รู้ไหมที่มาของคำว่า ‘Assassin’ มาจากกลุ่มนักฆ่ามุสลิม
หลายคนน่าจะรู้ว่า คำว่า ‘Assassin' ในภาษาอังกฤษมีความหมายว่านักฆ่า รวมถึงยังรู้จักกับคำ ๆ นี้ จากซีรีส์เกมชื่อดังอย่าง Assassin's Creed แต่เคยรู้ไหมว่า ที่มาของคำว่า Assassin มาจากชื่อกลุ่มนักฆ่าชาวมุสลิมในช่วงสงครามครูเสด
เพื่อที่จะให้เข้าใจเรื่องนี้ ต้องย้อนกลับไปตั้งแต่ศตวรรษที่ 7 ในตอนนั้น ประเด็นเกี่ยวกับผู้สืบทอดตำแหน่งผู้นำศาสนาอิสลามต่อจากนบีมุฮัมมัด ได้ทำให้ศาสนาอิสลามถูกแบ่งออกเป็น 2 นิกายหลัก คือนิกายสุหนี่ (Sunni) กับนิกายชีอะห์ (Shia)ในเวลาต่อมา ภายในนิกายชีอะห์เองก็ได้เกิดการแบ่งเป็นนิกายย่อย ๆ ออกมา หนึ่งในนั้นคือนิกายที่เรียกว่า ‘อิสมาอิลี' (Ismailis)
ในศตวรรษที่ 10 ชาวมุสลิมที่นับถือนิกายอิสมาอิลีก็ได้ก่อตั้งราชวงศ์ฟาติมิต (Fatimid Dynasty) ครอบครองพื้นที่แอฟริกาเหนือ อียิปต์ ปาเลสไตน์ รวมถึงซีเรีย โดยมีศูนย์กลางอำนาจอยู่ที่กรุงไคโรในอียิปต์ทว่าเมื่อถึงช่วงปลายศตวรรษที่ 11 ก็ได้เกิดสงครามกลางเมืองภายในราชวงศ์ฟาติมิต จุดเริ่มต้นของความขัดแย้งเริ่มขึ้นในปี 1094 เมื่อ อัล-มุสตานซีร์ บิลลาห์ (Al-Mustansir Billah) ผู้นำของราชวงศ์ฟาติมิตได้เสียชีวิตลง บุตรชายของเขาคือ อบู มานซีร์ นิซาร์ (Abu Mansir Nizar) มีสิทธิ์ชอบธรรมที่จะครองอำนาจสืบต่อมา
แต่นิซาร์ก็ถูกขุนศึกนามว่า อัล-อัฟดาล ชาฮันชาห์ (Al-Afdal Shahanshah) โค่นล้มอำนาจ ทำให้นิซาร์ลี้ภัยไปอยู่ที่เมืองอเล็กซานเดรีย ส่วนชาฮันชาห์ก็แต่งตั้งให้น้องชายของนิซาร์เป็นผู้นำหุ่นเชิด สุดท้ายนิซาร์ก็ถูกจับกุมตัวและถูกประหารชีวิตในปี 1095 การตายของนิซาร์ได้สร้างความโกรธแค้นให้กับคนที่ภักดีต่อเขา หนึ่งในนั้นคือนักบวชนิกายอิสมาอิลีชาวเปอร์เซียที่มีชื่อว่า ฮัสซาน อิ ซับบาห์ (Hassan-i-Sabbah)
ย้อนกลับไปก่อนหน้านั้น ซับบาห์ได้รับภารกิจในการเผยแพร่นิกายอิสมาอิลีในเปอร์เซีย โดยในปี 1090 ซับบาห์และสาวกได้เข้ายึดปราสาทอะลามุต (Alamut Castle) บนภูเขาอัลบอร์ซ (Alborz) ในเปอร์เซียเพื่อเป็นฐานที่มั่น
ต่อมาเมื่อนิซาร์ถูกโค่นอำนาจ ซับบาห์และสาวกก็ได้ประกาศสนับสนุนนิซาร์ โดยการเรียกกลุ่มของตนเองว่า ‘นิซารี อิสมาอิลี' (Nizari Ismaili) ภายหลังเมื่อนิซาร์ถูกประหารชีวิตแล้ว กลุ่มดังกล่าวก็ได้ประกาศให้ทายาทของนิซาร์เป็นผู้สืบทอดที่แท้จริงของราชวงศ์ฟาติมิต
เปอร์เซียในตอนนั้นถูกปกครองโดยชาวเซลยุคเติร์ก (Seljuk Turk) ซึ่งเป็นชาวเติร์กที่นับถือนิกายสุหนี่ แน่นอนว่าชาวเซลยุคไม่ต้องการให้กลุ่มนิซารี อิสมาอิลี อยู่ภายในดินแดนของตน ดังนั้นเซลยุคจึงส่งกองทัพมากวาดล้างกลุ่มของซับบาห์
