ครบรอบ 40 ปีของการสำรวจดวงจันทร์

ครบรอบ 40 ปีของการสำรวจดวงจันทร์


















จุดเริ่มต้น  
  ในปี คศ.1961 ประธานาธิบดี John F. Kennedy  ประกาศต่อสาธารนะชนว่า สหรัฐฯ จะไปเหยียบดวงจันทร์ก่อนสิ้นปี คศ.1970 ให้ได้ โครงการอวกาศของนาซ่าที่ชื่อว่า Apollo  จึงเกิดขึ้นต่อเนื่องกับโครงการ Gemini ที่ส่งนักบินอวกาศขึ้นไปโคจรรอบโลกเท่านั้น 
     จุดเริ่มต้นของโครงการอะพอลโล่ เริ่มต้นไม่ค่อยสวยนัก เมื่อยานอะพอลโล่ 1 เกิดอุบัติเหตุไฟไหม้ห้องบังคับการระหว่างการซ้อมที่ภาคพื้นดิน เมื่อวันที่ 27 มกราคม 1967  ทำให้นักบินอวกาศ 3 คน คือ Roger Chaffee ,Virgil Grisson และ Edward White  เสียชีวิต นาซ่าจึงหยุดการส่งยานที่มีคนบังคับชั่วคราว โดยมีเพียงยานอะพอลโล่ 4,5 และ 6 ที่ไม่มีคนบังคับเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของจรวด Saturn ต่อจากนั้นนาซ่าก็เริ่มส่งอะพอลโล่ 7 เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 1968 ตามด้วย อะพอลโล่ 8,9 และ 10 ซึ่งมีมนุษย์บังคับ ขึ้นไปทดสอบการเดินไปยังดวงจันทร์แต่ยังไม่มีการลงดวงจันทร์ 
     อะพอลโล่ 11 นับว่าเป็นโครงการอวกาศของนาซ่าที่ประสพผลสำเร็จมากที่สุด เมื่อสามารถส่งมนุษย์อวกาศลงไปเหยียบดวงจันทร์ได้สำเร็จเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 20 กรกฏาคม 1969  ต่อจากนั้นก็มีอะพอลโล่ 12-17 ที่ลงไปเหยียบดวงจันทร์ แต่อะพอลโล่ 13 ไม่ได้ไปเหยียบดวงจันทร์ เพราะเกิดอุบัติระหว่างการเดินทางไปดวงจันทร์ ทำให้ต้องรีบเดินทางกลับโลกก่อน ในอะพอลโล่ 15 มีการนำรถที่ชื่อว่า Lunar Rover ขึ้นไปใช้บนดวงจันทร์เป็นครั้งแรก ทำให้การสำรวจดวงจันทร์ครอบคลุมพื้นที่ได้มากขึ้น อะพอลโล่ลำสุดท้ายคืออะพอลโล่ 17 เมื่อเดือนธันวาคม 1972 รวมอะพอลโล่ทั้งหมด 6 ลำที่ลงไปเหยียบดวงจันทร์ นำหินดวงจันทร์กลับโลกมาทั้งสิ้น 380 กิโลกรัม และการทดลองสำคัญๆต่างๆมากมาย
     ก่อนหน้านี้นาซ่ามีการส่งหุ่นยนต์สำรวจดวงจันทร์ระหว่างปี คศ.1961-1969 ได้แก่ 
     ยาน Ranger 1-9 มีหลายลำที่ผิดผลาด แต่ก็มีบางลำที่สามารถลงสัมผัสดวงจันทร์ และได้ถ่ายภาพของดวงจันทร์ไว้หลายพันภาพ
     ยาน Surveyor 1-7 ทั้งหมดสามารถลงสัมผัสดวงจันทร์และถ่ายภาพพื้นผิวมานับหมื่นภาพ เพื่อเป็นข้อมูลให้กับโครงการอะพอลโล่
     ยาน Orbiter 1-5 เป็นยานในวงโคจรรอบดวงจันทร์ และไปลงสำรวจดวงจันทร์ด้านตรงข้ามกับโลก
     ยาน Luna 1-24  ของรัสเซีย โคจรรอบดวงจันทร์และบางลำก็ลงสัมผัสผิวดวงจันทร์โดยไม่มีมนุษย์บังคับ 
     



