ในหลวงกับการถ่ายภาพ และ ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์

ในหลวงกับการถ่ายภาพ และ ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์


ในหลวงกับการถ่ายภาพ และ ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์



การถ่ายภาพเป็นศิลปะอีกสาขาหนึ่งที่ ในหลวงทรงสนพระราชหฤทัยอย่างจริงจัง พระองค์ทรงศึกษา และทรงฝึกด้วยพระองค์เองตั้งแต่ครั้งยังทรงพระเยาว์ กล้องถ่ายภาพที่ทรงใช้ในระยะเริ่มแรกเป็นกล้องที่ไม่มีเครื่องวัดแสงในตัว จึงต้องใช้พระราชวิจารณญาณอย่างรอบคอบ
และละเอียดถี่ถ้วน


แม้ ในปัจจุบันกล้องถ่ายภาพจะมีวิวัฒนาการขึ้นกว่าสมัยก่อนมากแล้ว แต่พระองค์ก็มิทรงใช้
พระองค์ยังทรงใช้กล้องคู่พระหัตถ์แบบมาตรฐาน อย่างที่นักเลงกล้องรุ่นเก่ามือโปรทั้งหลายใช้กันอยู่


ในหลวง ทรงเชี่ยวชาญแม้กระทั่งการล้างฟิล์ม
การอัดขยายภาพทั้งภาพขาวดำและภาพสี พระองค์ทรงมีห้องล้างฟิล์ม(Dark Room) ด้วยมีพระราชประสงค์ที่จะทรง _สร้างภาพ_ ให้เป็นศิลปะ ด้วยเทคนิคใหม่ๆ
และรวดเร็วด้วยพระองค์เอง
 

ในหลวงกับการถ่ายภาพ และ ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์



จะสังเกตได้ ว่า ไม่ว่าพระองค์จะเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมราษฎร ณ จังหวัดใด ก็จะทรงมีกล้องถ่ายภาพติดพระองค์ไปด้วยเสมอ โปรดถ่ายภาพสถานที่ทุกแห่งเพื่อทรงเก็บไว้เป็นหลักฐานประกอบงานที่ได้ทรง ปฏิบัติ


ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์เหล่านี้ จึงมักเป็นภาพถ่ายแบบฉับพลัน ทันเหตุการณ์ ซึ่งถ่ายได้ครั้งเดียวด้วยไหวพริบ ไม่มีเวลาจ้องหามุมถ่าย แต่ด้วยพระปรีชาสามารถ ปวงชนชาวไทยจึงได้เห็นภาพฝีพระหัตถ์อันคมชัดและมีศิลปะในการจัดองค์ประกอบ ของภาพ  

ในหลวงกับการถ่ายภาพ และ ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์



สามัคคี 4 พระหัตถ์

ทูล กระหม่อม 4 พระองค์ทรงวางพระหัตถ์ขวาเรียงเทียบขนาดกันไว้ ทรงฉายภาพ “_พระหัตถ์ใหญ่พระหัตถ์เล็ก”_ ที่ทรงวางเรียงลำดับไว้
เสมือนเป็นการทรงสมานสามัคคีระหว่าง _พี่ๆ น้องๆ_ พระหัตถ์ไหนเป็นของทูลกระหม่อมพระองค์ใด ขอให้ตั้งใจพิจารณา ลองทายกันดู

ในหลวงกับการถ่ายภาพ และ ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์



ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์

ดั่งโค้งสำคัญ

พระ ฉายาลักษณ์อันเป็นพระราชประวัติครั้งสำคัญส่วนหนึ่งของทั้งสองพระองค์ ที่ทรงบันทึกภาพไว้อย่างประณีตบรรจง ด้วยพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ภาพพระบรม ราชินีนาถ เมื่อครั้งยังเป็น ม.ร.ว. สิริกิติ์ กิติยากร ธิดาคนโตของพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ (ม.จ. นักขัตมงคล กิติยากร) เมื่อครั้งทรงเป็นอัครราชทูตประจำกรุงปารีส เมื่อ 20 เมษายน 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ทรงเยี่ยมที่สถานทูต และได้ทรงถ่ายภาพ
ม.ร.ว.สิริกิติ์ กำลังยิ้มแย้มสดชื่น ในรถยนต์พระที่นั่ง