สำหรับซับบาห์เขารู้ดีว่า กลุ่มของเขาไม่มีกำลังมากพอที่จะสู้กับพวกเซลยุค ดังนั้นกลวิธีที่จะเอาชนะได้ ก็คือการลอบฆ่าและทำสงครามแบบกองโจร
นิซารี อิสมาอิลี จึงฝึกฝนและสร้างกลุ่มนักรบขึ้นมากลุ่มหนึ่ง โดยถูกเรียกว่า ‘เฟดายีน' (Fedayeen) ที่แปลว่าผู้เสียสละตนเอง ซึ่งเฟดายีนนี้ ภายหลังจะถูกเรียกว่า ‘ฮาซาซิน' (Hasashin) ที่เป็นที่มาของคำว่า Assassin
ฮาซาซินเป็นคำจากภาษาอาหรับแปลว่า คนเสพกัญชา เนื่องจากมีการอ้างว่า ก่อนที่นักรบเฟดายีนจะลงมือปฏิบัติการนั้น จะมีการเสพกัญชาเพื่อให้ปราศจากความกลัว (รวมถึงล้างสมอง) อย่างไรก็ตามมีทฤษฎีที่บอกว่า คำ ๆ นี้ อาจจะมีความหมายอื่น อย่างเช่น คนสร้างเสียงดัง คนสร้างความวุ่นวาย รวมถึงผู้ติดตามของฮัสซาน
เป้าหมายในการฆ่าของฮาซาซิน ก็คือชาวมุสลิมนิกายสุหนี่ ชาวคริสเตียน หรือแม้แต่ชาวมุสลิมนิกายชีอะห์ที่มีแนวคิดตรงข้าม เฟดายีนเชื่อว่า การลงมือฆ่าคนที่เป็นศัตรูกับความเชื่อของพวกเขา จะทำให้พวกเขาได้ขึ้นสวรรค์
อาวุธในการสังหารของฮาซาซินก็คือกริช พวกเขาไม่รู้จักความกลัวใด ๆ ทั้งสิ้น ถึงขั้นที่บางครั้งก็ลงมือสังหารเหยื่อตอนกลางวันแสก ๆ ในที่กลางแจ้ง และเมื่อลงมือสำเร็จแล้ว ฮาซาซินก็จะฆ่าตัวตายให้สมกับการเป็นผู้เสียสละต่อพระเจ้า
ฮาซาซินสร้างความน่าสะพรึงกลัวไปทั่วตะวันออกกลาง ฮาซาซินจากเดิมที่ใช้เรียกเฉพาะนักรบเฟดายีน ก็กลายเป็นชื่อเรียกโดยรวมของกลุ่มนิซารี อิสมาอิลี ไปโดยปริยาย นอกจากเปอร์เซียที่เป็นฐานที่มั่นของฮาซาซินแล้ว ปราสาทมัสยัฟ (Masyaf Castle) ในซีเรียก็เป็นหนึ่งในฐานที่มั่นของฮาซาซินเช่นกัน
สิ่งที่น่าสนใจคือ ฮาซาซินยังมีสถานะเป็นนักฆ่ารับจ้าง ที่ใครก็สามารถว่าจ้างได้ แม้แต่ศัตรูอย่างชาวคริสเตียน ก็มีบันทึกว่า ได้ว่าจ้างฮาซาซินเช่นกัน อย่างเช่นกรณีของพระเจ้าริชาร์ดใจสิงห์แห่งอังกฤษ (Richard the Lionheart) ที่จ้างฮาซาซินให้ไปฆ่าคอนราดแห่งมงเฟอราต (Conrad of Montferrat) กษัตริย์ของเยรูซาเล็มในปี 1192
โดยเหยื่อรายแรกที่ถูกบันทึกว่า ถูกฆ่าโดยฮาซาซิน ก็คือ นิซาม อัล มัลค์ (Nizam al-Mulk) ขุนนางระดับสูงชาวเซลยุคที่ถูกฆ่าในปี 1092 ส่วนเหยื่อรายสุดท้ายคือ ฟิลิปแห่งมงฟอร์ต ลอร์ดแห่งไทร์ (Philip of Montfort, Lord of Tyre) ที่ถูกฆ่าในปี 1270
ท้ายที่สุดเมื่อถึงช่วงทศวรรษ 1250 ฮาซาซินก็ถูกกวาดล้างอย่างหนักจากการรุกรานของจักรวรรดิมองโกล ส่งผลให้ฮาซาซินอ่อนแอลง ก่อนที่ในราวปี 1275 ฮาซาซินจะถูกยุบทิ้งในที่สุด