 






ลูกเรือของอะพอลโล่ 11 จากซ้ายไปขวา
1) นิล อาร์มสตรอง ( Neil A. Armstrong) ผู้บังคับการปฏิบัติการ  เกิดที่ Wapakoneta รัฐโอไฮโอ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 1930 จบวิศวะการบินจากมหาวิทยาลัย Purdue เมื่อปี 1955 และปริญญาโทที่มหาวิทยาลัย Southern California เมื่อปี 1970 เป็นนักบินสำรองของโครงการ Gemini 5,8 และ 11 และโครงการอะพอลโล่ 8 เป็นนักบินอวกาศคนแรกที่เหยียบดวงจันทร์ และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกผู้บริหารของสมาคมการบินที่นาซ่า ระหว่างปี 1970-1971

2)ไมเคิล คอลลิน (Michael Collins) ผู้บังคับการนำร่อง เกิดที่กรุงโรมในอิตาลี เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 1930 จบปริญญาตรีจากวิทยาลัยทหาร West Point รัฐนิวยอร์ก เมื่อปี 1952 เป็นนักบินสำรองโครงการ Gemini 7 และ 10 และเป็นลูกเรือของยานอะพอลโล 8 แต่ถูกเปลี่ยนตัวภายหลัง ลาออกจากนาซ่าเมื่อเดือนมกราคม 1970 

3) เอ็ดวิน บัส อัลดริน (Edwin E. Aldrin) ผู้บังคับการยานลูน่าโมดูล เกิดใน Montclair รัฐนิวเจอซี่ เมื่อวันที่ 20 มกราคม 1930 จบปริญญาตรีจากวิทยาลัยทหาร West Point รัฐนิวยอร์ก เมื่อปี 1951และจบปริญญาเอกจาก MIT เมื่อปี 1963 เป็นนักบินสำรองโครงการ Gemini 9 และ 12 และอะพอลโล่ 8 เป็นนักบินอวกาศคนที่สองที่เหยียบดวงจันทร์ ลาออกจากนาซ่าเมื่อเดือนกรกฏาคม 1971







 

   

นับถอยหลัง
    ยานอะพอลโล่ 11 จะถูกส่งขึ้นสู่อวกาศด้วยจรวดขับดับ Saturn V (แซทเทิร์น ไฟว์) ซึ่งเตรียมพร้อมอยู่ที่ฐานในศูนย์อวกาศแคนเนดี้ รัฐฟอริดา ในวันที่ 16 กรกฏาคม 1969 (พ.ศ.2512) และปล่อยจากฐานเมื่อเวลา 8.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น

   หลังจากที่จรวดขับดัน Saturn V พุ่งออกจากฐาน จะใช้เวลาเพียง 11 นาที ก็จะอยู่ในวงโคจรนอกโลก เชื้อเพลิงของจรวด Saturn V  ส่วนแรกจะถูกใช้จนหมด แล้วจะถูกสลัดทิ้งลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิค  จรวดท่อนที่ 2-3 จะจุดเชื้อเพลิงให้ยานโคจรรอบโลกอีก 1 รอบครึ่ง ระหว่างนี้ ยานบังคับการ (โคลัมเบีย) จะเชื่อต่อกับยานลูน่าโมดูล (อีเกิ้ล)  แล้วอาศัยแรงเหวี่ยงของโลกเดินทางสู่ดวงจันทร์ ซึ่งใช้เวลาเดินทางอีก 72 ชั่วโมง หรือประมาณ 3 วัน 
   