ในหลวงกับการถ่ายภาพ และ ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์



ที่กลางทุ่งดอกไม้

เมื่อ ปี 2503 ขณะที่ยังประทับ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ คราวหนึ่งเสด็จฯ ไปยังทุ่งกว้างบนเนินเขาแห่งหนึ่ง บริเวณเป็นทุ่งโล่งกว้างไกล อากาศสดชื่นแจ่มใสดียิ่งนัก ณ บริเวณนี้มีต้นไม้ใบหญ้าสารพัดกำลังออกดอกบานสะพรั่งเป็นที่ต้องพระราชหฤทัย ของทั้งสองพระองค์

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาทรงเลือกเก็บดอกไม้สีขาวมากำไว้ในพระหัตถ์ซ้าย พอเอื้อมพระหัตถ์ขวาจะทรงเก็บดอกต่อไป พระราชอิริยาบถที่กำลังทรงเงยพระพักตร์ขึ้นเล็กน้อยและทรงแย้มพระสรวลนั้นงด งาม เป็นด้านที่เป็นศิลปะและเหมาะกับมุมกล้อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงบันทึกภาพไว้ทันที

ในหลวงกับการถ่ายภาพ และ ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์



แสงนวลนุ่ม

พระ ฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาชุดหนึ่งที่มีแสงนุ่มนวล เป็นศิลปะที่งามซึ้งตรึงใจ และแสดงเอกลักษณ์ศิลปะการถ่ายภาพส่วนพระองค์ที่ทรงมีอย่างเยี่ยมยอดวิธี หนึ่ง

ทรงใช้แสงถ่ายภาพอย่างภาษาทางวิชาการ เรียกว่า แสงตามสภาพ (Available light, existing light) คือวิธีที่ทรงถ่ายภาพในแสงสว่างเท่าที่มีอยู่ในที่แห่งนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นแสงแดดหรือแสงไฟภายในพระตำหนักหรือในพระที่นั่ง จะทรงใช้แสงและเงาให้ได้ส่วนสัมพันธ์กันอย่างพอเหมาะพอดีทุกที่ไป 

ในหลวงกับการถ่ายภาพ และ ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์



ที่กรุงลอนดอน

เมื่อ ครั้งเสด็จพระราชดำเนินกรุงลอนดอน เมื่อปีพุทธศักราช 2509 ระหว่างที่ประทับอยู่ในประเทศอังกฤษ ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จฯ ไปยังที่ต่างๆหลายแห่ง ถ้าทอดพระเนตรแห่งใดเป็นที่สวยงามต้องพระราชหฤทัย จะทรงใช้เป็นฉากฉายพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถอยู่เสมอ นการฉายจะทรงใช้ภูมิทัศน์ แสงสีและสิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ ด้วยพระปรีชาสามารถทางศิลปะภาพถ่าย พระราชอิริยาบถของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จึงทรงมีพระพักตร์งามสดใสเปี่ยมล้นด้วยพระเมตตาบารมี คล้ายพระองค์จริงประทับอยู่ฉะนั้น