เครดิตแหล่งข้อมูล : FB Histofun Deluxe
เพื่อที่จะให้เข้าใจเรื่องนี้ ต้องย้อนกลับไปตั้งแต่ศตวรรษที่ 7 ในตอนนั้น ประเด็นเกี่ยวกับผู้สืบทอดตำแหน่งผู้นำศาสนาอิสลามต่อจากนบีมุฮัมมัด ได้ทำให้ศาสนาอิสลามถูกแบ่งออกเป็น 2 นิกายหลัก คือนิกายสุหนี่ (Sunni) กับนิกายชีอะห์ (Shia)ในเวลาต่อมา ภายในนิกายชีอะห์เองก็ได้เกิดการแบ่งเป็นนิกายย่อย ๆ ออกมา หนึ่งในนั้นคือนิกายที่เรียกว่า ‘อิสมาอิลี' (Ismailis)
ในศตวรรษที่ 10 ชาวมุสลิมที่นับถือนิกายอิสมาอิลีก็ได้ก่อตั้งราชวงศ์ฟาติมิต (Fatimid Dynasty) ครอบครองพื้นที่แอฟริกาเหนือ อียิปต์ ปาเลสไตน์ รวมถึงซีเรีย โดยมีศูนย์กลางอำนาจอยู่ที่กรุงไคโรในอียิปต์ทว่าเมื่อถึงช่วงปลายศตวรรษที่ 11 ก็ได้เกิดสงครามกลางเมืองภายในราชวงศ์ฟาติมิต จุดเริ่มต้นของความขัดแย้งเริ่มขึ้นในปี 1094 เมื่อ อัล-มุสตานซีร์ บิลลาห์ (Al-Mustansir Billah) ผู้นำของราชวงศ์ฟาติมิตได้เสียชีวิตลง บุตรชายของเขาคือ อบู มานซีร์ นิซาร์ (Abu Mansir Nizar) มีสิทธิ์ชอบธรรมที่จะครองอำนาจสืบต่อมา
แต่นิซาร์ก็ถูกขุนศึกนามว่า อัล-อัฟดาล ชาฮันชาห์ (Al-Afdal Shahanshah) โค่นล้มอำนาจ ทำให้นิซาร์ลี้ภัยไปอยู่ที่เมืองอเล็กซานเดรีย ส่วนชาฮันชาห์ก็แต่งตั้งให้น้องชายของนิซาร์เป็นผู้นำหุ่นเชิด สุดท้ายนิซาร์ก็ถูกจับกุมตัวและถูกประหารชีวิตในปี 1095 การตายของนิซาร์ได้สร้างความโกรธแค้นให้กับคนที่ภักดีต่อเขา หนึ่งในนั้นคือนักบวชนิกายอิสมาอิลีชาวเปอร์เซียที่มีชื่อว่า ฮัสซาน อิ ซับบาห์ (Hassan-i-Sabbah)
ย้อนกลับไปก่อนหน้านั้น ซับบาห์ได้รับภารกิจในการเผยแพร่นิกายอิสมาอิลีในเปอร์เซีย โดยในปี 1090 ซับบาห์และสาวกได้เข้ายึดปราสาทอะลามุต (Alamut Castle) บนภูเขาอัลบอร์ซ (Alborz) ในเปอร์เซียเพื่อเป็นฐานที่มั่น
ต่อมาเมื่อนิซาร์ถูกโค่นอำนาจ ซับบาห์และสาวกก็ได้ประกาศสนับสนุนนิซาร์ โดยการเรียกกลุ่มของตนเองว่า ‘นิซารี อิสมาอิลี' (Nizari Ismaili) ภายหลังเมื่อนิซาร์ถูกประหารชีวิตแล้ว กลุ่มดังกล่าวก็ได้ประกาศให้ทายาทของนิซาร์เป็นผู้สืบทอดที่แท้จริงของราชวงศ์ฟาติมิต
เปอร์เซียในตอนนั้นถูกปกครองโดยชาวเซลยุคเติร์ก (Seljuk Turk) ซึ่งเป็นชาวเติร์กที่นับถือนิกายสุหนี่ แน่นอนว่าชาวเซลยุคไม่ต้องการให้กลุ่มนิซารี อิสมาอิลี อยู่ภายในดินแดนของตน ดังนั้นเซลยุคจึงส่งกองทัพมากวาดล้างกลุ่มของซับบาห์
