![ท่าเรือโปเส็ง ย่านตลาดน้อย ที่ตั้งบ้านหลวงทุกขราษฎร์ คุณพี่เจ้าขาฯ](img1/270954.jpg)
ท่าเรือโปเส็ง ย่านตลาดน้อย ที่ตั้งบ้านหลวงทุกขราษฎร์ คุณพี่เจ้าขาฯ
![ท่าเรือโปเส็ง ย่านตลาดน้อย ที่ตั้งบ้านหลวงทุกขราษฎร์ คุณพี่เจ้าขาฯ](img1/270954.jpg)
ในละคร "คุณพี่เจ้าขาดิฉันเป็นห่านมิใช่หงส์" ที่ออกอากาศทางช่อง 3 และ Netflix บ้านของ "หลวงทุกขราษฎร์" หนึ่งในตัวละครเอกของเรื่อง ตั้งอยู่ที่ "ท่าเรือโปเส็ง" ริมแม่น้ำเจ้าพระยา หลายคนอาจคิดว่าเป็นจินตนาการของผู้แต่ง แต่เราขอบอกว่า ท่าเรือนี้มีอยู่จริงในประวัติศาสตร์!
.
"ท่าเรือโปเส็ง" ตำนานท่าเรือสำเภา 4 แผ่นดิน
.
ย้อนไปสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นที่การค้าสำเภาเฟื่องฟู ส่งผลให้พ่อค้าเอกชนชาวจีนส่วนหนึ่งมั่งคั่งขึ้น และผันตัวเองเข้าไปอยู่ในระบบศักดินา ด้วยการเป็นขุนนางในกรมท่า
.
เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นกับขุนนางชาวจีนในระดับกลางทั่วไป รวมทั้ง "พระอภัยวานิช (จาค)" ชาวจีนฮกเกี้ยนแห่งตระกูล "โปษยะจินดา" ตระกูลเก่าแก่ในย่านตลาดน้อย
.
ท่าเรือของพระอภัยวานิช (จาค) เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เมื่อไหร่ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แต่อย่างน้อยน่าจะรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2
.
เจ้าสัวจาคได้รับพระราชทานที่ดินริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณตลาดน้อย ในกรุงเทพมหานคร และได้สร้างอาคารสถาปัตยกรรมแบบจีนขึ้นหมู่หนึ่ง โดยอาคารที่ใช้เป็นที่พักได้ชื่อว่าบ้าน "โซวเฮงไถ่" ซึ่งอาคารทรงจีนบางส่วนยังคงเหลือให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน
.
ส่วนฝั่งตรงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นท่าเรือใหญ่อีกแห่ง คือ "ฮวยจุ่งโล้ง" ท่าเรือกลไฟของพระยาพิศาลศุภผล (ชื่น) ต้นตระกูล "พิศาลบุตร" ซึ่งต่อมาขายให้แก่นายตันลิบบ๊วย แห่งตระกูล "หวั่งหลี"
.
การค้าสำเภาที่ท่าเรือโปเส็ง ส่วนมากเป็นสินค้าประเภทยาสมุนไพรที่นำมาจากภาคใต้ โดยดำเนินกิจการเรื่อยมาจนถึงรุ่นลูกคือ "หลวงอภัยวานิช (สอน)" แต่ต่อมาเมื่อสยามทำ "สนธิสัญญาเบาว์ริง" กับอังกฤษในสมัยรัชกาลที่ 4 เกิดการค้าเสรี ประกอบกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ที่นำเอาเรือกำปั่นและเรือกลไฟเข้ามาแทนที่เรือสำเภาที่นิยมใช้แต่เดิม
.
ท่าเรือโปเส็งจึงปิดตำนานท่าเรือ 4 แผ่นดิน หลังจากเจ้าสัวสอนถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ พ.ศ. 2437 ในสมัยรัชกาลที่ 5 เหลือเพียงเรื่องราวให้เล่าขานถึงความรุ่งเรืองของการค้าสำเภาในย่านตลาดน้อยเท่านั้น
.
"ท่าเรือโปเส็ง" ตำนานท่าเรือสำเภา 4 แผ่นดิน
.
ย้อนไปสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นที่การค้าสำเภาเฟื่องฟู ส่งผลให้พ่อค้าเอกชนชาวจีนส่วนหนึ่งมั่งคั่งขึ้น และผันตัวเองเข้าไปอยู่ในระบบศักดินา ด้วยการเป็นขุนนางในกรมท่า
.
เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นกับขุนนางชาวจีนในระดับกลางทั่วไป รวมทั้ง "พระอภัยวานิช (จาค)" ชาวจีนฮกเกี้ยนแห่งตระกูล "โปษยะจินดา" ตระกูลเก่าแก่ในย่านตลาดน้อย
.
ท่าเรือของพระอภัยวานิช (จาค) เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เมื่อไหร่ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แต่อย่างน้อยน่าจะรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2
.
เจ้าสัวจาคได้รับพระราชทานที่ดินริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณตลาดน้อย ในกรุงเทพมหานคร และได้สร้างอาคารสถาปัตยกรรมแบบจีนขึ้นหมู่หนึ่ง โดยอาคารที่ใช้เป็นที่พักได้ชื่อว่าบ้าน "โซวเฮงไถ่" ซึ่งอาคารทรงจีนบางส่วนยังคงเหลือให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน
.
ส่วนฝั่งตรงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นท่าเรือใหญ่อีกแห่ง คือ "ฮวยจุ่งโล้ง" ท่าเรือกลไฟของพระยาพิศาลศุภผล (ชื่น) ต้นตระกูล "พิศาลบุตร" ซึ่งต่อมาขายให้แก่นายตันลิบบ๊วย แห่งตระกูล "หวั่งหลี"
.
การค้าสำเภาที่ท่าเรือโปเส็ง ส่วนมากเป็นสินค้าประเภทยาสมุนไพรที่นำมาจากภาคใต้ โดยดำเนินกิจการเรื่อยมาจนถึงรุ่นลูกคือ "หลวงอภัยวานิช (สอน)" แต่ต่อมาเมื่อสยามทำ "สนธิสัญญาเบาว์ริง" กับอังกฤษในสมัยรัชกาลที่ 4 เกิดการค้าเสรี ประกอบกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ที่นำเอาเรือกำปั่นและเรือกลไฟเข้ามาแทนที่เรือสำเภาที่นิยมใช้แต่เดิม
.
ท่าเรือโปเส็งจึงปิดตำนานท่าเรือ 4 แผ่นดิน หลังจากเจ้าสัวสอนถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ พ.ศ. 2437 ในสมัยรัชกาลที่ 5 เหลือเพียงเรื่องราวให้เล่าขานถึงความรุ่งเรืองของการค้าสำเภาในย่านตลาดน้อยเท่านั้น
![ท่าเรือโปเส็ง ย่านตลาดน้อย ที่ตั้งบ้านหลวงทุกขราษฎร์ คุณพี่เจ้าขาฯ](img1/270956.jpg)
เครดิตแหล่งข้อมูล : silpa-mag.com
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
Love Attack เทศกาลความรักแบบนี้ บอกอ้อมๆให้เขารู้กัน
Chocolate Dreams สาวชั่งฝันและช็อคโกแลต กับหนุ่มหล่อ ไม่แน่คุณอาจจะได้เจอแบบนี้ก็ได้
Love You Like Crazy เพลงเพราะๆ ที่ถ้าส่งให้คนที่เรารัก โลกนี้ก็สีชมพูกันทีเดียว