ในหลวงกับการถ่ายภาพ และ ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์



สงบ

แสงเงานุ่มนวลจับตากำลังพอดี เป็นภาพอีกภาพหนึ่ง ซึ่งได้ลักษณะถูกต้องตามหลักการให้แสงแบบคลาสสิค ที่เรียกว่า lighting of Rembrandt
พระพักตร์ได้ แสงสว่างแต่พอเลือนราง ตรงแสงนั้นได้เห็นพระอารมณ์ที่ทรงแย้มพระสรวลน้อยๆ ภาพให้อารมณ์อ่อนหวานนุ่มนวล แต่หนักแน่นลึกซึ้ง ที่ฉากหลังบริเวณพื้นโดยรอบทำให้หนักเล็กน้อย พอถึงตรงกลางเว้นให้สว่างขึ้นหน่อย ลักษณะพื้นภาพแบบนี้เป็นการช่วยเน้นจุดเด่นให้ชัด
เน้นให้เห็นพระอารมณ์ในภาพ และเน้นให้เห็นบรรยากาศอันทึมเทาเลือนราง คล้ายกับกำลังประทับอยู่ในสถานที่อันวิเวก อิ่มเอิบพระราชหฤทัยในแดนแห่งความสงบ 

ในหลวงกับการถ่ายภาพ และ ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์



เมื่อหน้าหนาว

ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถในฉลองพระองค์กันหนาวชุดสีเข้ม ทรงยืนอยู่ด้วยพระอารมณ์สดชื่นแจ่มใส ในขณะที่ทรงเป็นแบบสำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงฉายพระฉายาลักษณ์
ทรงใช้ห้องบนพระตำหนักจิตรลดาฯ เป็นฉากสำหรับทรงถ่ายภาพ

ในหลวงกับการถ่ายภาพ และ ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์



แม่ของชาติ

สมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงกอดสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์อัครราชกุมารีแนบไว้กับ พระอุระ ลักษณะที่ทูลกระหม่อมเล็กกำลังซุกพระอุระสมเด็จพระราชมารดาอยู่นี้ เห็นแล้วรู้สึกเป็นสุข อบอุ่นอย่างที่สุด ความสุขของลูก ความสุขของแม่ ความสุขของครอบครัว เป็นความสุขอันสุดประเสริฐ เป็นภาพที่มี เส้นโครงสร้าง (structure) สวย และให้อารมณ์แสดงออก (expression) ได้เหมือนภาพชีวิต ที่เรียกว่าเส้น โครงสร้างคือเส้นนำสายตาไปหาจุดเด่นในภาพนี้ โดยเริ่มต้นที่พระพักตร์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ แล้วมองลงมาทางขวาโค้งไปหาพระพักตร์ทูลกระหม่อมเล็ก ตรงนี้เส้นจะม้วนเป็นก้นหอย (Spiral Curve) ปลายเส้นคือจุดเด่นของภาพภาพนี้ มีดีเป็นพิเศษอยู่ตรงจุดจะเริ่มต้นที่เส้นบนหรือล่างของภาพก่อนได้ทั้งนั้น

และดูต่อไป ให้ดูที่อารมณ์พระเนตรของทูลกระหม่อมเล็ก ฉายให้เห็นว่าทรงอบอุ่นเป็นสุข ความสุขของลูก อยู่ที่ได้อบอุ่นในอกแม่

ในหลวงกับการถ่ายภาพ และ ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์



คู่ดาว

เมื่อ คราวเสด็จฯ แปรพระราชฐานไปประทับแรม ณ พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ จังหวัดเชียงใหม่ ใน พ.ศ. 2512 วันหนึ่งขณะที่ประทับอยู่ในบริเวณสวนดอกไม้ข้างพระตำหนักเป็นเวลาที่ดวง อาทิตย์กำลังทอแสงเรื่อเรืองอยู่ในระดับยอดไม้ มุมหนึ่งที่แสงอาทิตย์ส่องลอดยอดไม้ เป็นประกายระยิบวูบวาวราวกับแสงดาวดวงโตๆ

ก็พอดีกับที่สมเด็จพระ นางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงประดับพระกุณฑลรูปดอกไม้ที่มีกลีบบาน เป็นแฉกคล้ายประกายดาว ทันทีที่ทอดพระเนตรเห็นพระกุณฑลกับแสงอาทิตย์ได้คู่สอดคล้องกัน ก็ทรงฉายพระฉายาลักษณ์ไว้

