‘มาการอง’ ขนมฝรั่งเศสที่เคยถูกเรียกว่า ‘ขนมสะดือพระ’
มาการอง ขนมหวานหน้าตาคล้ายแซนวิชชิ้นเล็ก จุดเด่นคือ คำเล็กๆ หวานละมุนละลายในปาก (พิมพ์ไปน้ำลายสอไป) และหากพูดถึงมาการองก็ต้องพอรู้ว่ามาจากเมืองน้ำหอมฝรั่งเศสเป็นแน่ แต่แท้จริงแล้วต้นกำเนิดของมาการองมาจาก ‘อิตาลี' ต่างหาก!
.
ต้นกำเนิดจากอิตาลีแล้วมาอยู่ที่ฝรั่งเศสได้ยังไง?
.
ว่ากันว่ามาการองเกิดในศตวรรษที่ 8 ของอิตาลี ต่อมาในปี 1533 พระราชินีแคทเธอรีน เดอ เมดีชี (Catherine de' Medici) แห่งอิตาลีได้แต่งงานกับพระเจ้าเฮนรี่ที่ 2 (Henry II) แห่งฝรั่งเศส จึงได้นำพาเชฟผู้รู้สูตรมาการองไปด้วย หลังจากนั้นก็ได้มีการทำมาการองโดยใส่แอลมอนด์ ไข่ขาว น้ำตาล และเรียกขนมชิ้นนี้ว่า ‘สะดือพระ' แม้ชื่อจะชวนดูงงๆ แปลกๆ แต่ก็ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าทำไมถึงตั้งชื่อนี้ แต่สันนิษฐานว่าการทำขนมน่าจะมาจากลักษณะของขนมเป็นวงกลมเล็ก ๆคล้ายสะดือบวกกับการทำขนมสมัยก่อนจะทำในศาสนสถานเลยตั้งชื่อว่า ‘สะดือพระ'
.
คำว่า ‘มาการอง' ถูกบันทึกไว้ครั้งแรกปี 1581 ในพิธีแต่งงานของ Duke of Joyeuse จังหวัด Ardeche ฝรั่งเศส และในปี 1682 พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ได้ตัดสินใจประทับอยู่ที่พระราชวังแวร์ซายและให้เสิร์ฟมาการองเป็นขนมหวานต้อนรับแขก จากนั้นเป็นต้นมา มาการองถูกตระหนักในฐานะขนมหวานสำหรับราชวงศ์ชั้นสูง และสิ้นสุดลงหลังเกิดการปฏิวัติฝรั่งเศสปี 1789
.
ช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส สองพี่น้อง Marguerite และ Marie-Elisabeth ซึ่งเป็นผู้ลี้ภัยมายังเมืองแนนซี ตั้งอยู่ทางตะวันออกของฝรั่งเศสได้เปิดขายมาการองเลี้ยงชีพให้คนสัญจรไปมา ทำให้มาการองกลับมาโด่งดังอีกครั้งและกอบโกยรายได้เป็นกอบเป็นกำ จนผู้คนต่างเรียกพวกเธอว่า Macarons de Nancy
.
จนเข้าสู่ศตวรรษที่ 20 มาการองปรับเปลี่ยนหน้าตาและสูตรให้ทันสมัยมากขึ้น มีการสอดไส้ด้วยเยลลี่ มัทฉะ คาราเมล ช็อกโกแลต ส้ม และราสเบอร์รี่ เวลาเพียงไม่นาน มาการองก็โด่งดังไปทั่วโลก โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ผู้คนเริ่มให้ความสนใจมาการองแทนคัพเค้กด้วยรสชาติและสีสันหลากหลายสะดุดตา และชิ้นเล็กพอดีคำ มีแคลลอรี่น้อยเหมาะสำหรับคนอยากกินของหวานแต่ไม่อยากกินเยอะ ทำให้มาการองยิ่งโด่งดังขึ้นเรื่อย ๆ ร้านมาการองผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดทั้งในนิวยอร์ก ซานฟรานซิสโก้ ซีแอทเทิล
เครดิตแหล่งข้อมูล : FB จานโปรด
.
ต้นกำเนิดจากอิตาลีแล้วมาอยู่ที่ฝรั่งเศสได้ยังไง?
.
ว่ากันว่ามาการองเกิดในศตวรรษที่ 8 ของอิตาลี ต่อมาในปี 1533 พระราชินีแคทเธอรีน เดอ เมดีชี (Catherine de' Medici) แห่งอิตาลีได้แต่งงานกับพระเจ้าเฮนรี่ที่ 2 (Henry II) แห่งฝรั่งเศส จึงได้นำพาเชฟผู้รู้สูตรมาการองไปด้วย หลังจากนั้นก็ได้มีการทำมาการองโดยใส่แอลมอนด์ ไข่ขาว น้ำตาล และเรียกขนมชิ้นนี้ว่า ‘สะดือพระ' แม้ชื่อจะชวนดูงงๆ แปลกๆ แต่ก็ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าทำไมถึงตั้งชื่อนี้ แต่สันนิษฐานว่าการทำขนมน่าจะมาจากลักษณะของขนมเป็นวงกลมเล็ก ๆคล้ายสะดือบวกกับการทำขนมสมัยก่อนจะทำในศาสนสถานเลยตั้งชื่อว่า ‘สะดือพระ'
.
คำว่า ‘มาการอง' ถูกบันทึกไว้ครั้งแรกปี 1581 ในพิธีแต่งงานของ Duke of Joyeuse จังหวัด Ardeche ฝรั่งเศส และในปี 1682 พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ได้ตัดสินใจประทับอยู่ที่พระราชวังแวร์ซายและให้เสิร์ฟมาการองเป็นขนมหวานต้อนรับแขก จากนั้นเป็นต้นมา มาการองถูกตระหนักในฐานะขนมหวานสำหรับราชวงศ์ชั้นสูง และสิ้นสุดลงหลังเกิดการปฏิวัติฝรั่งเศสปี 1789
.
ช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส สองพี่น้อง Marguerite และ Marie-Elisabeth ซึ่งเป็นผู้ลี้ภัยมายังเมืองแนนซี ตั้งอยู่ทางตะวันออกของฝรั่งเศสได้เปิดขายมาการองเลี้ยงชีพให้คนสัญจรไปมา ทำให้มาการองกลับมาโด่งดังอีกครั้งและกอบโกยรายได้เป็นกอบเป็นกำ จนผู้คนต่างเรียกพวกเธอว่า Macarons de Nancy
.
จนเข้าสู่ศตวรรษที่ 20 มาการองปรับเปลี่ยนหน้าตาและสูตรให้ทันสมัยมากขึ้น มีการสอดไส้ด้วยเยลลี่ มัทฉะ คาราเมล ช็อกโกแลต ส้ม และราสเบอร์รี่ เวลาเพียงไม่นาน มาการองก็โด่งดังไปทั่วโลก โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ผู้คนเริ่มให้ความสนใจมาการองแทนคัพเค้กด้วยรสชาติและสีสันหลากหลายสะดุดตา และชิ้นเล็กพอดีคำ มีแคลลอรี่น้อยเหมาะสำหรับคนอยากกินของหวานแต่ไม่อยากกินเยอะ ทำให้มาการองยิ่งโด่งดังขึ้นเรื่อย ๆ ร้านมาการองผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดทั้งในนิวยอร์ก ซานฟรานซิสโก้ ซีแอทเทิล
เครดิตแหล่งข้อมูล : FB จานโปรด
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!