สู่การเดินทาง
     วันที่ 19 กรกฏาคม  ยานอะพอลโล่ 11 จะเข้าสู่วงโคจรของดวงจันทร์  
      
     โลกเมื่อมองจากยานบังคับการเมื่อถึงวงโคจรของดวงจันทร์แล้ว 

    วันที่ 20 กรกฏาคม นักบินอวกาศ นิล อาร์มสตรอง และ เอ็ดวิน อัลดริน จะย้ายจากยานบังคับการ ไปอยู่ที่ยานลูน่าโมดูล เตรียมการแยกตัว  คงเหลือไว้เพียง ไมเคิล คอลลิน จะทำหน้าที่บังคับยานโคลัมเบีย โคจรอยู่รอบดวงจันทร์ รอให้ยานลูน่าโมดูลที่เสร็จภาระกิจบนดวงจันทร์แล้ว มาเชื่อมต่อเพื่อเดินทางกลับโลกอีกครั้ง 

ภาพของโลกจากยานอะพอลโล่ 11 ที่ระยะห่าง 98,000 ไมล์ ระหว่างเดินทางมุ่งหน้าสู่ดวงจันทร์ 

 

ยานลูน่าโมดูล (Lunar Module LM) หรือ ยานอีเกิ้ล (Eagle) แยกตัวจากยานบังคับการเพื่อร่อนลงบนดวงจันทร์
 

ภาพยานบังคับการ (Command Module - CM) หรือ ยานโคลัมเบีย ที่ถ่ายจากยานลูน่าโมดูล ขณะที่แยกตัว





  ยาน Command Service Module (CSM) ชื่อ โคลัมเบีย (Columbia)
ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วนคือ
1) Command Module (CM) หรือส่วนบังคับการ มีลักษณะเป็นรูปทรงกรวย เป็นส่วนบนสุดของ CSM เป็นที่อยู่ของนักบินตลอดการเดินทาง จากโลกไปดวงจันทร์และจากดวงจันทร์เดินทางกลับโลก และส่วนบังคับการ
2) Service Module (SM) ความยาว 6.8 เมตร ลักษณะเป็นทรงกระบอก ประกอบด้วยเครื่องยนต์หลัก ถังอ๊อกซิเยน ไฮโดรเจน และเชื้อเพลิง
 
    
   
 
  ตำแหน่งการร่อนลงจอดของยานลูน่าโมดูล ที่ทะเลแห่งความสงบ ( Mare Tranquillitatis) ตำแหน่ง 0° 4'5" N latitude และ  23°42'28"E longitude  ใกล้กับจุดกระทบของยาน Ranger 8  แต่เป็นจุดเดียวกับยาน Serveyer 5 ภาพข้างบนแสดงจุดขยายของบริเวณที่ลงจอด





 ภาพจากกล้องด้านข้างยานลูน่าโมดูล แสดงให้เห็นภาพแรกที่นิล อาร์มสตรองลงสัมผัสดวงจันทร์ 

เอ็ดวิน "บัส" อัลดริน ออกจากยาน ภาพจากกล้องติดตัว นิล อาร์มสตรอง


เอ็ดวิน อัลดริน กับเครื่องมือวัดแผ่นดินไหว และ Laser Ranging Retroreflector 



ภาพของอัลดลิน ที่นิล อาร์สตรองถ่ายไว้
เหยียบดวงจันทร์
    วันที่ 20 กรกฏาคม 1969 เวลาแห่งประวัติศาสตร์ก็มาถึง หลังจากที่ยานบังคับการและยานลูน่าโมดูลแยกตัวแล้ว อีกราว 2 ชั่วโมงต่อมา ยานลูน่าโมดูลก็ร่อนลงบนดวงจันทร์ บริเวณที่เรียกว่าทะเลแห่งความสงบ 
    เมื่อเวลา 22.56 น.ของวันที่ 20 กรกฏาคม 1969 ตามเวลาท้องถิ่น หรือ 02.56 UT ของวันที่ 21 กรกฏาคม 1969  ก้าวแรกของมนุษย์ชาติที่นิล อาร์มสตรอง ลงสัมผัสผิวดวงจันทร์ มีการถ่ายทอดสดไปทั่วโลก และสายตาทุกคู่ของคนบนโลกจับจ้องอยู่กับนาทีแห่งประวัติศาสตร์นี้ โดยมีคำกล่าวว่า "That's one small step for man, one giant leap for mankind"
     อีก 15 นาที ต่อมา เอ็ดวิน "บัส" อัลดริน ก็ออกมาจากยาน ลงสัมผัสผิวดวงจันทร์เป็นคนที่ 2 เป็นคนปักธงชาติสหรัฐฯ แล้วทั้งคู่ก็สนทนากับประธานาธิบดีสหรัฐฯ
  
