภปาล เมืองหลวงของรัฐมัธยมประเทศ ในอินเดีย ตอนเที่ยงคืนคนงานพบว่าแรงดันในถังก๊าซเพิ่มขึ้น ก๊าซเมทิลไอโซไซยาไนด์ได้ดันวาล์วล้นออกมา ก๊าซพิษ ๓๐ ตันได้แพร่กระจายเป็นควันหนาเหมือนหมอก ด้วยความเร็ว ๕ กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่นานก็ครอบคลุมพื้นที่ในรัศมี ๔๐ กิโลเมตรที่มีผู้คนอาศัยอยู่ราว ๕๕๐,๐๐๐ คน เป็น ๒ ใน ๓ ของประชากรของเมืองโภปาล หลายคนตายไปขณะกำลังหลับ คนที่ตื่นก็จะมีผลกระทบกับดวงตาอย่างแรงจนมองไม่เห็นต้องคลำทางหนี จากนั้นก็จะรู้สึกหายในไม่ออกเพราะเกิดการเผาไหม้ในทางเดินหายใจ เกิดอาการหอบ ปวดท้อง และอาเจียน เด็กและคนที่มีรูปร่างเตี้ยจะได้รับผลกระทบมากกว่า เพราะก๊าซนี้มีความหนาแน่นมากกว่าอากาศเป็นสองเท่าจึงตกสู่พื้น
เช้าวันรุ่งขึ้น พบว่ามีผู้เสียชีวิตหลายพันคน เมื่อชันสูตรศพพบว่าไม่เพียงแต่ปอดเท่านั้น สมองยังบวม ไตเสื่อมสภาพ ส่วนทารกแรกเกิดไม่มีรอด ไม่แต่คนเท่านั้น ไม่กี่วันต่อมาต้นไม้ในบริเวณนั้นได้กลายเป็นหมัน ส่วนสัตว์เลี้ยงทั้งวัวควายแพะ ถ้าไม่ถึงตายก็ท้องป่อง ถูกนำไปฝังทั้งหมด รัฐบาลอินเดียได้ออก "พระราชบัญญัติภัยพิบัติก๊าซรั่วโภปาล" ให้สิทธิ์รัฐบาลเป็นตัวแทนของเหยื่อทุกคนไม่ว่าจะอยู่ในอินเดียหรือไม่ก็ตาม นำไปสู่การเริ่มต้นคดีโดยยื่นฟ้องบริษัทยูเนี่ยนคาร์ไบด์ต่อศาลรัฐบาลกลางสหรัฐ ซึ่งศาลได้ตัดสินเมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๒๘ ให้บริษัทจัดหาเงิน ๕-๑๐ ล้านดอลลาร์ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บทันที ตามความเหมาะสมขั้นพื้นฐานของมนุษย์ และให้การกระทำเช่นนี้ไม่ถือว่าเป็นการยอมรับความผิด แต่รัฐบาลอินเดียปฏิเสธข้อเสนอนี้ ในเดือนพฤษภาคมคดีจึงถูกย้ายจากศาลสหรัฐมายังศาลอินเดีย ในที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๒ บริษัทยูเนียนคาร์ไบด์ยอมจ่าย ๔๗๐ ล้านดอลลาร์สำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นในเมืองโภปาล มีผู้เสียชีวิตที่ได้รับเงินจากจำนวนนี้ ๓,๗๘๗ คน และมีผู้บาดเจ็บไม่ร้ายแรงอีก ๕๕๘,๑๒๕ ราย
ในเดือนมิถุนายน ๒๕๕๓ หลังเหตุการณ์ผ่านมาเป็นเวลา ๒๔ ปี ศาลอินเดียได้ตัดสินว่า อดีตพนักงานของบริษัทยูเนียนคาร์ไบด์ ๗ คน รวมทั้งนายวอร์เรน แอนเดอร์สัน ประธานบริษัท มีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ลงโทษจำคุกคนละ ๒ ปี ปรับเป็นเงินอีกคนละ ๒,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นโทษสูงสุดเท่าที่กฎหมายกำหนดไว้ พนักงาน ๘ คนที่ถูกกล่าวหาด้วยเป็นชาวอินเดียทั้งหมด ได้ถึงแก่ความตายไปก่อนที่ศาลจะมีคำพิพากษา
เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นวันสำคัญที่ชาวเมืองโภปาลไม่อาจจะลืมได้ที่ ในวันครบรอบ ๓๔ ปีของเหตุการณ์ ก็ยังมีการเดินขบวนเพื่อรำลึกถึงหายนภัยในครั้งนั้น
เหตุเกิดในกลางดึกของคืนวันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๒๗ จากอุบัติเหตุที่โรงงานผลิตยาฆ่าแมลงศัตรูพืชของบริษัทยูเนียนคาร์ไบต์ ที่เมืองโภปาล เมืองหลวงของรัฐมัธยมประเทศ ในอินเดีย ตอนเที่ยงคืนคนงานพบว่าแรงดันในถังก๊าซเพิ่มขึ้น ก๊าซเมทิลไอโซไซยาไนด์ได้ดันวาล์วล้นออกมา ก๊าซพิษ ๓๐ ตันได้แพร่กระจายเป็นควันหนาเหมือนหมอก ด้วยความเร็ว ๕ กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่นานก็ครอบคลุมพื้นที่ในรัศมี ๔๐ กิโลเมตรที่มีผู้คนอาศัยอยู่ราว ๕๕๐,๐๐๐ คน เป็น ๒ ใน ๓ ของประชากรของเมืองโภปาล หลายคนตายไปขณะกำลังหลับ คนที่ตื่นก็จะมีผลกระทบกับดวงตาอย่างแรงจนมองไม่เห็นต้องคลำทางหนี จากนั้นก็จะรู้สึกหายในไม่ออกเพราะเกิดการเผาไหม้ในทางเดินหายใจ เกิดอาการหอบ ปวดท้อง และอาเจียน เด็กและคนที่มีรูปร่างเตี้ยจะได้รับผลกระทบมากกว่า เพราะก๊าซนี้มีความหนาแน่นมากกว่าอากาศเป็นสองเท่าจึงตกสู่พื้น
เช้าวันรุ่งขึ้น พบว่ามีผู้เสียชีวิตหลายพันคน เมื่อชันสูตรศพพบว่าไม่เพียงแต่ปอดเท่านั้น สมองยังบวม ไตเสื่อมสภาพ ส่วนทารกแรกเกิดไม่มีรอด ไม่แต่คนเท่านั้น ไม่กี่วันต่อมาต้นไม้ในบริเวณนั้นได้กลายเป็นหมัน ส่วนสัตว์เลี้ยงทั้งวัวควายแพะ ถ้าไม่ถึงตายก็ท้องป่อง ถูกนำไปฝังทั้งหมด รัฐบาลอินเดียได้ออก "พระราชบัญญัติภัยพิบัติก๊าซรั่วโภปาล" ให้สิทธิ์รัฐบาลเป็นตัวแทนของเหยื่อทุกคนไม่ว่าจะอยู่ในอินเดียหรือไม่ก็ตาม นำไปสู่การเริ่มต้นคดีโดยยื่นฟ้องบริษัทยูเนี่ยนคาร์ไบด์ต่อศาลรัฐบาลกลางสหรัฐ ซึ่งศาลได้ตัดสินเมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๒๘ ให้บริษัทจัดหาเงิน ๕-๑๐ ล้านดอลลาร์ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บทันที ตามความเหมาะสมขั้นพื้นฐานของมนุษย์ และให้การกระทำเช่นนี้ไม่ถือว่าเป็นการยอมรับความผิด แต่รัฐบาลอินเดียปฏิเสธข้อเสนอนี้ ในเดือนพฤษภาคมคดีจึงถูกย้ายจากศาลสหรัฐมายังศาลอินเดีย ในที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๒ บริษัทยูเนียนคาร์ไบด์ยอมจ่าย ๔๗๐ ล้านดอลลาร์สำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นในเมืองโภปาล มีผู้เสียชีวิตที่ได้รับเงินจากจำนวนนี้ ๓,๗๘๗ คน และมีผู้บาดเจ็บไม่ร้ายแรงอีก ๕๕๘,๑๒๕ ราย
ในเดือนมิถุนายน ๒๕๕๓ หลังเหตุการณ์ผ่านมาเป็นเวลา ๒๔ ปี ศาลอินเดียได้ตัดสินว่า อดีตพนักงานของบริษัทยูเนียนคาร์ไบด์ ๗ คน รวมทั้งนายวอร์เรน แอนเดอร์สัน ประธานบริษัท มีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ลงโทษจำคุกคนละ ๒ ปี ปรับเป็นเงินอีกคนละ ๒,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นโทษสูงสุดเท่าที่กฎหมายกำหนดไว้ พนักงาน ๘ คนที่ถูกกล่าวหาด้วยเป็นชาวอินเดียทั้งหมด ได้ถึงแก่ความตายไปก่อนที่ศาลจะมีคำพิพากษา
เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นวันสำคัญที่ชาวเมืองโภปาลไม่อาจจะลืมได้ที่ ในวันครบรอบ ๓๔ ปีของเหตุการณ์ ก็ยังมีการเดินขบวนเพื่อรำลึกถึงหายนภัยในครั้งนั้น
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น