สำหรับซับบาห์เขารู้ดีว่า กลุ่มของเขาไม่มีกำลังมากพอที่จะสู้กับพวกเซลยุค ดังนั้นกลวิธีที่จะเอาชนะได้ ก็คือการลอบฆ่าและทำสงครามแบบกองโจร
นิซารี อิสมาอิลี จึงฝึกฝนและสร้างกลุ่มนักรบขึ้นมากลุ่มหนึ่ง โดยถูกเรียกว่า ‘เฟดายีน' (Fedayeen) ที่แปลว่าผู้เสียสละตนเอง ซึ่งเฟดายีนนี้ ภายหลังจะถูกเรียกว่า ‘ฮาซาซิน' (Hasashin) ที่เป็นที่มาของคำว่า Assassin
ฮาซาซินเป็นคำจากภาษาอาหรับแปลว่า คนเสพกัญชา เนื่องจากมีการอ้างว่า ก่อนที่นักรบเฟดายีนจะลงมือปฏิบัติการนั้น จะมีการเสพกัญชาเพื่อให้ปราศจากความกลัว (รวมถึงล้างสมอง) อย่างไรก็ตามมีทฤษฎีที่บอกว่า คำ ๆ นี้ อาจจะมีความหมายอื่น อย่างเช่น คนสร้างเสียงดัง คนสร้างความวุ่นวาย รวมถึงผู้ติดตามของฮัสซาน
เป้าหมายในการฆ่าของฮาซาซิน ก็คือชาวมุสลิมนิกายสุหนี่ ชาวคริสเตียน หรือแม้แต่ชาวมุสลิมนิกายชีอะห์ที่มีแนวคิดตรงข้าม เฟดายีนเชื่อว่า การลงมือฆ่าคนที่เป็นศัตรูกับความเชื่อของพวกเขา จะทำให้พวกเขาได้ขึ้นสวรรค์
อาวุธในการสังหารของฮาซาซินก็คือกริช พวกเขาไม่รู้จักความกลัวใด ๆ ทั้งสิ้น ถึงขั้นที่บางครั้งก็ลงมือสังหารเหยื่อตอนกลางวันแสก ๆ ในที่กลางแจ้ง และเมื่อลงมือสำเร็จแล้ว ฮาซาซินก็จะฆ่าตัวตายให้สมกับการเป็นผู้เสียสละต่อพระเจ้า
ฮาซาซินสร้างความน่าสะพรึงกลัวไปทั่วตะวันออกกลาง ฮาซาซินจากเดิมที่ใช้เรียกเฉพาะนักรบเฟดายีน ก็กลายเป็นชื่อเรียกโดยรวมของกลุ่มนิซารี อิสมาอิลี ไปโดยปริยาย นอกจากเปอร์เซียที่เป็นฐานที่มั่นของฮาซาซินแล้ว ปราสาทมัสยัฟ (Masyaf Castle) ในซีเรียก็เป็นหนึ่งในฐานที่มั่นของฮาซาซินเช่นกัน
สิ่งที่น่าสนใจคือ ฮาซาซินยังมีสถานะเป็นนักฆ่ารับจ้าง ที่ใครก็สามารถว่าจ้างได้ แม้แต่ศัตรูอย่างชาวคริสเตียน ก็มีบันทึกว่า ได้ว่าจ้างฮาซาซินเช่นกัน อย่างเช่นกรณีของพระเจ้าริชาร์ดใจสิงห์แห่งอังกฤษ (Richard the Lionheart) ที่จ้างฮาซาซินให้ไปฆ่าคอนราดแห่งมงเฟอราต (Conrad of Montferrat) กษัตริย์ของเยรูซาเล็มในปี 1192
โดยเหยื่อรายแรกที่ถูกบันทึกว่า ถูกฆ่าโดยฮาซาซิน ก็คือ นิซาม อัล มัลค์ (Nizam al-Mulk) ขุนนางระดับสูงชาวเซลยุคที่ถูกฆ่าในปี 1092 ส่วนเหยื่อรายสุดท้ายคือ ฟิลิปแห่งมงฟอร์ต ลอร์ดแห่งไทร์ (Philip of Montfort, Lord of Tyre) ที่ถูกฆ่าในปี 1270
ท้ายที่สุดเมื่อถึงช่วงทศวรรษ 1250 ฮาซาซินก็ถูกกวาดล้างอย่างหนักจากการรุกรานของจักรวรรดิมองโกล ส่งผลให้ฮาซาซินอ่อนแอลง ก่อนที่ในราวปี 1275 ฮาซาซินจะถูกยุบทิ้งในที่สุด
เครดิตแหล่งข้อมูล : FB Histofun Deluxe
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!