ในหลวงกับการถ่ายภาพ และ ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์



ตามรอยพระยุคลบาท

ใน ป่าดอยอันเป็นถิ่นทุรกันดาร ถึงแม้จะมีทางเดินตัดผ่านให้สัญจรไปมาได้สะดวกขึ้นแล้วก็ตาม ครั้นถึงหน้าฝน ฝนตกแฉะ ทางจะลื่น บางแห่งเป็นโคลนตมจนกลายเป็นหล่มเป็นเลนก็มี เดินเข้าไปเมื่อใดเป็นได้หกล้มจมปลักกันหลายครั้งหลายหน

ในหลวงกับการถ่ายภาพ และ ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์



ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์

คราวหนึ่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ ทรงตามเสด็จสมเด็จพระชนกนาถ เสด็จฯ เยี่ยมราษฎรในถิ่นทุรกันดารด้วย วันนั้นมีฝนพรำทำให้น้ำป่าบ่าไหล หนทางเปียกแฉะ เป็นเหตุให้ทรงพระราชดำเนินด้วยความลำบาก ตลอดทางจึงทรงลื่นล้มไปหลายครั้ง แต่ด้วยพระราชอุตสาหะวิริยะ จึงมิทรงย่อท้อแต่ประการใด ทั้งนี้เป็นผลของพระเมตตาบารมีแห่ง องค์สมเด็จพระบรมชนกชนนี ผู้ทรงอบรมสั่งสอนพระราชโอรสพระราชธิดาให้มีพระอุปนิสัยหนักแน่น อดทนต่อความทุกข์ยากและอุปสรรคทั้งมวล
เพื่อจะได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขของปวงพสกนิกร เป็นการเจริญรอยตามพระยุคลบาทสืบไป  

ในหลวงกับการถ่ายภาพ และ ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์



กลุ่มเมฆลอย เป็นวงกลมอย่างพอดิบพอดี เครื่องบินสองลำบินเข้าไปในเขตวงกลม มองตามทิศทางที่เครื่องบินบินไป จะเห็นได้ว่า มีเนื้อที่เว้นช่องไฟไว้ข้างหน้า อย่างที่เรียกกันว่า _เปิดหน้า_ พอดี ลักษณะนี้ทางศิลปะนิยมว่า ได้เส้นแรงดีนัก

ตามหลักศิลปะการจัดภาพ กำหนดให้เครื่องบินเป็นจุดเด่น กลุ่มเมฆรายรอบเป็นภาพ ส่วนประกอบของจุดเด่น คือเครื่องบินมีสีหนักเข้ม จึงมองเห็นเด่นในกลุ่มเมฆสีขาว ไม่แต่เท่านั้น ยิ่งมองไกลไปถึงพื้นแผ่นดิน เห็นทุ่งนาป่าเขา แม่น้ำลำคลองอยู่ไกลสุดสายตา เป็นภาพที่แจ่มกระจ่างและลิ่วโล่งโปร่งไกลดี
การถ่ายภาพทางอากาศแบบนี้จะถ่ายให้ดีและได้ภาพกระจ่างสดใสอย่างนี้ ทำได้ยากยิ่งนัก ทรงถ่ายภาพ นี้ระหว่างที่ประทับอยู่บนเครื่องบินพระที่นั่งเสด็จฯ ไปจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2527 เครื่องบินสองลำนี้ เป็นเครื่องบินคุ้มกันของกองทัพอากาศไทย ปฏิบัติการบินถวายอารักขา ตลอดเส้นทางระหว่างดอนเมืองถึงเชียงใหม่ พอทอดพระเนตรเห็นจังหวะที่ได้เส้นได้มุมเป็นศิลปะ จึงทรงบันทึกภาพไว้ได้อย่างสวยงาม…_.


ขอขอบคุณข้อมูลจาก

@cloud
       
        

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์