   Richard M. Nixon ประธานาธิบดีของสหรัฐยุคสมัยนั้น คุยกับนักบินอวกาศทั้ง 2 ทางวิทยุ 


เอ็ดวิน อัลดริน ถ่ายภาพรอยเท้าของตัวเองไว้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการทดลอง เพื่อศึกษาธรรมชาติของดินบนดวงจันทร์ และผลของน้ำหนักที่กดลงบนพื้นผิวด้วย 
   รอยเท้านี้ได้กลายเป็นสัญญาลักษณ์ ของการมาเยือนของมนุษย์เป็นครั้งแรก

 


 


แผ่นโลหะที่ติดอยู่ด้านข้างของยานลูน่าโมดูล มีใจความว่า "Here men from the planet Earth first set foot on the Moon July 1969, A.D. We came in peace for all mankind."


 


 


 


   หลังจากจบการสนทนากับประธานาธิบดีสหรัฐฯ นักบินอวกาศทั้ง 2 ก็เริ่มปฏิบัติภาระกิจ เก็บหินและดินจากดวงจันทร์น้ำหนักราวๆ 21.7 กิโลกรัม ติดตั้งเครื่องมือวัดแผ่นดินไหว  เครื่องมือวัดแรงลมสุริยะ ติดตั้ง Laser Ranging Retroreflector เพื่อวัดระยะห่างระหว่างโลกและดวงจันทร์ที่แท้จริง รวมทั้งศึกษาฝุ่นของดวงจันทร์ 
   นักบินอวกาศทั้ง 2 อยู่บนผิวดวงจันทร์อยู่ราว 2 ชั่วโมง โดยที่ เอ็ดวิน อัลดลิน กลับขึ้นยานลูน่าโมดูลก่อน จากนั้นอีก 12 นาที นิล อาร์สตรองก็กลับขึ้นตาม ทั้ง 2 ใช้เวลาอีก 7 ชั่วโมงเพื่อพักผ่อน และตรวจสอบระบบก่อนกลับบ้าน และรอเวลาให้ยานบริการที่โคจรอยู่มาถึงตำแหน่งนัดพบ



     ยานลูน่าโมดูล (Lunar Module LM) ชื่อ Eagle น้ำหนัก 15 ตัน ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วนคือ 
     1) Descent Stage เป็นส่วนล่างสุดประกอบด้วยขา 4 ขา มีเครื่องยนต์สำหรับร่อนลงจอด ห้องเก็บสัมภาระและเครื่องมือทดลองวิทยาศาสตร์ รวมทั้งรถ Lunar Rover ที่ติดขึ้นไปด้วยกับอะพอลโล่ 15 ส่วนนี้จะถูกทิ้งไว้บนดวงจันทร์ หลังเสร็จภาะกิจ
     2) Ascent Stage เป็นส่วนบนของยาน มีขนาดกว้าง 4.29 เมตร สูง 3.75 เมตร ใช้เป็นห้องปฏิบัติการและที่อยู่ของนักบินอวกาศ รวมทั้งใช้เป็นส่วนเดินทางขึ้นจากดวงจันทร์มาพบกับยานบริการที่โคจรอยู่


