เส้นทาง ‘ชาไทย’ จากบันทึกลาลูแบร์สู่เครื่องดื่มประจำชาติ


เส้นทาง ‘ชาไทย’ จากบันทึกลาลูแบร์สู่เครื่องดื่มประจำชาติ


ชาไทย ชาเย็น หรือชาสีส้ม เมนูเครื่องดื่มไทยยอดนิยมตลอดกาล จากเมื่อก่อนเป็นภาพชาใส่ถุงร้อนแบบบ้าน ๆ สู่การนำไปทำเป็นสินค้าอื่นอย่างสร้างสรรค์ เช่น ไอติมรสชาไทย บิงซูน้ำแข็งไสชาไทย สเลอปี้ชาไทย สังขยาชาไทย หรือกระแสข่าวมาแรงล่าสุดอย่าง ‘ปังชา' มาจากชื่อ ขนมปัง + ชาไทย นั่นเอง
.
จึงชวนให้ฉงนสงสัยว่าชาไทยเริ่มมีมาแต่ไหนแล้วทำไมถึงได้รับความนิยมตลอดกาล
.
หลักฐานการเริ่มดื่มชาของคนไทยมีมาตั้งแต่สมัยพระนารายณ์ โดยถูกระบุในจดหมายเหตุลาลูแบร์ว่า "เขาใช้น้ำร้อนรินรดป้านนั้นเสียก่อน เพื่อให้การ้อนตัวแล้วใส่ชาลงไปหยิบมือหนึ่งแล้วและจึงรินน้ำเดือดเติมลงไป" รวมถึงในช่วงหลังสยามได้รับอิทธิพลจากอินเดียที่ดื่มชาใส่นมและน้ำตาล ทำให้ชาวสยามรับวัฒนธรรมนี้มาด้วย
.
จนกระทั่งการเข้ามาของ "นมข้นหวาน" ครั้งแรกในไทยในปี 2436 จากบริษัทเนสท์เล่ที่มีชื่อการค้าว่า "นมข้นหวานแหม่มทูนหัว" ทำให้การดื่มชาใส่นมข้นหวานยิ่งเป็นที่นิยมมากขึ้นด้วยรสชาติที่หอมหวานมันกลมกล่อม
.
อีกไม่กี่ปีถัดมา เกิดโรงงานน้ำแข็งแห่งแรกในไทยทำให้คนไทยสามารถผลิตน้ำแข็งกินเองได้ ในขณะเดียวกันร้านกาแฟโบราณหลายแห่งก็เริ่มถือกำเนิดขึ้นในพระนคร ทำให้เครื่องดื่มใส่น้ำแข็งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายและชาเย็นก็เป็นหนึ่งในนั้น
.
แต่ถ้าถามว่าทำไมชาเย็นไทยถึงกลายเป็นที่ถูกอกถูกใจของต่างชาติและคว้าโพลเครื่องดื่มระดับโลกในหลายสำนักก็มีหลายเหตุผลไม่ว่าจะเป็นรสชาติที่ดื่มง่าย หวานมันกำลังดี และล่าสุดกับเว็บไซต์ Taste Atlas ได้ให้เหตุผลที่ยกชาเย็นไทยเป็นเครื่องดื่มที่ดีที่สุดอันดับ 7 ของโลก
.
"ชาเย็นแบบไทยแท้เป็นการผสมผสานระหว่างชาดำเข้มข้น นมข้น น้ำตาล เสิร์ฟแบบใส่น้ำแข็งบด เรียกได้ว่าคงความเป็นเอกลักษณ์อย่างลงตัว"

เครดิตแหล่งข้อมูล : FB จานโปรด


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์