ภาพประวัติศาสตร์ แร้งคอย ณ วัดสระเกศ (พ.ศ.๒๔๔๘)


ภาพประวัติศาสตร์ แร้งคอย ณ วัดสระเกศ (พ.ศ.๒๔๔๘)


ภาพถ่ายหายากจากปี คริสตศักราช 1905 หรือ พ.ศ.๒๔๔๘ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นหลักฐานที่ยืนยันว่าครั้งหนึ่งในกรุงเทพมหานครยังมีแร้งประจำถิ่นเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะ อีแร้งเทาหลังขาว (White-rumped Vulture หรือ Gyps bengalensis) ซึ่งเป็นแร้งประจำถิ่นที่พบมากที่สุดในอดีตของสยาม นอกจากนี้ยังมี พญาแร้ง และ อีแร้งสีน้ำตาล ที่พบในพื้นที่นี้ด้วย

ภาพดังกล่าวแสดงให้เห็นกลุ่มแร้งที่มารอเวลาลงกินศพมนุษย์ ซึ่งอาจเสียชีวิตด้วยโรคระบาดหรือโรคเรื้อรัง ศพในภาพมีลักษณะผอมแห้ง แร้งในภาพดูค่อนข้างเชื่องและไม่หวาดกลัวผู้คน โดยเฉพาะผู้ที่คาดว่าเป็นสัปเหร่อที่ยืนอยู่ใกล้ ๆ

แม้จะพบภาพดังกล่าว แต่ยังไม่มีหลักฐานระบุว่าประเทศสยามในอดีตมีพิธีกรรม "ฝังฟ้า" หรือ Sky Burial ซึ่งเป็นพิธีบริจาคศพให้แร้งกินเช่นในทิเบต

ภาพนี้มาจากหนังสือ La Vie Illustree ฉบับวันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ.1905



ภาพประวัติศาสตร์ แร้งคอย ณ วัดสระเกศ (พ.ศ.๒๔๔๘)

เครดิตแหล่งข้อมูล : เรารัก บรรพบุรุษไทย


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์