  หินจากดวงจันทร์ที่อะพอลโล่ 11 นำกลับมาด้วย ประกอบด้วยหิน Basalt หรือหินภูเขาไฟที่ลักษณะเป็นสีเข้ม มีอยู่มากมายบนดวงจันทร์ คือบริเวณซึ่งเราเห็นเป็นสีเข้มของดวงจันทร์เมื่อเรามองจากโลกนั่นเอง  หิน Basalt บนดวงจันทร์ มีส่วนประกอบคล้ายกับบนโลกแต่ว่ามีไททาเนียมมากกว่า มีอายุราวๆ 3,600-3,900 ล้านปี 
   หิน  Breccias เป็นหินที่ประกอบด้วยเศษเล็กๆของหินที่มีอายุมากๆ ซึ่งเกิดจากอุกกาบาตที่ชนดวงจันทร์ทำให้หินเดิมบนดวงจันทร์แตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย กับความร้อนที่หลอมรวมให้กลายเป็นหินใหม่ที่เรียกว่า หิน Breccias 

  





ยานลูน่าโมดูล ขึ้นจากผิวดวงจันทร์มาพบกับยานโคลัมเบีย ที่โคจรรอบดวงจันทร์รอรับอยู่



ภาระกิจการช่วยเหลือยานอะพอลโล่ 11 หลังจากตกลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิค
กลับสู่โลก
    วันที่ 21 กรกฏาคม 1969 ตลอดระยะเวลา 2 ชั่วโมงที่นิล อาร์มสตรอง และเอ็ดวิน อัลดริน ปฏิบัติภาระกิจอยู่บนผิวดวงจันทร์  ก็ได้เวลากลับบ้าน โดยจะทิ้งเครื่องต่างๆไว้บนดวงจันทร์ เวลา 17.54 UT ยานลูน่าโมดูลจุดจรวดดีดตัวออกจากส่วน Descent Stage ทิ้งไว้บนดวงจันทร์ เหลือแต่ส่วนบังคับการ Ascent Stage ขึ้นสู่วงโคจร เพื่อมาพบกับยานโคลัมเบีย หรือ ยานบริการที่มีไมเคิล คอนลิน ควบคุมโคจรอยู่รอบดวงจันทร์ เมื่อยานลูน่าโมดูลเชื่อมต่อกับยานโคลัมเบีย รวมเวลาที่อยู่บนดวงจันทร์ 21 ชั่วโมง 36 นาที นักบินอวกาศทั้งสองจะย้ายตัวเองไปอยู่ที่ยานบังคับการของยานโคลัมเบีย แล้วสลัดยานลูน่าโมดูลทิ้งไว้ในวงโคจรของดวงจันทร์ ซึ่งจะใช้เวลาอีกราว 1- 4 เดือนที่ยานจะตกลงสู่ดวงจันทร์  แล้วมุ่งหน้ากลับโลก โดยใช้เวลาเดินทางกลับอีก 3 วัน
     วันที่ 24 กรกฏาคม 1969 อะพอลโล่ 11 ก็เข้าสู่วงโคจรของโลก และสลัดส่วนบังคับการเข้าสู่ชั้นบรรยากาศตกลงมหาสมุทรแปซิฟิค เมื่อเวลา 12.56 น.ตามเวลาท้องถิ่น นักบินอวกาศทั้ง 3 ได้รับการช่วยเหลือจากเรือกู้ภัย USS Hornet ส่วนตัวอย่างหินจากดวงจันทร์ก็ถูกส่งไปที่ Lunar Receiving Laboratory ใน  Houston
     ภาระกิจของยานอะพอลโล่ 11 เสร็จไปด้วยดี นักบินอวกาศทั้ง 3 ได้รับการต้อนรับอย่างสมเกียรติ 

 
ประธานาธิบดีสหรัฐฯ  Richard M. Nixon  ต้อนรับและแสดงความยินดีกับนักบินอวกาศทั้ง 3 ซึ่งอยู่ในห้องกังกันเชื้อ 


 

ขอขอบคุณ  http://darasart.netfirms.com/story/apollo11/main.html

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์